ถอดพระธรรมเทศนา “ธรรมะรับอรุณ” ณ ยุวพุทธิกสมาคม

ถอดพระธรรมเทศนา บรรยายโดย หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท (พระพุทธยานันทภิกขุ) แสดงธรรมในคอร์สธรรมบริกรของยุวพุทธิกสมาคม วันที่ 13 – 20 ก.พ. 2560 ณ ยุวพุทธิกสมาคม แห่งประเทศไทย เพชรเกษม 54 กทม.

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ในสิ่งที่ดีก็มีสิ่งที่ไม่ดีตามมาด้วย
เป็นธรรมดาของโลกที่เรามีชีวิตอยู่
เพราะมันเป็นคู่ของการเกิดและการดับ

การเกิดการดับ เป็นตัวหมุนอยู่ข้างใน
ตั้งแต่เรายังไม่เกิด มันมีอยู่แล้วในจักรวาล
เป็นพลังงาน แยกออกมาเรื่อย
เป็นการเกิดการดับ
ต่อมาเป็นคู่ของการหายใจเข้า หายใจออก
หายใจเข้าเป็นเกิด หายใจออกเป็นดับ
ลักษณะที่เกิด มันจะมีพลังหนักหน่วง
ทุกข์ เจ็บ ปวด ในส่วนที่เป็นเกิด
ในส่วนที่เป็นดับ มีลักษณะที่เบา สบาย สงบ เย็น
นิพพานแปลว่าดับ
สังสารวัฏ แปลว่าเกิด
ขยายตัวไปเรื่อยๆ จากวงที่เล็กที่สุด
ขยายตัวออกมาเป็นเกิดเป็นดับ
รู้สึกสบาย เป็นดับ ไม่สบายเป็นเกิด
ร่างกายของเรามันเป็นคู่ๆ อยู่
มีหลับตา มีลืมตา มีหายใจเข้า มีหายใจออก
เหลียวซ้าย แลขวา มีหยุด มีเคลื่อน
คู่ของการเกิดดับ ขยายจากหน่วยเล็กที่สุด
มาเป็นหน่วยใหญ่ที่สุด คือชีวิตของเรา
จนกระทั่งเป็นหญิง เป็นชาย
เป็นดีเป็นชั่ว เป็นบุญ เป็นบาป
เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นนรก เป็นสวรรค์
ต้นกำเนิดมาจากการเกิดดับทั้งนั้น
เรียกว่าเป็นปรมัตถ์
จากเกิดดับ กลายมาเป็นรูปเป็นนาม
เป็นกายเป็นใจ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เราก็บริหารความเป็นคู่ของเราไปเรื่อยๆ
โดยธรรมชาติทั้งสองตัวนี้มันจะวิ่งหากันเอง

ผู้ชายเป็นเกิด ผู้หญิงเป็นดับ
ก็วิ่งหาคู่ของมันเป็นธรรมชาติ
อยู่ในฝ่ายเกิดนาน รู้สึกไม่สบาย เป็นทุกข์
ก็วิ่งหาการดับ
อยู่กับความคิดนานมันเครียด
ก็วิ่งหาการดับความคิด คือไม่เครียด สงบ
วุ่นวายนาน เป็นเกิด ก็วิ่งหาความสงบ เป็นดับ
ถ้าเราเข้าใจของคู่อย่างนี้แล้ว
การปฏิบัติของเราสบายขึ้นเยอะ
เราจะไม่สับสนว่า ทำไม
เพราะมันไม่ต้องคิดเยอะ
มีแค่สองเรื่องนี้แหละ
ถ้าเราคิดก็เป็นเกิด
เรามาดูความคิด ก็ดับ เท่านั้นเอง
แต่เราต้องใช้มัน
เราจะหนีการเกิดการดับไม่ได้
เพราะมันเป็นวิบากกรรม
ที่เราจะต้องมารับรู้มัน
เพราะความไม่รู้คืออวิชชา
เป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งปวง
เราเกิดมาเพื่อมาใช้วิบากของอวิชชา
เมื่อเราได้รับทุกข์ รับโทษจากอวิชชาคือความไม่รู้
เราก็รู้สึกว่ามันจะเป็นอย่างนี้ตลอดกัปกักัปลป์
คงไม่สนุกเท่าไร
ก็มาแสวงหาตัวตรงกันข้ามเสีย
แสวงหาตัววิชชา
เมื่ออวิชชาเป็นเหตุให้เกิด
เราก็ต้องแสวงหาวิชชา เป็นเหตุให้ดับ
เราอยู่กับตัวรู้เป็นวิชชา
อยู่กับตัวไม่รู้เป็นอวิชชา
เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)
…………………………………………………………………
#ธรรมะรับอรุณ ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ
https://www.buddhayanando.com/?p=19796

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พระพุทธองค์ก็เช่นเดียวกัน
เป็นมนุษย์อย่างเรานี้แหละ
ท่านเกิดมาท่านก็เป็นทุกข์
แต่ท่านเป็นมนุษย์ที่ฉลาด

