ความร้อนในใจ กลายเป็นความคิด

ย่างใจให้สุกด้วยทุกข์แท้

ความรู้สึกตัวของเรา
มันจะเติบโตได้
ต้องอาศัยความร้อน
ของความทุกข์
ไม่ใช่ความร้อนของร่างกาย

ความร้อนที่เกิดขึ้นในใจ
ไม่เหมือนความร้อนทางกาย
มันออกมาเป็นความคิด

เราจะคิดอยู่ ๓ เรื่องคือ
๑. คิดเรื่องที่เราชอบ เรียกว่า โลภะ
๒. คิดถึงเรื่องที่เราไม่ชอบ เรียกว่าโทสะ
๓. คิดเรื่อยเปื่อย เรียกว่าโมหะ

เคยสังเกตไหมว่า ๓ เรื่องนี้
เราคิดเรื่องไหนมากที่สุด

ถ้าเป็นเทวดาจะคิดเรื่องแรก
คิดแต่เรื่องพอใจ
คิดแต่เรื่องมีความสุข

ถ้าเป็นสัตว์ทั่วไป
ก็จะคิดถึงเรื่องไม่พอใจ
คิดอะไรหาเรื่องทำที่มันสนุกๆ
แต่มันก็ทุกข์

พวกที่เป็นสรรพสัตว์ทั้งหลา
ก็จะคิดเรื่องเรื่อยเปื่อยไ
ไม่แน่อาจเป็นเทวดาอินทร์ พรหมก็ได้

แต่พระพุทธเจ้าท่านให้คิด
ประเภทที่ ๔ คือ
ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง

รวมเป็นเรื่องหลักๆ ๒ เรื่อง คือ
กุศลกับอกุศล

ความโลภ โกรธ หลง
เรียกว่า อกุศล

ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
เรียกว่า กุศล

ความคิดบดจิตให้ร้อน

ถ้าเราเอามือถูแขนก็จะมีความร้อน
เหมือนเราเอาความคิดมาถู
กระทบ บดจิตของเรา

เราจะมองไม่เห็น
เหมือนเอามือมาถูแขน
แต่เราก็คิดอยู่

เหมือนเราไปบดจิตของเราเรื่อยๆ
ถูเรื่อยๆ
ถูแล้วก็เกิดความร้อน
ออกมาเป็นผัสสะ

มันจึงเกิดอาการกระทบ
ของสิ่งสองสิ่งคือ
รูปกระทบกับนาม

เสียงกระทบกับหู ทำให้เราคิด
รสกระทบกับลิ้น ทำให้เราคิด
อารมณ์มากระทบจิต ทำให้เราคิ
ความคิดมันมาทั้ง 6 ทาง

ความคิดกระแสดับ

ความคิดมี 2 กระแส
กระแสเกิด และกระแสดับ

ความคิดกระแสเกิด
เรียกว่า กระแสสมุทัย
คือความคิดที่ขาดสติปัญญา
เข้าไปรู้เท่าทัน

มันก็คือความอยาก
เรียกว่าตัณหา
กลายเป็นสมุทัย

ความคิดกระแสดับ
เรียกว่า กระแสนิโรธ
เป็นความคิดที่มีสติ
มันจะคิดเฉพาะเรื่อง
ที่จำเป็นเท่านั้น

เช่นนั่งตรงนี้ปวดหนักปวดเบ
มันก็จะคิดว่าห้องน้ำอยู่ตรงไหน
กำหนดรู้แล้วลุกไปอย่างรู้ตัว
แล้วก็จบ มันไม่ได้คิดอะไรต่อไป

เพียงแต่ประคองสัมปชัญญะ
ให้รู้ตัวทั่วพร้อม
ขณะที่เดินไปหาเป้าหมายเท่านั้น

เพราะฉะนั้นความคิด
ที่เป็นกระแสดับ
เป็นความคิดที่ประกอบด้วย
สติปัญญา

เป็นความคิดที่สอดคล้อง
กับความเป็นจริง ทำแล้วก็จบ
มันไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น
หมดหน้าที่แค่นั้น

