โมหะ หมอกควันจิต

รู้ไม่ชัดเป็นโมหะ

จิตไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ สังเกตง่าย
จิตไม่มีโมหะ สังเกตได้ยากกว่า

ลักษณะโมหะเป็นอย่างไร?

คิดแต่ไม่รู้ว่าคิด
เราเข้าไปในความคิด เป็นโมหะ

เวลานอนหลับอยู่แล้วฝันเราจะไม่รู้
พอตื่นมาแล้วถึงได้รู้ว่าฝั
แต่ถ้าขณะที่ฝันแล้วรู้ว่าฝัน
เราจะรู้สึกตื่นขึ้นมาทันที
บางทีฝันร้าย ก็ตกใจตื่นขึ้นมา

ถ้าเราชอบ ไม่รู้ว่าชอบ เป็นโมหะ
เราไม่ชอบ ไม่รู้ว่าไม่ชอบ เป็นโมหะ
เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น
ในกายในใจของเรา

ขณะนี้เรานั่ง
อาการหนักปรากฏในส่วนไหนบ้า
เรารู้ชัดไหม

รู้ชัดเป็นโลกุตตรปัญญา
รู้ชัดน้อยก็เป็นน้อย
รู้ชัดมากก็เป็นมาก

ถ้ารู้แบบเผินๆ เริ่มเป็นโมหะแล้ว
หรือไม่รู้เลย
รู้แต่มือ แต่ไม่รู้ที่ขากำลังปวด
อันนี้ก็เป็นโมหะน้อยหน่อย

ถ้าหากเรารู้เราก็เปลี่ยนไป
ถ้าเห็นอาการทั้งหมด โมหะก็จะหมด
เป็นโลกุตตรปัญญา

มันสลับกันอยู่อย่างนี้
ตามเปอร์เซ็นต์ของมัน
ถ้ารู้ชัดมาก เปอร์เซ็นต์รู้ก็สูง
ถ้ารู้ชัดน้อย คลุมเครือ เปอร์เซ็นต์รู้ก็ต่ำ
อันนี้เป็นความแตกต่างของแต่ละคน

จิตตานุปัสสนาต้องรู้เวทนาชัด

เรื่องของจิตแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม
๑. จิตที่มีกุศล
๒. จิตที่มีอกุศล
๓. จิตที่รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ มีแต่ภาชนะเปล่าๆ ไม่มีอะไร

จิตที่มีกุศล เป็นจิตที่ไม่มีราคะ
ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ

บางครั้งมันไม่มีราคะ โทสะ โมหะ
แต่เราไม่รู้
มันจึงไม่เป็นจิตตานุปัสสนา

ความชอบก็ไม่มี ความไม่ชอบก็ไม่มี
แต่เราไม่รู้มัน
ตัวไม่เข้าไปรู้นี่เอง คือตัวโมหะ

ถ้าเราเข้าไปรู้ว่า
ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มี
เห็นจิตเกลี้ยงเกลา โล่ง โปร่ง เบา สบาย
มีแต่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อ
ขณะนั้นเป็น โลกุตตรปัญญา

ต้องรู้ให้ทันไม่สุขไม่ทุกข์

พระพุทธเจ้าตรัสรู้มี ๓ ญาณ
ญาณหนึ่งคือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ
ทรงระลึกได้ว่ารูปนามนี้เคยเป็นอะไรมาก่อน

มันเกิดมานับชาติไม่ถ้วน
บางชาติเกิดในนรก บางชาติเป็นเปรต
บางชาติเป็นอสูรกาย บางชาติเป็นเดรัจฉาน
บางชาติเกิดเป็นมนุษย์ บางชาติเกิดเป็นเทวดา
บางชาติเกิดเป็นอินทร์เป็นพรหม
บางชาติเกิดเป็นสัตว์ในสวรรค์มากมาย
ท่านเห็นมาตลอด

แต่มันไกลเกินไป ถ้าจะบอกว่า
บางครั้งมันก็สุข บางครั้งมันก็ทุกข์
บางครั้งก็ทุกข์มาก บางครั้งก็ทุกข์น้อย
บางครั้งก็สุขมาก บางครั้งก็สุขน้อย
อย่างนี้สัมผัสได้เป็นปัจจุบันได้มากกว่า
เพราะมันเป็นของจริง

บางครั้งไม่สุขไม่ทุกข์มีแต่เราไม่รู้
ถ้าเรารู้ทุกครั้งที่ไม่สุขไม่ทุกข์
เราก็จะกลายเป็นอาริยะ
ถ้าเราไม่รู้ กลายเป็นโมหะ

มีก็ไม่รู้ ไม่มีก็ไม่รู้

เรามัวแต่ไปนั่งง่วงบ้าง
นั่งคิดบ้าง
นั่งตรินั่นตรองนี้บ้าง
แทนที่จะมารู้ชัดๆ
ตั้งแต่หัวจรดเท้า
เรากลับไม่รู้

บางคนนั่งยกมือไป ๑๐ นาที
ก็คิด ๑๐ นาที
บางคนรู้ ๕ นาที ไม่รู้ ๕ นาที
อยู่ที่คุณภาพของตัวรู้

จิตตานุปัสสนา
กลุ่มที่เป็นอกุศล
มีราคะ โทสะ โมหะ ฟุ้งซ่าน
หดหู่ ไม่ตั้งมั่น
จิตไม่ได้อารมณ์