พอได้เรียนรู้เรื่องสุขเรื่องทุกข์ได้ไว
ท่านก็หนีออกมาด้วยความไม่รู้เหมือนกัน
แสวงหาวิธีการทำให้ตัวทุกข์หมดไปได้อย่างไร
แสวงหาครูบาอาจารย์ห้าปีหกปี
ก็ไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าทำไมเราจึงทุกข์
ท่านได้หนีออกมาจากสำนักอาจารย์
มาแสวงหาคำตอบด้วยตัวเอง
ในที่สุดท่านก็พบว่า
เราเข้าใจมาตลอดว่าความทุกข์เกิดที่กาย
อุตส่าห์ทรมานกาย
ในที่สุดท่านกลับมาดูอีกอันหนึ่งที่ไม่ใช่กาย
กายนี้เป็นดุ้นเป็นแท่ง เป็นธาตุสี่
เป็นท่อนไม่ท่อนฟืนอันหนึ่ง ทำอะไรเองไม่ได้
การที่เราดิ้นได้ พูดได้ เดินได้ คิดได้
มันจะต้องมีอะไรเป็นต้นกำเนิด
ท่านดูไปดูมาก็ไปเจอตัวนาม
มันมีรูปของมันอยู่แล้ว
แต่ที่มันเติบโตได้เพราะอะไร
วัตถุบางอย่างเติบโตไม่ได้
ต้นไม้ที่ตายแล้ว เติบโตอีกไม่ได้
ต้นไม้ที่ยังไม่ตาย มันยังเติบโตได้ เพราะอะไร
ท่านก็หาคำตอบไปเรื่อยๆ
ต้นไม้ ภูเขา เถาวัลย์
มันเกิดแล้วมันก็ตาย
การเกิดยังต่อเนื่องอยู่ เรียกว่ามีชีวิต
ถ้าเมื่อใดการเกิดสิ้นสุด เรียกว่าหมดชีวิต
ในตัวชีวิตถ้ายังไม่สมบูรณ์
ในตัวเกิดก็มีตัวดับอยู่ด้วย
มันก็เลยทำหน้าที่เป็นพลัง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ในตัวชีวิตถ้ายังไม่สมบูรณ์
ในตัวเกิดก็มีตัวดับอยู่ด้วย
มันก็เลยทำหน้าที่เป็นพลัง

ตัวเกิดกลายเป็นพลังงาน
พลังงานเกิดจะเรียกว่า positive
หรือ Negative ก็แล้วแต่
มีพลังงานดับอยู่ด้วย
เราสมมติว่าส่วนที่เกิดเป็น positive
ส่วนที่ดับเป็น Negative
แต่ในส่วนที่เป็นนาม
การดับกลับเป็น Positive
การเกิดกลับเป็น Negative
เราก็มาใช้กับขั้วไฟ เป็นขั้วบวกขั้วลบ
เมื่อสองขั้วนั้นปรับสมดุลกันพอดี
ก่อให้เกิดไฟฟ้า
แต่ถ้าสองขั้วนี้ไม่พอดี
ไฟก็สว่างบ้างไม่สว่างบ้าง
ชีวิตเราก็เป็นอย่างนี้ มีเกิดและมีดับ
พระพุทธองค์จึงมาค้นหาว่า
ถ้ามันเกิดมากเกินไป
ก็ทำให้พลังงานเกิน เรียกว่าทุกข์
ถ้ามันดับมากเกินไป
มันสบายเกินไป เรียกว่าสุข
เราไปติดในฝ่ายดับมากเกินไปก็ทุกข์
ไปติดฝ่ายเกิดมากเกินไปก็ทุกข์
ท่านก็มาสมดุลระหว่างเกิดกับดับให้พอดี
รู้ของใหม่เรียกว่าไม่ทุกข์
ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์
แต่เป็นภาวะที่ไม่ทุกข์ ท่านใช้คำว่านิโรธ
ดับทั้งการเกิดและการดับ
การเกิดเรียกว่าทุกข์
ทุกข์มีที่ไปที่มาเรียกว่าสมุทัย
มันดับของมันเอง เรียกว่านิโรธ
มีวิธีที่จะดับเรียกว่ามรรค
ถ้ามันเกิดดับของมันเองโดยธรรมชาติ
มันก็ยังไม่เป็นอริยสัจจ์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เมื่อท่านค้นพบอย่างนี้
ท่านก็เลยหาวิธีให้การเกิด
และการดับสมดุลกัน

พบว่าในส่วนที่เกิด
ถ้ามันเกินทำให้ลำบาก
เรียกว่า อัตตกิลมัตถานุโยก
ถ้าเราไปติดในส่วนที่ดับ
เราไปติดความสบายมันก็เกิน
เรียกว่ากามสุขัลลิกานุโยก
ถ้าเช่นนั้นต้องละทั้งสองส่วน
ธรรมที่บรรพชิตไม่ควรเสพ
ความสุดโต่งทั้งสองด้าน
ติดในสบายเกินไป มันดับมากๆ ก็สบาย
เราไปติดอยากให้สบายนานๆ
แต่มันก็ต้องเกิดใหม่อีก สลับกันไปมา
จะทำอย่างไรให้มันสมดุล
ระหว่างเกิดดับกันพอดี
ท่านก็เลยมาตามรู้ขบวนการของมัน
มีการเกิดขึ้นเพราะอะไร
ท่านก็มาหาการเกิด
การที่มันเกิดเพราะการดับมันเกิน
ทำให้เป็นสมุทัย
สุขเกินเป็นสมุทัย ทุกข์เกินเป็นสมุทัย
การเกิดการดับต้องเท่ากัน
เป็นภาษาที่เรามาใช้
คิดเท่าไรรู้เท่านั้นจะพอดี
คิดเกิน ตัวรู้น้อย ก็จะทุกข์
ตัวรู้มากเกินไปไม่คิดเลย ก็ทุกข์
ปรับความรู้กับความหลงให้เท่ากัน
ความหลงเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง
ความรู้เข้าไปสมดุลกับความหลง
เป็นความไม่เกิดไม่ดับ คือทางสายกลาง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ในที่สุดท่านก็มาพบมัชฌิมาปฏิปทา
ละส่วนเกินทั้งสองด้าน
ส่วนเกินทั้งฝ่ายเกิดและฝ่ายดับ

เรามาปรับการเกิดและการดับให้พอดี
ถ้าเป็นหลอดไฟ เมื่อความถี่ของสองฝ่ายพอดี
ก็กลายเป็นแสงสว่าง
เมื่อค้นพบอย่างนี้ ท่านจึงกล่าวว่า
“จักขุงอุทะปาทิ” จักขุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
คำว่าจักขุคือดวงตานอก
ดวงตานอกเป็นเกิด
ดวงตาในเป็นดับ
ท่านใช้คำว่า “ญาณังอุทะปาทิ
ปัญาอุทะปาทิ วิชชาอุทะปาทิ
อาโลโกอุทะปาทิ”
ความรู้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
สิ่งนี้ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน
ไม่เคยมีใครพูดเรื่องนี้มาก่อนเลย
ในธัมมจักรกัณฑ์แรกได้กล่าวไว้
ในที่สุดเราจึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก
เรียกว่า ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร
เป็นหลักให้เกิดพุทธศาสนา
เกิดเป็นธรรมะ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ในเวลาต่อมา เริ่มต้นจากตรงนี้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เมื่อมีการเกิดดับ
ต้องสมดุลระหว่างการเกิดดับให้พอดี
จะทำอย่างไร?

