ความโกรธคือไฟนรก

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ไฟนรกเริ่มจากความพอใจ

ทุกครั้งที่ความไม่พอใจเกิดขึ้น
ก็ให้รู้ว่าความรู้สึกไม่พอใจเกิดขึ้นแล้ว
ให้พิจารณาความรู้สึกอันนั้นว่า
ไฟนรกกำลังก่อตัว
ต้องใช้สติปัญญา
เฝ้าดูความรู้สึกชนิดนั้นไปเรื่อยๆ
 
ถ้าเราคิดปรุงแต่งตามเหตุการณ์นั้นๆ
อย่างขาดสติ
ความรู้สึกไม่พอใจนั้นจะลุกลาม
ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ
เหมือนไฟไหม้ป่า
 
จนกลายเป็นความโกรธ
ความขุ่นเคืองใจ ความไม่พอใจเกิดขึ้น
ถ้าเราไม่ใส่ใจรู้ และพิจารณา
อย่างน้อยพิษภัยของมันก็ตกค้าง
ทำให้ความรู้สึกเศร้าหมอง
 
บางครั้งเกิดอารมณ์ตรงข้าม
คือความพอใจ
ความรู้สึกพอใจทุกคนชอบ
อยากให้มันเกิด และพยายามหามัน
พยายามสร้างบรรยากาศให้พอใจอยู่เสมอ
 
ความรู้สึกอันนี้เองที่มันจะก่อตัว
เป็นราคะ เป็นตัณหา
และความพอใจนี่เอง
เป็นต้นเหตุให้เกิดความไม่พอใจ
 
เพราะฉะนั้นไฟคือราคะ
ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
สั่งสมมาจากความรู้สึกเล็กๆ น้อยๆ นิดๆ
ที่เราไม่สนใจจะรู้มัน
คือไม่มีการเตรียมพร้อมที่จะรู้มัน
เราเรียกตามภาษาพระว่า “อวิชชา”
 
ดังนั้นเอง อยากจะให้เราชาวพุทธทุกคน
หันมาสนใจ เห็นความสำคัญ
ของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมให้มากที่สุด
 
เพราะมันเป็นประตูแรก
ที่จะรื้อถอนความพอใจหรืออภิชฌา
และความไม่พอใจ
หรือโทมนัสออกจากใจได้
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

สะสมความไม่พอใจทีละน้อย

ต้นเหตุของความโกรธก็คือ
ความอยาก ที่ไม่ถูกตอบสนอง
ก็เกิดความไม่พอใจ
 
วันหนึ่งๆ เราจำได้ไหม
ว่าเรารู้สึกไม่พอใจกี่ครั้ง
บางวันเป็นร้อยๆ ครั้งใช่มั๊ย
 
เช่นกินอาหารไม่อร่อยก็ไม่พอใจ
รถติดก็ไม่พอใจ
คนพูดไม่ถูกหูก็ไม่พอใจ
เรียกเขาไม่ขานตอบก็ไม่พอใจ
คนเขานินทาก็ไม่พอใจ
เข้าห้องน้ำห้องส้วมไม่สะอาดก็ไม่พอใจ ฯลฯ
สารพัดเรื่อง ที่จะทำให้เราขัดใจ
 
วันหนึ่งๆ สังขารจิตที่ทำให้เกิด
ความไม่พอใจมากมายเท่าไร
 
เปรียบความไม่พอใจสั่งสม
เป็นเสมือนแก๊สถังใหญ่
วันใดมีอะไรไปชนถังอย่างแรงเข้า
ถังแก๊สนั้นก็ระเบิดแตกออกมา
เผาผลาญทั้งเราทั้งเขาฉันใด
 
ความไม่พอใจที่ถูกสั่งสมมา
ทีละนิดๆ จนอัดแน่น
 
วันหนึ่งวันใด
มีใครมากระทบกระแทก
เข้าอย่างแรง
เราก็ระเบิดอารมณ์โกรธ
ออกมาทางใจก่อน
 
แล้วก็ระเบิดทางวาจา
และทะลุออกมาทางกาย
ที่เราได้ยินเสมอว่าลุแก่โทสะ
 
เมื่อระเบิดออกมาครบสามทาง
ทำให้เราต้องมีการทะเลาะเบาะแว้ง
มีการโต้แย้งถกเถียง
มีการฆ่าฟันรันแทงกันมากมาย
เพราะเกิดจากไฟโกรธ
อันสั่งสมมาจากความไม่พอใจ
ทีละนิดนั้นเอง
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ทนได้เสมอเพื่อกิเลส

