เวทนา สะพานเชื่อมกายและใจ

 

สะพานนี้ชื่อเวทนา

กายนอกคือธาตุ๔
กายในคือขันธ์๕
ในภาคปฏิบัติ
เราจะปฏิบัติกับกายใน คือขันธ์๕

รูปตัวต้นในขันธ์๕ เป็นได้ทั้ง ๒ รูป คือ
รูปในส่วนที่เป็นภายนอก
หรือมหาภูตรูป (ธาตุ๔)
และรูปที่เป็นภายใน เรียกว่าเวทนา
(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง)

เรารู้ว่าเรามีธาตุสี่
เพราะมีเวทนาเป็นตัวแสดง

แต่ถ้าเราไม่มีเวทนา เช่นคนตาย
มีรูปภายนอก แต่ไม่มีรูปภายใน
คือไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

เวทนาทางกายมี ๓ ระดับ คือ
รู้สึกสบาย ไม่สบาย และเฉยๆ คือยังไม่แน่

เวทนาทางจิตก็มี ๓ ระดับคือ
รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ แล้วก็เฉยๆ ไม่แน่

ความรู้สึกสบายทางกาย
นำไปสู่ความรู้สึกสบายทางจิ
เรียกว่าสุขเวทนา

ความรู้สึกไม่สบายทางกาย
นำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายทางจิต
เรียกว่าทุกขเวทนา

ความรู้สึกยังไม่แน่ทางกาย
ก็นำไปสู่ความรู้สึกยังไม่แน่ทางจิต
เรียกว่าอทุกขมสุขเวทนา

วิปัสสนาใช้ปรมัตถ์เป็นอารมณ์

ทีนี้ดูว่าตัวเวทนาที่เชื่อมรูปนามจะไปให้เกิดนามรูปอย่างไร ในปฏิจจสมุปบาททั้งสิบสองอย่างมีคำว่านามรูป แต่คำว่ารูปนามไม่มี อยากจะโยงให้เห็นว่าความเชื่อมระหว่างความรู้สึกตัวกับความคิดมันเชื่อมกันอย่างไร และความคิดก่อให้เกิดความรู้สึกตัวได้อย่างไร และความรู้สึกตัวก่อให้เกิดความคิดได้อย่างไร ความรู้สึกตัวที่เป็นเวทนาทางกายเรียกว่ารูปนาม เช่นเวลาเรานั่งนานๆ ถ้าหากว่าสติเราไม่เข้มแข็งพอ ความหนักความหน่วง ความปวดความเมื่อยที่ขาที่แขน ที่ข้อต่างๆ ทุกขเวทนาทางกายนั้นย่อมไหลซึมสู่จิต รู้สึกหงุดหงิด รำคาญ เบื่อ ซึม เซ็ง แล้วก็ปรุงแต่งอะไรต่ออะไร ก่อให้เกิดนามรูปแล้ว เพราะฉะนั้น รูปนาม คือความรู้สึกตัว มันจะแปรเป็นความคิดได้ต่อเมื่อเราขาดสติในการกำหนดรู้เวทนาอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น การเจริญสติหรือความรู้สึกตัวนี้ เราจึงเอาตัวเวทนาเป็นอารมณ์ จึงจะเป็นวิปัสสนา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สมถะใช้รูปเป็นอารมณ์

แต่ถ้าเราเอารูปเป็นอารมณ์ เวลาเรานั่งนานๆ แล้วไปกำหนดรูปว่า ปวดหนอๆ มันไม่หายปวด เพราะว่าอาการปวดเป็นรูป เหมือนคนภาวนาว่าปวดหนอๆ แล้วให้อาการปวดนั้นหายไปอย่างที่เราต้องการ เป็นไปไม่ได้ บางคนก็นั่งจนหายปวดเลย แล้วคิดว่าอาการปวดที่หายไปเป็นการกระทำของสติสัมปชัญญะ อันนี้ยังไม่ชัดเจน ถ้าเป็นสติสัมปชัญญะจริง ถ้าเรามีสติเข้มๆ เวลามันปวดหนักๆ พอเรากำหนดปุ๊บมันก็ไม่หายทันที เป็นบางช่วงเท่านั้นที่เรานั่งไปนานๆแล้วมันเบาสบาย ตัวนั้นเขาบอกว่าเมื่อร่างกายมีความตั้งมั่นระดับหนึ่งแล้ว จิตเป็นสมาธิ สารชนิดหนึ่งหลั่งเรียกว่าสารเอนโดรฟิน ที่มีฤทธิ์เหมือนมอร์ฟีนในร่างกายโดยธรรมชาติ พอหลั่งปั๊บก็ทำให้อาการปวดที่หนึบหนับจับแข้งขาเราอยู่นี่มันสลายตัวไปด้วยอำนาจของสารเอนโดรฟิน ไม่ใช่เป็นเนื่องมาจากสภาวธรรม เพราะมันยังเป็นเรื่องของรูปอยู่ เพราะฉะนั้นเราสามารถอ้างอิงหลักทางการแพทย์ที่ว่าสารเอนโดรฟินหลั่งมาจากสภาวะจิตที่เป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้อาการปวดนั้นหายไป