ท่านก็มาดูว่ามีการเกิดขึ้นเพราะอะไร?
ในส่วนกาย “ชาติปิทุกขา ชราปิทุกขา
พยาปิทุกขา มรณาปิทุกขา”
การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ในฝ่ายกาย
เป็นการเกิดในฝ่ายกาย
และในส่วนนามคือใจ
“อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข”
การประสบในสิ่งที่ไม่ถูก ทำให้ใจรับไม่ได้
พลัดพรากจากสิ่งที่เรามีอยู่
เรามีเงินอยู่หนึ่งล้าน
กลับออกมาไปดูตัวเลขในบัญชีหายไป
กรรมฐานที่ปฏิบัติมาเจ็ดวัน
หายวับไปทันที
หรือออกไปนี่ได้ข่าวว่าสามีถูกรถชน
ลูกถูกลักพาตัวไป
“อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข” เกิดขึ้นทันที
ประสบกับสิ่งที่เราไม่รัก
พลัดพรากจากสิ่งที่เราเคยรัก
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทางจิต
“ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง”
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
วันนี้มาที่นี่ ปรารถนาว่าจะได้เห็น
บุคลิกท่าทางของพระมหาดิเรกอย่างประทับใจ
กลับมาเจอภาพที่ไม่ประทับใจเลย
พระกรรมฐานเต้นแร้งเต้นกา
ทำได้อย่างไร ผิดวินัยหรือเปล่า
ก็สงสัยไป
หรือเราต้องการให้จิตสงบ มันไม่สงบเลย
ไม่ได้อารมณ์เลยวันนี้
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
“ยัมปิจฉังนะละกันติ ตัมปิทุกขัง”
ปรารถนาจะให้มันรู้ตัวตลอดเวลา
มันกลับคิดไปสารพัดอย่าง
ปรารถนาไม่ให้มันง่วง แต่มันก็ง่วง
มันไม่ได้อย่างใจเรา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ในที่สุดท่านก็บอกว่า
“สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา”

สรุปแล้วเราเข้าไปสร้างอุปาทานในกายในจิต
ไปสำคัญมั่นหมายว่ามันมี หรือไม่มีตน
นั่นแหละเป็นยอดของทุกข์เลย
“สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา”
ว่าโดยย่อการเข้าไปสำคัญมั่นหมาย
ในความคิดว่าเป็นเราของเรา
นั่นคือเป็นที่เกิดของทุกข์
รวมแล้วทั้งกายทั้งใจมีทุกข์สิบสองอย่าง
กลายมาเป็นธัมมจักร
ทุกข์เกิดจากอะไร? อุปาทานเกิดจากอะไร?
อุปาทานเป็นตัวสุดท้าย
ในบรรดาทุกข์ทั้งสิบสองอย่าง
อุปาทานเกิดจากอะไร?
เข้าไปสำคัญผิดในกายในใจ
ในรูปในนามว่าเป็นเรา เป็นของเรา
เพราะอะไร? ท่านก็ลำดับไป

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

การที่เราเข้าไปสำคัญมั่นหมายความสบาย
อยากให้ความสบายเกิดขึ้น
อยากจะนั่งให้สบาย ไม่อยากให้มันหนัก
ไม่อยากให้มันเจ็บมันปวดเลย
อยากให้ความสบายอยู่นานๆ

แต่มันเป็นไปไม่ได้อย่างที่เราต้องการ

ความอยากเป็นกามตัณหา
นันทิราคะ สะหะคะตา
เพลินในความสบายนั้นๆ
ก่อให้เกิดตัณหาสามอย่าง
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
กามตัณหาอยากได้ดังใจ
เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็เกิดวิภวตัณหา ไม่ชอบ
ชอบก็เป็นตัณหา ไม่ชอบก็เป็นตัณหา
ยึดอยากให้ความชอบอยู่ก็เป็นตัณหา
เรียกว่า ภวตัณหา
ความอยากให้ได้ดั่งใจมันจึงเป็นทุกข์
ตัณหานี้มาจากไหน?
ทุกคนมีความสบายและไม่สบาย
เมื่อสบายแล้วอยากให้มันเที่ยง
อยากให้มันอยู่อย่างนั้น
แต่มีกฎเกณฑ์กติกาว่ามันไม่เที่ยง
มันจะต้องเปลี่ยน
ความสบายต้องเปลี่ยนเป็นความไม่สบาย
และความไม่สบายทนอยู่ไม่ได้
ก็ต้องปรับ เป็นอนัตตา
เราจะทำอย่างไรไม่ให้ตัณหามันเกิด?
ก็ให้รู้จักความสบาย เอาอะไรมารู้?
ต้องสร้างดวงตาธรรมให้ได้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เรามาที่นี่เรามาสร้างดวงตาธรรม
“จักขุงอุทะปาทิ” ดวงตาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ลำพังดวงตาไม่มีแสงสว่าง ก็ทำงานไม่ได้