น่าแปลกที่คนเรา
เวลาที่อยากได้อะไรทางโลก
จะยินดีอดทนรอคอย
อย่างไม่ลดละได้
 
เหมือนคนตกปลา
ยอมนั่งรอปลามาติดเบ็ด
เป็นชั่วโมง
 
หรือเวลาโกรธอยากจะด่าใคร
เราก็สามารถอดทนรอ
เพื่อจะได้ด่าเขาได้
 
แต่การอดทน
กับการปฏิบัติธรรมภาวนา
เพื่อให้เห็นความจริง
ซึ่งไม่มีกิเลสเป็นตัวล่อ
เรากลับอดทนกันไม่ได้
 
เราจะคุ้นเคยอยู่กับการอดทนรอ
เพื่อให้ความโลภ ความโกรธ
ความหลง สมหวัง
 
แต่เราอดทนไม่ได้
กับการเฝ้าดูความเย็น ร้อน
อ่อน แข็ง ปวดเมื่อย ง่วง ฯลฯ
ซึ่งเป็นของจริงที่มีอยู่ทุกนาที
ในตัวเราตลอดเวลา
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตายก่อนตาย

อารมณ์ที่ควรระวัง
ในระหว่างการเดินทาง มีสองตัว คือ
ความพอใจในสุขเวทนา
ทำให้เราเพลิน หลงลืมตัว
 
กับอารมณ์ความไม่พอใจ
ในทุกขเวทนา
ทำให้เราผลักไส บ่ายเบี่ยง
หลีกเลี่ยง กลบเกลื่อน
เราจึงไม่เห็นทุกข์ที่ชัดเจน
ไม่ยอมศึกษาในทุกข์นั้น
 
การปฏิบัติธรรมคือการศึกษาในอารมณ์
แม้ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอารมณ์ชนิดใด
ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์
ความฟุ้งซ่าน ความโกรธ
ความง่วง ความสบาย ความสงบ
ความปีติ ยินดี ความเศร้าโศก
ความพอใจ ความไม่พอใจ ฯลฯ
 
เราต้องศึกษา ต้องเข้าใจ
ต้องผ่านมันให้ได้
เพราะอารมณ์เหล่านี้เป็นเพียงมรรค
ยังไม่ใช่ผล
 
อารมณ์เราทั้งวัน มีแค่สามตัว
คือ พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ
 
ตัวนิ่งๆ เฉยๆ นี้สำคัญ ต้องระวัง
เพราะรากฐานเดิมมาจากโมหะ
มันพร้อมที่จะพัฒนา
เป็นโทสะ และโลภะ
 
เมื่อศึกษาอารมณ์เหล่านี้ เข้าใจ
ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมัน
ไปพ้น อยู่เหนืออารมณ์เหล่านี้ได้
จึงจะเป็นผล
นักปฏิบัติส่วนใหญ่
จะไปติดอยู่ตรงนี้ 99 % เลยทีเดียว
 
หากพ้นได้จะไม่กลัวทั้งสุขและทุกข์
พ้นไปจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย
จะพ้นจากความโศกเศร้าพิไรรำพัน
ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
 
ความตายในพระพุทธศาสนา
ไม่ได้หมายถึงความตายของชีวิต
แต่เป็นความตาย
จากความโศกเศร้าพิไรรำพัน
หมายถึงจิตเราตายไปสู่ความเป็นปกติ
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ทำไมเด็กจึงโกรธง่ายหายเร็ว?

สมัยที่เรายังเป็นเด็กตัวเล็กๆ
บางครั้งเราถูกยั่วยุ
ให้โกรธ เกลียด เครียด ขุ่นแต่เราไม่เคยจดจำหรือใส่ใจ
ความรู้สึกแบบนั้น
มันก็ตั้งอยู่ได้ไม่นานแต่เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่
เวลาโกรธก็โกรธนาน
เวลาเกลียดก็เกลียดแรง
เวลาโลภก็โลภมากเพราะเหตุไรจึงเป็นเช่นนั้น
เราเคยฉุกคิดกันบ้างไหม?สมัยเด็กๆ จิตของเรา
มีแต่พลังความรู้สึกตัวล้วนๆ
ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความคิดแต่ยังไม่ได้รับการอบรมให้รู้ว่า
“ความรู้สึกตัวนี้แหละ
มันคือชีวิตจริงของเรา”
และก็ไม่มีใครที่จะมาเน้นย้ำให้เห็นว่า
ความรู้สึกตัวชนิดนี้
มันมีความสำคัญมากมายเพียงไร
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

