ได้ผลไว เพราะใส่ใจปฏิบัติตาม

บริหารเวทนา พาพ้นทุกข์

สติระดับที่หนึ่ง
ดูร่างกายในส่วนใหญ่เห็นได้ชัด
คือการสร้างจังหวะให้เป็นจังหวะ
ถ้าเราง่วง เราจะยกมือช้าๆไม่ได้
มันยิ่งง่วงหนักเข้าไปอีก
ก็ต้องยกมือไวๆ ก็แก้ปัญหาไป
 
ก่อนที่จะเปลี่ยนท่านั่ง
คอยดูว่าตัวความรู้สึกตัว
มันไต่ระดับเข้มข้นอย่างไร
 
และก่อนที่จะเปลี่ยนไปท่าใหม่
คอยดูว่าระดับความเข้มของความรู้สึก
จะเปลี่ยนมาระดับปกติอย่างไร
ไม่ใช่ปุ๊บปั๊บเปลี่ยน
 
รอบของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ก็หมุนไปตามรอบของมัน
 
เราเคยบำบัดแบบสัญชาตญาณ
แต่พอเรามีสติในการกำหนดรู้
ช่วยมันเปลี่ยน
 
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ที่เราไม่มีสติ
ก็กลายมาป็น สติ สมาธิ ปัญญา
 
ตรงนี้สำคัญที่ว่า
แทนที่จะให้ทุกขเวทนาบังคับเรา
ให้เราเปลี่ยนตามสัญชาตญาณ
 
แต่พอเรามีสติคอยระลึกรู้
เข้าไปลำดับการเคลื่อนไหว
ให้เห็นทุกขเวทนาที่มันสลายไป
 
และเวลาเปลี่ยนไปท่าใหม่
ให้เห็นทุกขเวทนา
ที่มันเพิ่มขึ้นจากปกติที่พอทนได้
จนกระทั่งทนไม่ได้
 
พอหยาบจนทนไม่ได้
คิดจะปลี่ยนใหม่ก็ให้รู้
 
พอจะเปลี่ยนไปปั๊บ
เริ่มยกขาไหน ยกท่าไหน
 
พอยกแล้ว ความรู้สึกที่มันเข้มๆ
มันหายไปอย่างไร
จนดับมาสู่ปกติ
 
ดูความรู้สึกขึ้นลงแบบนี้
เรียกว่าการบริหารเวทนา

ศรัทธาไม่เพียงพอ ก็ไม่ปฏิบัติตาม

อันดับแรกบริหารการเคลื่อนไหว
ยืน เดิน นั่ง
ในแต่ละท่าก็มีรายละเอียด
 
ทุกขเวทนามันเข้มข้นขึ้นไป
มันลดลงมาปกติ
เราก็มาดูการเข้มของเวทนา
ขึ้นลงอย่างนี้
อันนี้คือการดูความรู้สึกตัว
ในขั้นละเอียด
 
ต้องดูในระดับนี้
ในส่วนที่เป็นกาย
 
แต่ว่ารู้สึกตัวอย่างเดียว
รู้ก็เปลี่ยน รู้ก็เปลี่ยน
มันรู้แต่ว่ามันไม่ลึก มันไม่ละเอียด
ความหนักแน่นก็ไม่มี
ความรู้สึกตัวที่ชัดๆไม่พอ
 
อาตมาสังเกตเห็นว่า
ถ้าคนไหนทำตามจะไปได้ไว
 
แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่กับความเคยชิน
ศรัทธาไม่เพียงพอ
ไม่มีศรัทธาที่จะทำตาม
ความเพียรไม่เพียงพอ
มันก็อยู่ในระดับเดียว จังหวะเดียว
 
เกียร์รถมีถึง ๔-๕ จังหวะ
มันถึงจะไปได้
เหมือนการปฏิบัติ
มันก็ต้องมีหลายจังหวะ
จังหวะหนักเบา เร็วช้า
ก้าวหน้า ถอยหลัง

ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่

ให้มารู้สึกตัวอยู่กับปัจจุบัน
อย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่

ไม่ได้หมายความว่า
เราจะต้องเดินจงกรม
สร้างจังหวะทั้งวัน

รู้สึกตัวเป็นลูกโซ่
หมายถึงรู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน
กำลังทำอะไร

รู้ว่ากำลังจะลุก กำลังจะเดิน
ขณะเดินรู้ ขณะกินรู้
ขณะล้างถ้วยล้างชามรู้
รู้ไปตลอด
อย่างนี้เรียกว่ารู้ตัวเป็นลูกโซ่