ในห้องนี้ปิดไฟหมดเกิดอะไรขึ้น?
วุ่นวายทันทีว่าทำไมมืด
“จักขุงอุทะปาทิ” ใช้แสงสว่างอีกสี่ตัว
คือญาณ ปัญญา วิชชา และอโลกะ
เป็นแสงสว่าง
ดวงตาคือปัญญา แสงสว่างคือสติ
เราจึงใช้คำว่าสติปัญญา
และสติที่จะนำไปสู่ปัญญาตัวนี้
ผ่านสัมปชัญญะและสมาธิ เป็นตัวเชื่อม
เราจึงมาสร้างตัวแสงสว่าง
ปัญญาไม่ต้องไปสร้างมัน
เพราะดวงตามีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด
ตัวรู้ทุกคนมีอยู่แล้วตั้งแต่เกิด
ไม่ต้องไปสร้างมัน
แต่เราขาดแสงสว่างเท่านั้นเอง
ที่เรามาสร้าง มาสร้างแสงสว่าง
คือสติสัมปชัญญะ
แสงสว่างติดๆ ดับๆ ใช้ไม่ได้
แสงสว่างต้องเสถียร
คำว่าสมาธิ หมายถึงเสถียร
Enlight ทำให้แสงสว่างนั้นเสถียร ตั้งมั่น
เหมือนหลอดไฟ เดี๋ยวเปิด เดี๋ยวดับ วุ่นวาย
ไม่มีไฟเสียเลยดีกว่า
แสงสว่างต้องเสถียร
แสงสว่างล้วนๆ เรียกว่าสติสัมปชัญญะ
ความเสถียรของสติสัมปชัญญะ
เรียกว่าสมาธิ
ทำให้ดวงตาเห็นชัด คือปัญญา
แค่นี้เอง องค์ประกอบของมัน ง่ายๆ
ใครทำให้มันซับซ้อน…เพราะอวิชชา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

รูปเป็นการเกิด
ผู้รู้จึงกล่าวถึงสภาวะที่เป็นปรมัตถ์
ไม่จำเป็นไม่เกี่ยวข้องด้วยรูป
เพราะมันเกี่ยวข้องด้วยอุปาทานของคน

อาจารย์นั้นดี อาจารย์นั้นไม่ดี
อาจารย์นั้นถูก อาจารย์นั้นผิด
เกิดทุกข์แล้ว เพราะมันมีตัวรูปขึ้นมา
รูปเป็นลักษณะของการเกิด
นามเป็นลักษณะของการดับ
รูปเป็นสมมติ นามเป็นปรมัตถ์
พอโยงเข้าไปสู่หลักอย่างนี้
มันจบปัญหาทันที
แต่ทำไมเรายังไม่จบ
เพราะแสงสว่างยังไม่สมบูรณ์
ไฟสลัวๆ ยังไม่สว่างพอ
ถ้าทั้งห้องมีไฟดวงเดียว ก็เห็นได้บางมุม
อีกมุมหนึ่งมองไม่เห็น
ก็ต้องติดให้ทั่วทุกมุม

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

วิธีการทำสติสัมปชัญญะให้เกิด
มีหลากหลายวิธี
บางพวกก็บอกว่าต้องเคลื่อนไหวมือเท่านั้น
จึงจะรู้ตัว อย่างอื่นไม่ใช่

อีกพวกหนึ่งก็บอก เคลื่อนไหวช่วยไม่ได้
ต้องยุบพองเท่านั้น
อีกพวกหนึ่งบอกไม่ใช่ ต้องพุทโธเท่านั้น
หายใจเข้าพุท หายใจออกโท
อีกพวกหนึ่งบอกไม่ใช่
ต้องสัมมาอะระหังเท่านั้น
ก็หาวิธีต่างๆ กันไป
ค้านกันไป อันนี้ถูก อันนี้ผิด
มันก็เลยเกิดความขัดแย้ง
เราซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดา
ไม่ได้มีประสบการณ์ทางนี้
เราเข้าใจไม่ได้ สับสน ไม่รู้ใครถูกใครผิด
ความจริงแล้วไม่มีถูก ไม่มีผิด
เพียงแต่จะทำให้แสงสว่างสมบูรณ์ได้อย่างไร
วิธีการต่างๆ ถ้าทำให้เกิดแสงสว่าง
ให้ตาเราเห็นชัด ใช้ได้ทั้งนั้น
เป้าหมายมันแค่นั้น
เราก็ไม่ต้องมานั่งเถียงกัน
อันนั้นดี อันนี้ไม่ดี เป้าหมายจะทำอย่างไร
ให้แสงสว่างชัดจนตาเราเห็นได้
วิธีไหนก็ได้
เมื่อเห็นอย่างนี้ เรียกว่าเราเกิดสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สัมมาทิฏฐิแปลว่า เข้าใจให้ถูก
วิธีการคือ ต้องมีความเห็นที่ถูกต้องก่อน
ตาต้องดีก่อน