เสียงด่าเป็นเพียงลม

สมมติว่ามีคนมาด่าเรา
เราก็เอาสติไปรับรู้
เสียงเป็นเพียงลม
มากระทบกับหู
ก็ไม่แปรเป็นสัญญาณ
ของตัวคิด
เมื่อมันมากระทบสติ
ก็สลายไป

ถ้าไม่มีสติ
ก็จะมีอวิชชามารับแทน
เสียงที่มากระทบหู
ก็กลายเป็นความไม่พอใจ
แปรเป็นความคิด อวิชชา
ตัณหา อุปาทาน ไปเรื่อยๆ

วิปัสสนา คือการที่เรามีสติ
ตั้งรับทันต่อสิ่งที่มากระท

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

โลภ โกรธ หลง จนเบื่อ

การปฏิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง
จะทำให้เราได้เห็นตัวเอง รู้จักตัวเอง
หากเราดูตัวเองเป็น
จะสนุกในการปฏิบัติ
 
เมื่อใดใจเกิดความโลภ
เราก็กลับไปดูอาการของจิต
 
เมื่อใดใจเกิดความโกรธ
เราก็กลับไปดูอาการของจิต
 
เมื่อใดใจเกิดความหลง
เราก็กลับไปดูอาการของจิต
 
ก็จะรู้ว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง
เป็นอย่างไร
 
ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเห็นจิตแบบนั้น
เรียกว่าปัญญา
 
และปัญญาที่เกิดจากการเห็นแบบนั้น
เรียกว่าญาณปัญญา
 
ญานปัญญาชนิดนี้
จะทำให้เกิดนิพพิทาญาณ คือ
ความรู้สึกเหนื่อยหน่ายในอาการของจิต
ที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง
ครอบงำอยู่
 
เมื่อก่อนยิ่งโลภ ก็เหมือนยิ่งได้
ยิ่งสนุก ทะเยอทะยาน
ยิ่งโกรธ ก็เหมือนยิ่งมีอำนาจมากขึ้น
ยิ่งหลง ก็เหมือนยิ่งเพลิดเพลินสนุกสนาน
เพราะเราไม่เกิดปัญญาญาณ
 
แต่พอมาเห็นด้วยอาการอย่างนี้
ด้วยปัญญาญาณ
ยิ่งเห็น มันก็ยิ่งเบื่อ เบื่อใจตัวเอง
 
เราจะเกิดคำถามขึ้นในใจตนบ่อยๆ ว่า
ทำไมเราต้องโลภ
ทำไมเราต้องโกรธ
ทำไมเราต้องหลง
 
ความคิดอย่างนี้เกิดขึ้นบ่อยเข้าๆ
นิพพิทาญาณของเรา
ก็มีกำลังมากขึ้นๆ
ในที่สุด เราก็ค่อยปล่อยวาง..
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

รู้ไม่ทันการกระทบ สังโยชน์เกิด

เมื่อตา กระทบ รูป
เกิดพอใจ ไม่พอใจ สังโยชน์เกิด
 
เมื่อหู กระทบ เสียง
เกิดพอใจ ไม่พอใจ สังโยชน์เกิด
 
เมื่อจมูก กระทบ กลิ่น
เกิดพอใจ ไม่พอใจ สังโยชน์เกิด
 
เมื่อลิ้น กระทบ รส
เกิดพอใจ ไม่พอใจ สังโยชน์เกิด
 
เมื่อกาย กระทบ สัมผัส
เกิดพอใจ ไม่พอใจ สังโยชน์เกิด
 
เมื่อใจ กระทบ อารมณ์
เกิดพอใจ ไม่พอใจ สังโยชน์เกิด
 
สังโยชน์ คือ ความยินดี ยินร้าย
ต่อการที่อายตนะภายใน
กับอายตนะภายนอก กระทบกัน
 
หากมีสติรู้ทัน สังโยชน์ก็หายไป
หากสติรู้ไม่ทัน
มันก็เกิดความยินดี ยินร้าย
กิเลสเกิด ความทุกข์เกิด
 
ถ้าเราไม่ชัดเจนในจุดนี้
การเจริญสติเท่าใดก็ก้าวหน้าไม่ได้

พระพุทธยานันทภิกขุ