นี้เรียกว่าความคิด
ที่เป็นกระแสดับ
ทำหน้าที่คอยสนองตอบ
ต่อความต้องการที่เป็นจริง
ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นๆ

เราจึงเรียกความรู้ชนิดนี้ว่า
“ปัญญาญาณ”
หรือ “วิปัสสนาญาณ”

เป็นความรู้ที่เกิดจาก
การเจริญสติปัฏฐานสี่
อย่างถูกต้องเท่านั้น

ถ้าหากเรายังไม่เข้าใจ
ความรู้สึกตัวอย่างถูกต้อง
และมากพอ

เราก็จะไม่เห็นความคิด
ทั้ง 2 กระแสอย่างชัดเจน

ส่วนใหญ่จิตของเรา
จะตกไปอยู่กับกระแสความอยาก
หรือสมุทัย

ความคิดบดบังจิต

อย่าเอาความดีและความชั่ว
มาปรุงแต่งนึกคิด
เพราะมันจะบดบังจิตเดิมแท้ของเรา

ความคิดดีเหมือนสีขาว
ถ้าจำเป็นต้องใช้
ก็ใช้ได้เป็นครั้งคราว

ถ้าหมดความจำเป็นแล้ว
ก็ให้สลัดความคิดดีนั้นออกไ
แล้วทำใจให้บริสุทธิ์
สะอาด ปล่อยวาง
ทำใจให้โล่ง โปร่ง เบา
เอาไว้เสมอ

ความคิดเกิดจากความจำ

เหตุเกิดของความคิด
คือสัญญากับสังขาร

ก่อนที่มันจะคิด
มันก็ต้องสร้างเรื่อง
สร้างภาพขึ้นมาก่อน

สร้างภาพอดีต อนาคต
สัญญาอดีต สัญญาอนาคต

ถ้าไม่มีความจำในอดีต
ความคิดในอนาคตมันก็ไม่มี

การคิดขึ้นมาแต่ละครั้ง
หมายความว่า
มันจะต้องมีสัญญาเป็นหลัก

ก็ย้อนมาที่ความรู้สึก
พอใจหรือไม่พอใจ

ถ้าสมมติว่าพอใจ
ภาพสัญญาแห่งความพอใจ
ก็ปรากฏ

ถ้าไม่พอใจ
ภาพสัญญาที่มันเป็นโทสะ
ก็ปรากฏ

เพราะฉะนั้นให้ดูตัวสังขาร

สังขารเกิดมาจากอำนาจของ
๑. การเปลี่ยนแปลง
๒. ความทุกข์
๓. การแตกดับไป

เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

บางครั้งไม่คิดแต่เราไม่รู้

ตัวคิดบางครั้งมีบางครั้งไม่มี

ทีนี้ถ้าหากว่าเราพอใจ
เวลาที่ไม่มีความคิด
ว่าง สบาย ได้อารมณ์

เข้าไปรู้ว่าจิตขณะนี้
มันว่างมันสุข มันสุข มันสงบ

และเข้าไปเพลิน
กับความรู้ชนิดนั้น
เราอยากให้มันอยู่กับเรานาน
แล้วก็เพลินอยู่อย่างนั้น

ถ้าเกิดมันเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น
เรารู้สึกต้องรีบ
รีบเพื่อให้มันได้อารมณ์นั้
กลับคืนมา อย่างนี้ไม่ถูกต้อง

ที่ถูกคือ ควรจะตั้งรับในสิ่งนั้น
คือเราสร้างเหตุของมัน
มันจะอยู่หรือไม่อยู่
เรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา

เราก็มาดูที่เหตุ คือตัวรู้
แต่บางครั้งรู้ไปนานๆ มันเบื่อ
รู้สึกว่าไม่ได้อารมณ์แล้ว