ไม่ใช่ว่าเรามีตาแล้วจะต้องดีเสมอไป
อาตมาถอดแว่นตามองหน้าใครไม่ชัด
บางทีเรามีตาอยู่ แต่ตาไม่ดี
ตาเราเสียเพราะใช้มันมาก
บางทีตาดี แต่เดินซุ่มซ่ามเพราะบอดสี
มองเป็นสีเดียวกันหมด
ไม่ใช่มีดวงตาแล้ว ตาจะดีเสมอไป
เราก็มาปรับให้ตามันดีด้วย แสงสว่างพอด้วย
เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
ตาในจะดี ต้องมอง ๔ อย่างนี้ถูกต้อง
๑. เห็นรูปเห็นนามเป็นที่ตั้งของสุขทุกข์
เป็นที่ตั้งของการเกิดและการดับ
การที่จะสำรวจตรวจสอบความจริงนี้
จะคิดเอาไม่ได้ ต้องลงมือทำ
จึงมีคำว่าสัมมัปทานขึ้นมา ทำให้ถูกต้อง
สติปัฏฐานสี่ สัมมัปทานสี่
โยมได้ฟังมาหลายวันแล้ว
ร่างกายเป็นที่ตั้งของสุขหรือทุกข์?
แล้วเราแสวงหาอะไร?
เราแสวงหาสุข แต่ทุกข์เกิดขึ้นซ้ำซ้อน
แทนที่เราจะแสวงหาความไม่ทุกข์
แต่เรากลับแสวงหาความสุข
สุขกับทุกข์ก็คือสิ่งเดียวกัน
แต่อยู่คนละด้าน เหมือนพลิกฝ่ามือ
เรานั่งอยู่นานเป็นทุกข์ ลุกขึ้นเป็นสุข
มันเป็นอันเดียวกัน
แต่มีหนัก เบา สบาย ไม่สบาย
สุขกับทุกข์เป็นสิ่งเดียวกัน
สิ่งไหนที่ทนได้ยาก เราเรียกว่าทุกข์
สิ่งไหนที่เราทนได้ง่ายกว่า เรียกว่าสุข
แต่ทั้งสองอย่างต้องทน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ร่างกายเป็นที่ตั้งของทุกข์
เพราะมีกำเนิดมาจากทุกข์
พ่อแม่ของเราเห็นกันครั้งแรก
ถ้าท่านเห็นเฉยๆ จะไม่เกิดเราขึ้นมาได้
เห็นแล้วไม่เฉย จึงเกิดเรามา

เราเกิดมาก็ไม่มีใครมาสอนว่าให้เห็นเฉยๆ
เราเห็นแล้วก็ไม่เฉย
ชอบคนนั้นคนนี้ ชอบไปชอบมา
พยานทุกข์ก็เกิดขึ้นมา
เราก็เป็นพยานทุกข์ของพ่อแม่
กำเนิดตรงที่เราเฉยไม่เป็น ไม่มีวิชชา ไม่รู้
เกิดมาเพราะอวิชชา
อวิชชาทำให้เฉยไม่ได้ เกิดความอยาก
ความอยากมันก็เกิน กลายเป็นสมุทัย
เหตุให้เกิดทุกข์
สร้างกันไปอย่างนี้เรื่อยๆ ไม่มีจบ
จนกระทั่งมาพบคำสอนของพระพุทธเจ้า
โดยพระสาวกของท่าน
เรียนรู้ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกือบสามพันปี
จนถึง ณ ปัจจุบัน คำสอนของท่าน
ก็ยังสว่างไสวอยู่เหมือนเดิม
เพราะท่านไม่ได้มอบภาวะพุทธะนี้ให้กับใคร
ก่อนที่ท่านจะปรินิพพาน
พระอานนท์ถามว่า ตำแหน่งของศาสดา
ท่านจะมอบให้ใครหลังจากที่ท่านล่วงลับไปแล้ว
ในการดูแลหมู่สงฆ์ การรับผิดชอบคำสอนต่างๆ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์
ธรรมและวินัยใดที่เราตรัสสอนไว้ในที่ต่างๆ
เป็นเวลาสี่สิบห้าปี
ธรรมและวินัยนั้นจะเป็นศาสดาแทนเรา
เรามาแปลแบบสมมติว่า
พระธรรมคือคำสอนของท่าน
พระวินัยคือระบบระเบียบ
จัดการให้คำสอนนั้นดำรงอยู่ได้
อันนั้นจะเป็นศาสดาแทนเรา
มันเป็นสมมติ แต่เวลาปฏิบัติ
เราต้องการใช้ปรมัตถ์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ในแง่ปรมัตถ์ เราแปลว่า
พระธรรมคือเหตุ พระวินัยคือผล
พระวินัยคือเกิด พระธรรมคือดับ

พระธรรมคือปัญญา พระวินัยคือสติ
พระอริยเจ้าทั้งหลายมีสติเป็นวินัย
มีสติเป็นศีล มีปัญญาคือธรรม

ถ้าจะกล่าวเป็นปรมัตถ์ ดูก่อนอานนท์
สติปัญญาที่เราได้สอนแก่ท่านทั้งหลาย
เป็นเวลาสี่สิบห้าปี
สติปัญญานั้นจะเป็นศาสดาแทนเรา

เราก็มาบริหารสองตัวนี้

ปัญญาคือดวงตา สติคือแสงสว่าง
ดวงตาและแสงสว่างใดที่มีอยู่ในโลก
ดวงตาและแสงสว่างนั้น
จะเป็นศาสดาแทนเรา

พระพุทธเจ้ายังคงอยู่ คือพุทธะตัวจริง
พุทธะตัวนี้ไม่ได้หายไปไหน
อยู่กับเราทุกคน

ท่านได้ค้นพบ และนำมาบอก
ในนามของเจ้าชายสิทธัตถะ
ท่านจึงถูกขนานนามใหม่ว่าพุทธะ
แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน มีอยู่ในใจทุกคน
แสดงว่าพระพุทธเจ้ายังอยู่

เราจึงกล่าวว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ”
ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน
เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะ สัมผัสได้
เราก็มาสร้างพุทธภาวะที่นี่

“ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ”
ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งภาวะ รู้ตื่นเบิกบาน
ให้คงที่ ให้ตั้งมั่น เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก

“สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”
ข้าพเจ้าจะนำตัวรู้ ตื่น เบิกบาน
ไปสู่ทั้งกายและใจ
นี่คือความหมายโดยปรมัตถ์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยสมมติ
พระพุทธเจ้าคือผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
ได้สอนแก่บุคคลทั้งหลาย

พระธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
คือความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

พระสงฆ์คือหมู่ชนที่ปฏิบัติตามคำสอน
ของพระพุทธเจ้าตั้งแต่สี่รูปขึ้นไป
อันนี้เรียกว่าสมมติ

โดยปรมัตถ์คือสภาวะจิต รู้ ตื่น เบิกบาน
มีอยู่ในใจคนทุกคน

๒. ทำอย่างไรให้ภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน
ให้เกิดขึ้น คงที่และสมบูรณ์