กลุ่มที่เป็นกุศล ไม่มีราคะ
ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ
ไม่มีจิตอื่นมาครอบงำ
ได้อารมณ์ตั้งมั่น
หลุดจากอารมณ์นั้นๆ ได้

ส่วนที่ไม่เข้าไปรู้
มีก็ไม่รู้ ไม่มีก็ไม่รู้
ตัวนี้เป็นโมหะ
เป็นอกุศลเช่นเดียวกัน

อนิจจังกลายเป็นสุขขัง

ถ้าเราไม่มีสัมปชาโนสติมา
มีแต่ความเผลอ ความเพลิน ความชอบ
ความอยาก เข้ามาแทน

ถ้าเราเห็นรูปสวยๆ ก็อยากจะดูอีก
ได้ยินเสียงเพราะๆ ก็อยากจะฟังอีก
ได้กลิ่นหอมๆ ก็อยากจะดมอีก
รสอร่อยๆ ก็อยากจะกินให้มากขึ้น
สัมผัสนิ่มนวลชวนสบาย
ก็อยากจะแนบอยู่นานๆ
อารมณ์ดี ก็อยากให้มีอย่างนี้ตลอด
ใครมาพูดขัดใจไม่ได้

ถ้าเป็นอย่างนี้ อนิจจังกลายเป็นสุขขัง
สุขขังที่ไม่ได้ถูกตามรู้ชั
ก็กลายเป็นอวิชชา
ตัวเพ่งหาเหยื่อ

หาเหยื่อเจอแล้วกลายเป็นนันทิ
เข้าไปเพลินกับมัน
นันทิกลายเป็นราคะ
ยาวเลยทีนี้

ราคะกลายเป็นกามฉันทะ (นิวรณ์)
สติตามรู้ไม่ทันอีก
กลายเป็นกามตัณหา

กามตัณหา กลายเป็นโลภะ
ตามรู้ไม่ทัน กลายเป็นโลภานุสัย
กลายเป็นกามุปาทาน

ต่อมาเป็นกามาสวะ
มันแตกรากเป็นภพชาติ
เวียนว่ายตายเกิด
เดี๋ยวไปสวรรค์ เดี๋ยวลงนรก

รู้อทุกขมสุขเวทนา อย่างละเอียด

“สามิสัง วา อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
สามิสัง อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ
นิรามิสัง วา อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน
นิรามิสัง อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ”

“เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา มีอามิสอยู่
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา มีอามิสอยู่
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ไม่มีอามิสอยู่
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา ไม่มีอามิสอยู่”

บางครั้งความสบายก็ไม่มี
ความไม่สบายก็ไม่มี
มันเฉยๆ จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่ สุขก็ไม่เชิง
เวทนามันเบามาก
เบาจนสัมผัสไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์
ก็ให้รู้ชัดๆ ว่าขณะนี้ สุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่เชิง
มันมีอยู่ ก็ให้รู้
ภาวะที่สุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่เชิง
เราเรียกว่า เฉยๆ ซื่อๆ
มันมีอยู่ก็ให้รู้ให้ชัด

ความรู้สึกเฉยๆ ที่มันเกิดเพราะได้เห็น
ได้สัมผัส ได้ยิน ได้ฟัง ได้ลิ้มรส ได้อารมณ์
ก็ให้รู้ชัดๆ
แต่บางครั้งไม่ต้องมีสิ่งใดมากระตุ้น
มันก็เฉยๆ ของมันเอง
ก็ให้รู้ชัดๆ

สุขล้นจนหลงลึก

การบำรุงบำเรอด้วยความสุข
เช่น กินอาหาร แต่งหน้า แต่งตัว
เป็นเหตุใกล้ให้ขาดสติ

บางคนปฏิบัติวิปัสสนามานาน
ยังแต่งตัวพริ้งอยู่เลย
พอมีปัญหากระทบ
ก็หน้าเบี้ยวหน้าบูดเหมือนเดิม

ความรู้สึกตัวที่เกิดจากความหลง
จะทำได้ยากมาก
เพราะทำด้วยโมหะ
แต่ก็ตามรู้ทีหลังได้
แล้วค่อยลดละ

ความรู้สึกตัวที่เกิดจาก
การบำบัดทุกขเวทนาจะทำได้ง่าย
เช่น นั่งนานแล้วปวดก็ปรับ

ทุกข์จึงเป็นพลังงานอย่างหนึ่ง
ที่เราควรจะขอบคุณมัน
แต่ส่วนใหญ่เรากลัว หนี ไม่สู้
มันก็จะกลายเป็นสมุทัยทันที

ในการศึกษาเวทนา
จำเป็นต้องละเอียด
เพราะมันเกิดตลอดเวลา
เราก็ต้องบำบัดตลอดเวลา

คนที่เข้าใจวิปัสสนา
จะสามารถเปลี่ยน
ความแปรปรวนของทุกข์
ให้เป็นแสงสว่างได้เลย

พระพุทธยานันทภิกขุ

………………

พุทธะคือจิตที่สะอาด สว่า่ง สงบ

เราทุกคนไม่มีใครที่จะโกรธตลอด ๒๔ ชั่วโมง

ไม่มีใครที่จะโลภตลอด ๒๔ ชั่วโมง

เพียงเพราะโมหะเท่านั้น

ที่ทำให้เราไม่รู้

หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