เราก็พยายามที่จะปรับโน่นปรับนี่
ให้มันได้อารมณ์ อันนี้ก็ไม่ถูก

เราก็ดูตัวนั้นอีก
ดูตัวที่ไม่ได้อารมณ์อีก
ดูไปเรื่อยๆ สักพัก

ตัวฟุ้งตัวเบื่อหายไป
มันอาจจะมีตัวใหม่เข้ามา

ถ้าเข้าไปดูด้วยความรู้
สภาวะนั้นก็จะหายไป

ถ้าดูด้วยความคิด
สภาวะนั้นมันก็อยู่ได้นาน
เท่ากับไปเสริมมันอีก

คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคิด

คนไทยเราส่วนใหญ่
ยังนับถือศาสนาคิด
ไม่ได้ถือศาสนาพุทธ

ถึงแม้จะบอกตัวเองว่า
เป็นพุทธก็ตาม

คือพึ่งแต่ความคิด
ถือเอาความคิดเป็นที่พึ่ง
เป็นสรณะ

ไม่ได้ถือเอาความรู้เป็นที่พึ่ง
มันก็เลยทุกข์
เพราะไปเชื่อแต่ความคิดปรุงแต่ง

แต่ถ้านับถือศาสนาพุทธ
จะต้องเอาความรู้จริง
เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ

ถึงจะหมดทุกข์ได้
ในชาตินี้แน่นอน

ขอให้ขยันทำไปเรื่อยๆ
ไม่ต้องมีเงื่อนไขอะไรมาก

ตามรู้ใจของตนเองเรื่อยไป
อย่าปล่อยปละละเลยตัวเอง
ถ้าอยากพ้นทุกข์จริง

แต่ส่วนมากอยากพ้นทุกข์
กันแต่ปาก
พอทำเข้าจริงๆ แล้วมีข้ออ้าง
เงื่อนไขเยอะแยะไปหมด

เลยไม่มีช่องว่าง
สำหรับวิปัสสนาเอาเลย

เหมือนเราบอกว่า
เรารักการมีสุขภาพ
แต่เราไม่เคยเลือกอาหาร
ที่ถูกกับสุขภาพดี

มีแต่เลือกอาหารที่ถูกปาก
ถูกกิเลสทั้งนั้น
สุขภาพดีมักขัดแย้ง
กับการกินอาหารดีเสมอ

ความคิดคือภพชาติ

เราพบคำสอนของพระพุทธเจ้า
ก็เหมือนพบตัวท่าน
เราก็ต้องรีบศึกษาให้เข้าใจ
เพื่อจะทำให้ภพชาติสั้นลง
อย่างน้อยก็ให้รู้ว่า
เราจะเกิดอีกกี่ชาติ

พระโสดาบันเกิดไม่เกิน ๗ ชาติ
พระอนาคามี พระอรหันต์
ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

มันอาจจะเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป
ถ้าจะให้ใกล้ตัวเข้ามาอีกนิ

ความคิดเกิดในใจของเรากี่ครั้ง
กว่าเราจะรู้ทัน

บางครั้งความคิดเดียวกัน
เกิดถึง ๗ ครั้ง กว่าเราจะรู้ตัว
ก็ยังดีกว่าไม่รู้

บางทีเราคิดทั้งวัน
ยังไม่รู้เลยว่าเราคิด

เราไม่มีโอกาสกำหนดรู้
การเกิดการดับของตัวเองเลย

เกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ

ถ้าจิตอยู่กับปัจจุบัน
อย่างถูกต้องแล้ว
ถ้ามันวิ่งไปสู่อดีตบ้าง อนาคตบ้าง
มันจะรู้สึกได้ทันที
มันจะสลัดตัดใจกลับมา
อยู่กับปัจจุบัน