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

มีสติกำกับกายใจ ไม่ต้องใช้สารเอนโดรฟิน

เราจะนั่งทรมานจนมันปวดถึงสิบห้านาทีหรือครึ่งชั่วโมงแล้วค่อยเปลี่ยน หรือพอรู้สึกหนักๆ หน่อยเราเปลี่ยน โดยที่ไม่ต้องรอสารเอนโดรฟิน รอสติอย่างเดียว เพราะฉะนั้นสตินั้นวิเศษกว่าสารเอนโดรฟิน การที่ทรมานร่างกายให้หนักๆ หน่วงๆ มากๆ นานๆ ถือว่าเป็นการเบียดเบียนตัวเอง เราควรจะทนเท่าที่ทนได้ เมื่อทนไม่ได้ก็กำหนดรู้แล้วค่อยเปลี่ยนไป บางคนนั่งให้นาน นั่งให้ทะลุกันไปเลย อาตมาเคยนั่งปฏิบัติแบบหนอ นั่งแข่งกัน บางคนชั่วโมงค่อยเปลี่ยน บางคนสองชั่วโมงสามชั่วโมงค่อยเปลี่ยน แข็งทื่อเลยทีนี้ เข้าสงบไปเลย เป็นการเบียดเบียนตัวเองอย่างที่สุด แต่มันเป็นผลดีสำหรับคนที่ฝึกสมถะ ฝึกให้จิตมีพลังเข้มแข็งเท่านั้นเอง แต่ก็ทำให้เกิดอัตตาตัวตน และอุปาทานขึ้นมา ในการยึดว่าความสงบเป็นตัวตน ความสงบเป็นปรมัตถ์ เป็นอนัตตา

 

เปลี่ยนแบบไหนให้มีปัญญา

เพราะฉะนั้นความรู้สึกตัวมันไปเป็นความคิดได้ต่อเมื่อเราไม่ทันเวทนา เวทนาละเอียดคือความสบาย เวทนาระดับกลางคือเราพอทนได้ แต่เวทนาระดับหยาบคือเจ็บมากๆ ถ้าหากว่าเรายังไม่ทันจุดนั้นก็หมายความว่าสติเรายังไม่มีเลย บางทีนั่งเจริญสติไปมันเพลิน ปวดเท่าไรก็ไม่เปลี่ยน จนกระทั่งว่าความปวดนั้นหายไปเพราะร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟินออกมาช่วย แต่สารเอนโดรฟินในร่างกายของเรามันมีจำกัด ถ้ามันหลั่งบ่อยๆ อาการปวดมันก็จะทำร้ายร่างกายเราได้ ดังนั้นไม่ต้องอาศัยการทำงานของรูป มันจะทำให้รูปนี้ผิดปกติไป แต่อาศัยการทำงานของสติ สมาธิ ปัญญา ทนได้แค่ไหนก็เปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนอย่างไรให้มันเป็นตัววิปัสสนา เปลี่ยนอย่างไรที่จะไม่ให้มันเป็นตัวอวิชชา ไม่ใช่ปุ๊บปั๊บ ถ้าปุ๊บปั๊บเปลี่ยนโดยสัญชาตญาณเป็นอวิชชา ถ้าก่อนที่จะเปลี่ยนมีการต่อรอง ขณะนี้ฉันยังทนได้อยู่นะ หรือมันยังไม่จัด ฉันขยับให้นิดนึง พอผ่านไปนั่งต่อได้อีก ไม่จำเป็นต้องพลิกทั้งหมด ขยับหลายครั้งๆแล้วรู้สึกว่าร่างกายมันทนไม่ไหว แล้วค่อยพลิกทั้งหมดอย่างรู้สึกตัว ลักษณะนี้เรียกว่าเปลี่ยนทุกขเวทนาให้เป็นปัญญาหรือเป็นวิปัสสนา แต่ส่วนใหญ่เราเปลี่ยนด้วยอำนาจของสัญชาตญาณ เพราะว่าไม่สบายฉันก็เปลี่ยนเท่านั้นเอง