๓. นำภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน มาใช้ได้ทั้งกายและใจ
ทั้งตนเองและสังคมได้อย่างไ
เอามาเป็นที่พึ่ง

เราจึงกล่าวได้เต็มปากว่า
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
ทั้งส่วนสมมติ และส่วนปรมัตถ์

เมื่อท่านได้ค้นพบว่า จะจัดการกับความอยาก
คือตัณหาทั้งสาม ต้องมีดวงตาดี
เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
สร้างดวงตาภายในก่อน
ท่านจึงได้บัญญัติ อริยมรรคมีองค์แปดขึ้นมา

เพราะท่านได้รู้กฎของรูปและนาม
กฎของเกิดและดับก่อน

อริยสัจสี่ข้อ ย่อเหลือสอง
ทุกข์ สมุทัย เป็นเกิด
นิโรธ มรรค เป็นดับ

ได้เห็นการเกิดดับของอริยสัจนั่นเอง

 

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

การรู้หยุดอย่างชัดเจน
การรู้เคลื่อนอย่างชัดเจน

การเคลื่อนเป็นเกิด การหยุดเป็นดับ
เราจึงเอาการเกิดดับที่มีอยู่ในกายทุกส่วน
เป็นอารมณ์กรรมฐาน

เอาภาวะรู้ที่เกิดจากการเคลื่อนการหยุด
มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน

ไม่ได้เอามือมาเป็นนิมิต
หรืออารมณ์กรรมฐาน
แต่อาศัยมือ

การทานข้าวให้อิ่ม
ต้องอาศัยช้อนและจาน
ไม่มีช้อน จาน แก้ว จะทานอาหารลำบาก

อารมณ์กรรมฐานเป็นนาม
ถ้าไม่มีรูปนี้เป็นเครื่องมือ
อารมณ์นั้นก็จะไม่มีที่ตั้ง

น้ำจะมากองไว้ไม่ได้ ต้องมีแก้วรองรับ

เมื่อเราเข้าใจหลักการชัดเจนอย่างนี้แล้ว
เราก็จะไม่ลังเลในการปฏิบัต
ว่าทำเพื่ออะไร? ได้อะไร?

เพียงแต่ทำแล้ว รู้สึกสติสัมปชัญญะชัดมั้ย?
แค่นั้นเอง ไม่ชัดก็ปรับให้มันชัด

ไม่เกี่ยวข้องกับหลับตาหรือไม่หลับตา
จะเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหว
เกี่ยวกับความรู้สึกตัวว่าเข้มแข็งหรือไม่
สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ มั้ย

หรือทำไปแล้ว วิธีการใด
เป็นเหตุใกล้ให้เกิดความง่ว
แสดงว่าสติสัมปชัญญะไม่เสถียรแล้ว

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

วิธีการอันใดเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
ความหงุดหงิด อึดอัด ขัดเคือง
ก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิดตัวทุกข์แล้ว

วิธีการอันใดทำให้เกิดความขี้เกียจ
เบื่อ เบลอ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดทุกข์

วิธีการใดเป็นเหตุใกล้ให้เกิดความฟุ้งซ่าน
รำคาญ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดทุกข์

วิธีการใดทำให้เกิดความลังเลสงสัย
วุ่นวาย ไม่แน่ใจ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดทุกข์

กลุ่มนี้เป็นอุปสรรคอันแรกในการปฏิบัติ
เราก็มาดูว่าวิธีการใดที่ทำให้ง่วงได้ง่าย
เราก็คอยสำรวจ

สมัยที่อาตมาอยู่กับหลวงพ่อพุทธทาส
วันไหนมีสติสัมปชัญญะหน่อย ก็สงบนิ่งได้นาน
เพราะเรานับลมหายใจ

หายใจเข้านับหนึ่ง หายใจออกนับสอง
วันไหนสติสัมปชัญญะอ่อน ก็จะหลับ
สลับไปสลับมา ทำอยู่เกือบสามปี

ในที่สุดถามหลวงพ่อ
ผมทำแบบนี้ วันไหนสติดีนั่งได้นาน เข้าฌานได้ลึก
วันไหนสติไม่ดี ผมก็ง่วงทั้งวัน ผมจะแก้ไขอย่างไร?
สงบ ไม่สงบ สลับกันอยู่อย่างนี้

ท่านบอกว่า มหา ผมได้อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด
ในอานาปานสติสิบหกขั้น
ให้กลับไปอ่านดูอีกครั้ง

ก็เลยหมดอารมณ์
เพราะตอนนั้นเราไม่ได้ง่วงแล้ว
จึงเป็นเหตุให้มาพบหลวงพ่อเทียน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

อานาปานสติกรรมฐาน เป็นเรื่องละเอียด
เป็นมงกุฎกรรมฐาน

แต่อินทรีย์ของเรามันเวอร์ชั่นสามสิบสอง
อานาปานสติมันเวอร์ชั่นหกสิบสี่
มันไม่แมตช์กันเลย
ระหว่างอินทรีย์ของเรากับกรรมฐาน

กรรมฐานดี แต่อินทรีย์เรามันอ่อน
เราก็ยังดันทุรังเอาโปรแกรมมาใส่ให้ได้
มันรับหกสิบสี่แต่เรามีสามสิบสอง

ในที่สุดก็มาปรับอินทรีย์ของเรา
ในกายานุปัสสนานั้น
มีให้เลือกถึงหกทาง

๑. ลมหายใจ
๒. อิริยาบถใหญ่
๓. อิริยาบถย่อย
๔. ธาตุสี่
๕. อาการสามสิบสอง
๖. อสุภะ

ในหกอย่างก็เลือกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่เหมาะกับอินทรีย์ของเรา
เขาบอกว่าอานาปานสติดี
คุณก็ทำอยู่นั่นแหละ
ทั้งๆ ที่ยี่ห้อของคุณมันไม่ใช่
เวอร์ชั่นของคุณมันไม่ถึง ทำให้เสียเวลา