ที่ท่านกล่าวว่า
พระโสดาบันจะไม่ตกนรกอีก

พระโสดาบันละความพอใจไม่พอใ
ในอดีต ในปัจจุบันได้แล้ว

ถึงจิตมันวิ่งคิดไปเรื่องอื่นบ้าง
มันก็กลับมาได้เร็วกว่าเดิม

ว่าโดยปรมัตถ์
คำว่า เกิดอีกไม่เกิน ๗ ชาติ
หมายความว่า คิดอีกไม่เกิน ๗ เรื่อง

พอรู้ว่าคิดเกิน
ก็กลับมาอยู่กับปัจจุบันได้ทันที

พระโสดาบันท่านแยกเป็น ๓ ประเภท

๑. สัตตักขัตตุกปรมะ
ประเภทอ่อนแอที่สุด
คิดไม่เกิน ๗ เรื่อง
ก็รู้ตัวว่า คิดไปแล้วนะ รู้สึกตัวได้

๒. โกลังโกละ
สติจะกลับมาได้เร็วกว่าประเภทแรก
พอคิด ๒-๓ เรื่อง ก็ได้สติ
กลับมาอยู่กับปัจจุบันได้ทันที

๓. เอกพีซี
พระโสดาบันชั้นหนึ่ง
คิดได้เรื่องหนึ่งไม่ทันจบ
ก็รู้ตัวเสียก่อน

ใครก็ตามถ้าปฏิบัติธรรม
จนทำใจได้อย่างนี้
ก็รับรองได้ว่า
ไม่ตกนรกแน่นอน

ปริศนาธรรมความคิด

ปริศนาธรรม
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช
ที่แม่น้ำอโนมา

ท่านใช้พระขรรค์ตัดพระเกศา
พระเกศาที่ตัดแล้ว
ไม่งอกขึ้นมาอีกเลย

เมื่อจิตของเราได้รับการชำร
ใครก็ตามที่บวชหรือไม่บวข
ออกจากความเคยชินเก่าๆ
เรียกว่าออกบวช

ตัดเกศาหมายถึง
ตัดความคิดปรุงแต่งทั้งหลาย
เหลือไว้ ๒ องคุลีคือรูปกับนาม

ไม่งอกขึ้นอีกหลังจากละ
โลภ โกรธ หลงได้แล้ว
ร่างกายของเราเหลือเพียงแต่
มีสติในรูปในนามเท่านั้น

พระขันธ์ได้แก่ปัญญา
วิปัสสนาญาณ

สมมติทำหน้าที่ของความคิด
การปรุงแต่งทั้งกุศลและอกุศ
เป็นสมถะ

แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาต้องรู้สึกเอา
เราก็มาสร้างความรู้สึก
จากการเคลื่อนไหวนี้

ความคิดเหมือนตัวอะมีบา

ความคิดเหมือนตัวอะมีบา
ยิ่งคิดก็ยิ่งเกิด แตกตัวไปเรื่อยๆ

เริ่มต้นมันคือความรู้สึก
ต่อมาก็กลายเป็นความคิด

ความรู้สึก มี 2 อย่างคือ
๑. ความรู้สึกที่เป็นเวทนา
๒. ความรู้สึกตัว

แต่คนส่วนใหญ่
เมื่อพูดถึงความรู้สึก
ก็นึกว่าเป็นเวทนา

ความรู้สึกที่สบายไม่สบาย
ความรู้สึกเจ็บปวด
แล้วความรู้สึกอันไหนที่เรียกว่าสติ

เราเห็นอาการความสบาย
เห็นอาการความไม่สบาย
ตัวนี้แหละมันเริ่มเป็นสติขึ้นมา

แต่ถ้าเราคิดว่าเราสบาย ไม่สบาย
อันนี้ยังไม่ใช่ความรู้สึก

ถ้าเราไม่เห็น มันก็ไม่เป็นความรู้สึก
เช่นเรานั่งนานๆ รู้สึกไม่สบาย

ถ้าเราไม่เห็น
มันก็จะสร้างตัวความไม่พอใจขึ้นมา

ความไม่พอใจทีละนิดๆ
เราไม่สังเกตมัน
ความไม่พอใจก็จะพัฒนา
มาเป็นความหงุดหงิด
รำคาญ ความเบื่อหน่าย
ความไม่สนุก