เกิดอัตตาตัวตนเพราะทนปวด

ในแง่ของวิปัสสนาต้องละเอียดมากๆเลย ดังนั้นถ้าหากว่าเราเอาทุกขเวทนามาบังคับกายมาเผากาย เพราะเวทนาเหมือนไฟ ถ้าเอาเวทนามาเผากายบ่อยๆโดยที่เราไม่เอาน้ำคือสติสัมปชัญญะเข้าไปรดเสียบ้าง มันทำให้ร่างกายนี้พิกลพิการได้ในระยะยาว เราจะเห็นนักภาวนาทั้งหลาย เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นโรคความดัน เป็นโรคนั้นโรคนี้ เพราะมันปนกันระหว่างสัญชาตญาณกับปัญญาญาณ ถ้าหากว่าเจ็บป่วยบ่อย เจ็บป่วยมากแสดงว่าอยู่กับสัญชาตญาณมากกว่า เพราะคำว่าสัญชาตญาณไม่มีสติเหลือยู่เลยในตรงนั้น แต่มีมานะ มีอัตตา มีความทิฐิ อวดดื้อถือดี รั้น ฉันจะทำของฉันอย่างนี้ ฉันจะนั่งสักสามชั่วโมง ลองดูว่าเป็นยังไง อะไรจะเกิดขึ้น เสร็จแล้วกายมันไม่เห็นด้วยกับเรา พอมันทุกข์ทรมาน แสบ ปวดมากๆเลย แต่ฉันทนได้ อันนั้นหมายถึงตัวอะไร ที่ว่าฉันจะสู้ อันนั้นเป็นอำนาจของตัณหาอุปาทานแล้ว คือการเบียดเบียนตัวเอง ซึ่งอาตมาก็เคยทำนะเรื่องนี้จะพูดได้ก็ต้องมีประสบการณ์มาก่อน อาตมาเคยนั่งได้ตั้งแต่สิบโมงไปถึงห้าโมงเย็น ไม่เปลี่ยนเลยนะ โอ้โหทำได้ยังไง รู้สึกเราทำร้ายตัวเองมากๆเลยนะ แต่สมัยนั้นเรายังไม่รู้ เราก็ทำ แต่ก็ภูมิใจนะ ฉันนั่งอย่างเดียวห้าชั่วโมง ใครทำได้อย่างฉันบ้าง อัตตาตัวตนเกิดแล้ว แทนที่จะแสดงถึงความสามารถของเรา ในแง่ของวิปัสสนา กลับแสดงถึงมานะอัตตาและความเขลา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เวทนาเป็นตัวเชื่อม
ระหว่างรูปกับนามในขันธ์ห้า
ในส่วนนามก็คือสัญญา สังขาร วิญญาณ

เวทนาจึงมี ๒ แบบ คือ
เวทนาทางกาย และเวทนาทางจิต

เวทนาทางกายมี ๓ ระดับ คือ
รู้สึกสบาย ไม่สบาย และเฉยๆ (ยังไม่แน่)

เวทนาทางจิตก็มี ๓ ระดับ คือ
รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ แล้วก็เฉยๆ (ยังไม่แน่)

ความรู้สึกสบายทางกาย
นำไปสู่ความรู้สึกสบายทางจิ
เรียกว่า สุขเวทนา

ความรู้สึกไม่สบายทางกาย
นำไปสู่ความรู้สึกไม่สบายทางจิต
เรียกว่า ทุกขเวทนา

ความรู้สึกยังไม่แน่ทางกาย
นำไปสู่ความรู้สึกยังไม่แน่ทางจิต
เรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

อทุกขมสุขเวทนาที่ถูกละเลย

เมื่อเราบำบัดอาการสบาย ไม่สบาย
จนรู้สึกเบาบางไปหมด
เราสังเกตว่า
เรานั่งปฏิบัติไปนานๆ
ความรู้สึกมันพอดี นั่งได้นานแล้ว

ทีนี้เราก็แช่ความรู้สึกที่มันเฉยๆ
แต่ไม่ได้ศึกษาดูว่าความรู้สึกเฉยๆ
ที่มันไม่สุขไม่ทุกข์
มันเป็นอะไรกันแน่
ไม่ได้เข้าไปพิจารณาเอาใจใส
ดูให้มันชัดๆ เข้าไปแช่
ก็เป็นอทุกขมสุขเวทนา

ตัวนี้ก็พัฒนาเป็นโมหะ หลง
อวิชชา ตัณหา

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)

เวทนาปริคคหสูตร

2 thoughts on “เวทนา สะพานเชื่อมกายและใจ

Comments are closed.