อาตมาก็เหมือนกัน พอไปเจอเวอร์ชั่นสูง
แบบหลวงพ่อพุทธทาส
อาตมาไม่ไหวแล้ว ดันทุรังไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้
ก็หาอาจารย์องค์ใหม่

มาเจอหลวงพ่อเทียนพอดี
มาใช้เวอร์ชั่นที่สอง
ใช้อิริยาบถสี่และสัมปชัญญะ
รับได้ เวอร์ชั่นนี้พอดีกับอินทรีย์ของเรา

ก็ทำตั้งแต่พบท่านจนถึงบัดนี้
ไม่เคยเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเลย
ตั้งแต่ปี ๑๙ มาจนถึงปัจจุบัน

เบื้องต้นที่สุดเราต้องดูให้ชัดก่อน
ว่าอะไรมันเหมาะสมกับเรา
ถ้าเราไม่มีการตรวจสอบอย่างนี้
เราก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

ชีวิตเรามันอยู่ได้สักเท่าไ
เดี๋ยวมันก็เจ็บป่วย เดี๋ยวมันก็ตาย
เรามัวแต่วิ่งไปวิ่งมา
ก็ไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอั

ทำให้มันแน่ใจสักอย่าง
ที่มันเหมาะกับอินทรีย์ของเรา
เราก็ไม่ต้องมานั่งเถียงกันว่า
อาจารย์นั้นใช้อันนี้ท่านบรรลุธรรม
คุณไม่ต้องเอาบรรลุธรรม
แค่ทุกข์ไม่มีก็พอแล้ว

หลวงพ่อเทียนบอก
คุณไม่ต้องเป็นโสดา สกิทา อรหันต์
แค่ทุกข์ไม่มีก็พอใจแล้ว
มันจะได้หรือไม่ได้อะไรก็ช่างมันเถอะ

ในสมัยนั้นเป็นแฟชั่น
อาจารย์บอกคนนี้ได้โสดา สกิทาคา
มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องไปรู้
ถ้าเรายังทุกข์อยู่ ยังมีปัญหาอยู่
เราเป็นไปทำไมพระอรหันต์

ถ้าเราไม่ทุกข์ ไม่ต้องเป็นพระอรหันต์ก็ได้
ทำให้มันทุกข์น้อยลงเรื่อยๆ ถูกต้องแล้ว
ทำแล้วยังลังเลสงสัยว่าทุกข์มันเหลืออยู่เท่าไร
วัดจำนวนไม่ได้ มันยังไม่ถูก ทำไปเรื่อยๆ

อาตมาทำความเข้าใจตั้งแต่ปี ๑๙
กว่าจะหายสงสัยปี ๒๙
สิบปี มันหนามากๆ เลย

ทุกวันนี้อาตมาจึงไม่สนับสนุน
ให้พระให้โยมบวชเท่าใด
เพราะการบวชเป็นตัวตนชนิดใหม่

ตัวตนเหล่านี้เป็นอุปาทาน
ทำให้เราสำคัญผิด เอาตัวตนมาแข่งกัน
ปัญหาก็เลยเกิดอย่างที่เราเห็น

ถ้าบวชเป็นพระก็เริ่มมีพรรษา แบบฟอร์ม
เริ่มมีชั้นภูมิ นักธรรมบาลี ปริญญาตรี โท เอก
มันพอกพูนเปลือกอุปาทาน
เป็นชั้นๆ หนามากเลย

แต่การเข้าถึงสภาวะ ต้องเลาะออกให้หมด
เลาะสมมติออก ให้เป็นเหมือนพุทราหรือองุ่
ที่กินได้ทั้งเปลือกและเนื้
แต่ถ้าเป็นพระ เป็นมะพร้าว ทุเรียน
กินทั้งเปลือกทั้งเนื้อตายแน่เลย

ในสมัยพุทธกาลท่านสนับสนุนการบวช
เพราะก่อนที่จะบวช ต้องทำความเข้าใจ
จนได้ดวงตาและแสงสว่างระดับหนึ่งก่อน
ท่านถึงจะบวชให้

ดวงตาและแสงสว่างมีสี่ระดับ
เห็นได้ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต
หายจากโรคสามอย่าง
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส

ดวงไฟอยู่มุมหนึ่ง แต่อีกสามมุมยังมืดอยู่
พัฒนาสติสัมปชัญญะต่อไป
เกิดดวงไฟดวงที่สอง
ได้อีกยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์
เป็นห้าสิบเปอร์เซ็นต์

อีกสองมุมยังมืดอยู่
เจริญสติสัมปชัญญะต่อไป
ได้แสงสว่างขึ้นอีกดวงที่สา
เป็นเจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์

มาทำมุมที่สี่ให้สว่าง
ได้อีกยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์
เป็นร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม

มีสี่ระดับ ตอนนี้ตรวจสอบตัวเองได้หรือไม่
ว่าแสงสว่างอยู่ระดับไหน
ตรงนี้เราก็เลยไม่ไปไม่มา
เพราะเราไม่รู้ว่าแสงสว่างเราอยู่ในระดับไหน

เราก็มาบัญญัติว่าระดับที่หนึ่ง พระโสดาบัน
ทำให้สักกายทิฏฐิหายไป
เปลี่ยนสักกายทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิได้
ให้เปลี่ยนตัวนี้ให้ได้ก่อน

เราเห็นถูกว่าร่างกายนี้ไม่ได้เป็นที่ตั้งของความสุข
อย่าไปแสวงหาความสุขให้มันลำบาก
ร่างกายเป็นที่ตั้งของความทุกข์
เพียงแต่ลดความทุกข์ทางกายทางใจลง
ก็จะละความสำคัญว่าร่างกายเป็นของเรา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เจ้าของที่แท้จริงของร่างกายเรา
คือการเปลี่ยนแปลงแปรปรวน เป็นทุกข์
การแตกดับไปตลอดเวลา