พอนานเข้าๆ
มันก็จะเกิดความขุ่นมัว
ความครุ่นคิด ความเศร้าหมอง

ถ้ายังไม่แก้ไขอีก
มันก็จะพัฒนาไปเป็นความโกรธ
แรงขึ้นเรื่อยๆ

นี่คือพัฒนาการของทุกข์

เช่นเดียวกับเมล็ดพันธุ์ ทิ้งลงดินแล้ว
วันที่หนึ่งก็ยังไม่งอก สองวันก็ยังไม่งอก
วันที่สามจึงจะเริ่มงอก
วันต่อไปก็โตขึ้นเรื่อยๆ

วิธีแก้กรรม

ตราบใดที่จัดการกับความคิดไม่ได้
มันก็หยุดกรรมไม่ได้
เพราะความคิดเป็นเหตุให้ทำกรรม
ส่วนจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว
ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย

ความคิดมันจะหยุดเองก็เป็นไปไม่ได้
แต่ถ้าเจริญสติปัญญาแบบนี้
มันมีวิธีทำให้หยุดได้ง่ายๆ

เช่น วันหนึ่งใจเราคิดประมาณได้ร้อยเรื่อง
วันต่อไปก็เจริญสติปัญญา
ตามรู้อาการของมัน
แล้วตัดมันออกไปเรื่อยๆ
มันก็เหลือสักเก้าสิบเรื่อง

วันต่อมาก็เหลือสักแปดสิบ
ลดทอนลงไปเรื่อยๆ
ตามกำลังของวิปัสสนาของเรา

ถ้าเจริญสติแบบนี้ไปเรื่อยๆ
ความรู้สึกตัวจะเข้าไป
แทนที่ความคิดมากขึ้นๆ

จนกระทั่งความเผลอคิดเหลือน้อยที่สุด
เหลือเพียงเรื่องสองเรื่องก็ใช้ได้แล้ว

เมื่อความรู้สึกตัวพัฒนา
เป็นความรู้เท่าทันทุกวัน
ความคิดปรุงแต่งจะต้องลดลงได้แน่นอน

แล้วกระบวนการแก้กรรมก็เกิดขึ้นเอง
โดยไม่ต้องไปทำอะไรที่พิเศษพิสดาร
เหมือนเจ้าสำนักกรรมฐานที่เขาทำกันทั่วไป

แต่สถานการณ์จริงอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น
เช่น วันนี้มันลดเหลือแปดสิบความคิด
วันต่อไปมันอาจจะคิดพุ่งขึ้นไปเกินร้อยก็ได้
วันต่อมามันอาจจะลดลงไปเหลือเจ็ดสิบ
วันต่อไปมันเกินร้อยหรือน้อยลง
มันก็กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้

สักพักพอเราไม่หยุดความเพียร
สติก็มีกำลังมากขึ้น
เราเริ่มตัดได้มากขึ้นเรื่อยๆ
วันหนึ่งมันก็จะเหลือแค่ความคิดเดียว
หรือบางเวลาก็ไม่มีความคิดเลย
อันนี้คือเหตุการณ์ที่เป็นไปได้จริง

ถ้าเราพยายามอย่างจริงจัง ตั้งใจ
ต่อเนื่อง และถูกต้อง
งานอะไรก็ตามที่มนุษย์มุ่งมั่นจะทำแล้ว
มันสำเร็จได้ทั้งนั้น
ประการสำคัญอยู่ที่ว่า
เราจะทำหรือไม่เท่านั้นเอง
แต่ถ้าไม่อยากทำ ก็ไม่มีใครว่าอะไร

เพราะพระตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้ชี้ทาง
ใครจะเดินตามหรือไม่ท่านก็บังคับเราไม่ได้
เราอยากจะอยู่ในอบายภูมิ หรือทุคติภูมิ
ก็เลือกได้ตามใจเรา

เราอยากทุกข์ต่อไป หรือสุขต่อไป
เป็นทางที่เราต้องเลือกเดินเองทั้งนั้น

 

พระพุทธยานันทภิกขุ