แต่ส่วนใหญ่มานั่งสร้างจังหวะ
เดินจงกรม พอลุกไป
คิดต่อเลย มันขาดทันที

รู้ลำดับของทุกขเวทนา

เมื่อความมั่นใจ
ในความรู้สึกตัวมากขึ้น
เราก็เริ่มลงลึกในรายละเอียด
 
ไม่ใช่ไปนั่งคิดนึกวิเคราะห์วิจัย
แต่ลำดับการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ของกายของเวทนาให้ชัด
 
เช่น เรานั่งมานานรู้สึกขัดที่เอว
ก็ให้ระลึกรู้
 
แต่ถ้าเราขาดสติสัมปชัญญะ
เราก็ไปแช่อยู่อย่างนั้นนั่นแหละ
จนกระทั่งมันเป็นเหน็บ
พอหมดเวลาก็ลุกไม่ได้
ขาติดหนับเลย
 
มันเกิดเมื่อไหร่ทำไมไม่รู้
เพราะสติสัมปชัญญะไม่มี
 
บางคนปวดก็ทนเอา
ถือว่าเป็นขันติความอดทน
มันไม่ใช่
 
มันเป็นการเบียดเบียนตนเอง
ทำให้ตัวเองลำบาก

ปลูกต้นธรรม ต้องมีดินน้ำรูปนาม

อาตมาเคยอ่านหนังสือธรรมะลึกๆ
อาจารย์ดังๆ แต่การลุกนั่งย่างเดิน
เราไม่เห็นตัวเองเลย
แล้วธรรมะจะลงได้อย่างไร
เพราะรูปนามยังไม่มีเลย
สิ่งที่ครูบาอาจารย์สอนไว้
มันเป็นปรมัตถ์
เนื้อหาสาระที่เราไปอ่าน
เป็นปรมัตถ์ทั้งนั้น
แต่รูปนามของเรายังไม่รู้ชัดเลย
 
เราเอาปรมัตถ์ไปลงตรงไหน
เหมือนเราจะปลูกต้นไม้
ไม่มีดิน ไม่มีน้ำเลย
เราจะปลูกตรงไหน

โยนิโสมนสิการ รู้ลำดับกาย เวทนา

เรื่องของการปฏิบัติ
ต้องพยายามทบทวน
อย่ากลัวว่าจะเสียเวลา
 
รูปนามฉันรู้มานานแล้ว
มันรู้แบบเผินๆ
ไม่ได้รู้แบบละเอียดลึกลงไป
 
ดังนั้นการลุก การนั่ง การย่าง การเดิน
การปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวแต่ละขณะ
มีความสำคัญมาก
 
ถ้าคนไหนมีความแยบคาย
มีความละเอียด
เรียกว่าทำในส่วนของตัวเอง ๕๐ เปอร์เซ็นต์
มีความแยบคาย
 
ให้จำไว้ว่า ความแยบคาย
ไม่ได้หมายถึงการนึกการคิด
การปรุงการแต่ง การวิเคราะห์วิจัย
 
แต่หมายถึงการลำดับความเคลื่อนไหว
ของกายได้ละเอียด
ลำดับการเคลื่อนไหว ความเข้ม ความจาง
ของเวทนาได้ชัด
ตรงนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการ

บริหารท่านั่ง

อิริยาบถที่เราควรใช้มากที่สุด
คืออิริยาบถนั่ง
อาตมาเข้าใจการเปลี่ยนอิริยาบถ
เป็นลำดับอย่างนี้
 
สมัยเก็บอารมณ์กับหลวงพ่อเทียน
ทำไป ๕-๖ วันแล้ว
จิตใจมันยังกระสับกระส่ายอยู่
เราก็เลยมาตั้งต้นในแต่ละท่า
 
๑. เริ่มตั้งแต่นั่งพับเพียบด้านซ้าย
๒. นั่งพับเพียบด้านขวา
๓. นั่งขัดสมาธิชั้นเดียว
๔. นั่งขัดสมาธิสองชั้น
๕. นั่งขัดสมาธิสามชั้น
๖. นั่งทับส้น
๗. นั่งคุกเข่า
๘. นั่งชันเข่า
๙. นั่งเหยียดขา
๑๐. นั่งเก้าอี้
 
เราบริหารการนั่งแบบนี้
ปรากฏว่าจิตมันก็นิ่ง
เพราะเราคอยกำหนดรู้อยู่ว่า
ก่อนที่จะเปลี่ยนท่านั่งแต่ละท่า
คอยดูว่าตัวความรู้สึกตัว
มันไต่ระดับเข้มข้นขึ้นอย่างไร
 