เจ้าของร่างกายที่แท้จริง เรียกว่าไตรลักษณ์
คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ไตรลักษณ์ทำงานตลอดเวลา
ตั้งแต่เรายังไม่เกิด ในฝ่ายรูป

รูปเป็นที่ตั้งของทุกข์
คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าเราไม่มีสติปัญญา
เราก็ไม่สามารถควบคุมไตรลักษณ์ที่
ให้มันอยู่เฉพาะกาย

เพราะสติ สัมปชัญญะ และปัญญา
ยังไม่เติบโต
เราไม่สามารถสกัดความปวดของกาย
ไม่ให้เข้าไปสู่ใจ

ความสบายของกายไหลไปสู่จิต
เรียกว่าโสมนัสสเวทนา

เราไม่สามารถควบคุมความสบายของกาย
คือโสมนัสสเวทนา ไม่ให้ไปสู่จิตได้
เรียกว่าอวิชชา ความติดใจ

โสมนัสเป็นความยินดี พอใจในความสบายนั้น
สติปัญญาเราก็ยังไม่พอที่จะรู้เท่าทัน
ก็เปลี่ยนเป็นอภิชฌา เข้าไปสู่จิตแล้ว

เราไม่ตามรู้ความสบายที่เราเข้าไปเสพติด
กลายเป็นนันทิ

เราไม่มีปัญญาที่จะรู้นันทิ
ก็เปลี่ยนเป็นราคะ กามฉันทะ ตามลำดับ
พัฒนาไปอย่างนี้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

การที่จะไปไล่ฆ่าตัวอภิชฌา นันทิ ราคะ
มันเป็นปลายเหตุแล้ว

ต้นเหตุมันอยู่ที่เราไม่รู้เท่าทัน
ความสบายของกาย
แล้วไปเสพความสบาย

เราก็ไปนั่งหลับตาเสพได้ลึก
ถ้าใครไปพูด ไปด่าให้ขัดเคืองปั๊บ พุ่งขึ้นเลย
ความไม่พอใจเกิดขึ้นทันที

เพราะเราเสพความสบายลึกเกินไป
พอมันตีกลับปั๊บ ไม่สบายใจ ฟุ้งซ่านเลย

เรานั่งหลับตาสงบอยู่ดีๆ ใครมาสะกิดเรา
“คุณมานั่งหลับตาทำไม คุณเสพติดความสงบแล้ว
ใช้ไม่ได้” ของขึ้นเลย ตีกลับไปอีกข้าง

การเสพมันมีผล ติดทางนี้ ตีกลับมาอีกทาง
มันเกินความพอดี ท่านบอกให้ละ
แต่ถ้าเรานั่งสงบสบาย
ใครจะมาว่าอะไรก็รู้ทัน ก็ใช้ได้

ดังนั้นเรื่องสงบ ไม่สงบ ไม่สำคัญ
สำคัญว่ารู้ทันหรือไม่
การที่จะรู้ทัน เอาอะไรมารู้ทัน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เราจึงมาพัฒนาสติสัมปชัญญะ
ให้รู้เท่าทันกายก่อน

ปัจจุบันนี้รู้เท่าทันเรื่องของกายทั้งหมดหรือยัง?
โยมทุกคนลุกขึ้น ลุกขึ้นพรวดเลย
แต่ก่อนที่จะลุกขึ้นยืนผ่านอะไรมาบ้าง
ไม่ได้ดูเลย
สติสัมปชัญญะมันขาดตั้งแต่นั้นแล้ว

เราก็เริ่มรู้สึกตัว แล้วก็ลุกขึ้น
หายใจเข้ารู้สึกชัดๆ

วิธีการหลวงพ่อเทียนบูรณาการทั้งหมด
ทั้งอานาปา อิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย
ธาตุสี่ อาการสามสิบสอง อสุภะ

ทั้งหกย่อให้เหลือสามความรู้สึก
สบาย ไม่สบาย เป็นกลาง

ทำความรู้สึกสามอย่างชัดๆ
โดยที่ไม่ไปเสพความสบาย
ไม่หนีความไม่สบาย
ไม่เพลินในความเป็นกลาง

สามอย่างนี้ปรับไปปรับมาอยู่เรื่อยๆ
เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ

ช่วงเช้านี้เราได้เรียนรู้เรื่องสัมมาทิฏฐิ
เพื่อให้เกิดดวงตาที่ใสสว่างก่อน

ไม่ใช่รอเวลาที่จะมานั่งสร้างจังหวะ
ตลอดเวลาปฏิบัติได้เลย
ลุกอย่างไร ยืนอย่างไร เดินอย่างไร เริ่มไปเลย

รู้ให้สบาย ไม่ต้องลุกหนอ ยืนหนอ เดินหนอ
ให้รู้เฉยๆ ว่ามันสบาย หรือไม่สบาย
ชัดหรือไม่ชัด เท่านั้นพอ

ถ้ามันไม่ชัด ช้าลงหน่อย
ถ้ามันชัด ค่อยๆ ปรับไป

การเคลื่อนการไหว ทำให้เป็นธรรมชาติ
แต่ให้ตามรู้ไปเรื่อยๆ

ไม่ต้องรู้เต็มที่ รู้ครึ่งๆ กลางๆ
รู้เต็มที่ มันก็ดับมากเกินไป เกินแล้ว

ถ้าไม่รู้เลย มันเกิดมากเกินไป ก็เกินอีกแล้ว
รู้แต่พอดีๆ เป็นมัชฌิมาปฏิปทา

รู้แบบสบายๆ โปร่งๆ เบาๆ
แต่อย่าไปเสพมันเท่านั้นเอง

ขออนุโมทนาสาธุกับความตั้งใ
ที่จะศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน อย่างสบาย สงบ
แล้วจะเกิดความสว่างขึ้นในใ
ด้วยกันทุกท่านเทอญ

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)