และก่อนที่จะเปลี่ยนไปสู่ท่าใหม่
คอยรู้ความเข้มของสติ
ที่จะเปลี่ยนมาเป็นระดับปกติ
มันเปลี่ยนมาอย่างไร
 
ไม่ใช่ปุ๊บปั๊บเปลี่ยน
พอเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแข้งขาสบาย
แต่หลังชักขัด
 
ก็เปลี่ยนอิริยาบถใหม่มาเป็นท่ายืน
ยืนไปสักพักมันเริ่มตึงที่ขา
ก็ก้าวหน้าทีหลังที

ดวงตาธรรมเกิดขึ้นได้ จากการเปลี่ยนอิริยาบถ

 

การเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ
เพื่อบำบัดความไม่สบาย
เหล่านั้นๆ ออกไป
 
แต่ทำไปตามความเคยชิน
เรียกว่าเราทำไปตามความรู้สึก
ของสัญชาตญาณ
 
แม้เราจะรู้ว่ามันเป็นกฎ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ดีขนาดไหน ปัญญาก็ไม่เกิด
 
เพราะรู้ด้วยความจำ
ไม่ได้รู้ด้วยความเห็นแจ้ง
ในอาการเกิดของมัน
 
ต่อเมื่อเกิดศรัทธาและความเพียร
เข้ามาเจริญสติปัญญา
ด้วยการตามเห็นตามรู้
การเปลี่ยนแปลง
 
หรือเห็นการทำงาน
ของกฎไตรลักษณ์
อย่างละเอียดทุกขั้นตอน
 
และเห็นมันอย่างต่อเนื่องและเข้าใจ
สติ สมาธิ ปัญญาก็เริ่มทำงาน
ปัญญาญาณก็เข้ามาทำงาน
แทนสัญชาตญาณ
 
การทำงานของสติ สมาธิ ปัญญา แบบนี้
เรียกว่าดวงตาธรรมเริ่มเกิดแล้ว
 
แล้วฝึกฝนการตามรู้ตามเห็น
อย่างนี้ไปเรื่อยๆ
วิปัสสนาญาณก็เริ่มเข้มแข็ง
แก่กล้าไปเรื่อยๆ

รู้ความเข้มจางระหว่างเปลี่ยนอิริยาบถ

อิริยาบถที่เราควรใช้มากที่สุด
คืออิริยาบถนั่ง
อาตมาเข้าใจการเปลี่ยนอิริยาบถ
เป็นลำดับอย่างนี้

สมัยเก็บอารมณ์กับหลวงพ่อเทียน
ทำไป ๕-๖ วันแล้ว
จิตใจมันยังกระสับกระส่ายอยู่
เราก็เลยมาตั้งต้นในแต่ละท่
๑. เริ่มตั้งแต่นั่งพับเพียบด้านซ้าย
๒. นั่งพับเพียบด้านขวา
๓. นั่งขัดสมาธิชั้นเดียว
๔. นั่งขัดสมาธิสองชั้น
๕. นั่งขัดสมาธิสามชั้น
๖. นั่งทับส้น
๗. นั่งคุกเข่า
๘. นั่งชันเข่า
๙. นั่งเหยียดขา
๑๐. นั่งเก้าอี้เราบริหารการนั่งแบบนี้
ปรากฏว่าจิตมันก็นิ่ง
เพราะเราคอยกำหนดรู้อยู่ว่า
ก่อนที่จะเปลี่ยนท่านั่งแต่ละท่า
คอยดูว่าตัวความรู้สึกตัว
มันไต่ระดับเข้มข้นขึ้นอย่างไร

และก่อนที่จะเปลี่ยนไปสู่ท่าใหม่
คอยรู้ความเข้มของสติ
ที่จะเปลี่ยนมาเป็นระดับปกต
มันเปลี่ยนมาอย่างไร

ไม่ใช่ปุ๊บปั๊บเปลี่ยน
พอเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแข้งขาสบาย
แต่หลังชักขัด

ก็เปลี่ยนอิริยาบถใหม่มาเป็นท่ายืน
ยืนไปสักพักมันเริ่มตึงที่ข
ก็ก้าวหน้าทีหลังที

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
Fb: พลิกใจให้ตื่นรู้, พระพุทธยานันทภิกขุ,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม

พระพุทธยานันทภิกขุ

 

One thought on “ได้ผลไว เพราะใส่ใจปฏิบัติตาม

Comments are closed.