ถอดธรรมบรรยายประกอบภาพและเสียง “นวัตกรรมแห่งสติ๓๔” เรื่อง “ไตรกิเลส”

ถอดธรรมบรรยาย “นวัตกรรมแห่งสติ๓๔” ณ วัดพระธาตุแสงเทียน (เช้า ๒๑ ก.ค.๖๐) พระธรรมเทศนาโดย หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท
เรื่อง ไตรกิเลส

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

ยิ่งใกล้ยิ่งลืม

เรามักจะลืมนึกถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
กายกับใจอยู่ใกล้ตัวมากจนเราลืมนึกถึง
เพราะความเคยชินหรืออวิชชามาบดบัง
เรื่องภายนอกที่เราหลงลืมหรือลืมนึกถึงไม่ใช่อวิชชา
เป็นเพียงสัญญาอนิจจา เป็นเรื่องของไตรลักษณ์
เรื่องร่างกาย ความจำ สมอง เป็นกฎไตรลักษณ์
ความผิดพลาดที่เกิดทางร่างกาย
โดยเกิดจากความผิดพลาดทางสัญญา
เป็นกฎของไตรลักษณ์ ไมใช่กฎของสมุทัย
จิตของเราถ้ามันลืมอะไรบางอย่าง
เช่น ถ้าเราทุกข์ไปตั้งนาน เพิ่งนึกได้
ทุกข์ทางกายเป็นกฎไตรลักษณ์โดยธรรมชาติ
ไม่ใช่สมุทัย
ทุกข์ที่เกิดจากความไม่สบายใจเป็นสมุทัย หรือไตรกิเลส
ไตรกิเลสคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
ถ้าเข้าใจกฎทั้งสองอย่างนี้ก็จะไม่สับสน
เวลาเราป่วยเรามักนึกถึงว่าทำไมธรรมะไม่ช่วยเรา
อันนี้สับสนแล้ว
ถ้าเกิดความเศร้าหมองทางด้านจิตใจ
เรานึกตำหนิกาย ก็สับสน
ที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องของใครของมัน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

รู้ทันความพอใจเป็นสติ

เรื่องร่างกายก็เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
เรื่องจิตใจก็เป็นไปตามกฎของไตรสิกขา และไตรกิเลส
ก่อนที่ไตรลักษณ์จะเปลี่ยนเป็นไตรสิกขา
ต้องผ่านมาที่ไตรกิเลสก่อน
ถ้าเราไม่ทันความเปลี่ยนแปลง แปรปรวน แตกดับ
มันก็ต้องเป็นไตรกิเลส
ถ้าเรารู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง แปรปรวน แตกดับ
ก็เป็นไตรสิกขา
ความไม่รู้เท่าทันทางกาย นำไปสู่ความไม่รู้ทันทางจิต
ความรู้เท่าทันทางกาย นำไปสู่ความรู้เท่าทันทางจิต
ที่พยายามเน้นเรื่องนี้เพราะมันเป็นเรื่องหลัก
เรื่องหลักทางด้านจิตใจมีแค่สามเรื่องคือ
ความพอใจ ความไม่พอใจ และความไม่รู้ใจ
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต้องผ่านสามเรื่องนี้
ถ้ามีสติปัญญาที่เราฝึกฝน ก็จะรู้ทันความพอใจ
รู้ทันความพอใจเป็นสติ
รู้ทันความไม่พอใจเป็นสมาธิ
รู้ทันความไม่รู้ใจกลายเป็นปัญญา

รู้ทันความสบายกายเป็นสติ

ในชีวิตประจำวันเราก็มุ่งเน้นเรื่องหลักสามเรื่องนี้
คือความพอใจ ความไม่พอใจ และความไม่รู้ใจ
ร่างกายก็มีสามเรื่องเหมือนกันคือ
สบาย ไม่สบาย และไม่รู้สาเหตุว่า
ความสบายไม่สบายมาจากอะไร
ถ้าตามดูสามเรื่องทางกายนี้ไม่ชัด
ก็ต้องเกิดสามเรื่องทางใจคือ
ความพอใจ ไม่พอใจ และความไม่รู้ใจ
รู้ทันความสบายกายเป็นสติ
สติก็จะกลายเป็นศีล
สติและศีลเป็นเหตุผลของกันและกัน
คนที่จะมีศีลได้ถูกต้อง ต้องมีสติก่อน
ถ้าเป็นมิจฉาสติจะเป็นศีลที่ไม่ถูกต้อง
ไม่ใช่เป็นศีลที่เป็นอาริยะ
การตามรู้สิ่งเหล่านี้ ทำให้เรื่องมันแคบเข้ามา
เราต้องคอยระลึกอยู่เสมอ
เพราะเรื่องความพอใจไม่พอใจ ที่เกิดขึ้น
เป็นผลของการไม่รู้เท่าทันความสบาย ไม่สบาย
และความไม่รู้เหตุของความสบายไม่สบาย
มาจากต้นตอนี้เสมอ
เพราะฉะนั้นเวลาที่ร่างกายเจ็บป่วยไม่สบาย
เราจึงรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสียได้ง่ายเพราะเหตุนี้

ตัดกิเลสก่อนวายวอด

ถ้าร่างกายสบายดี อารมณ์ดี
มีอะไรมากระทบกระแทกเล็กๆ น้อยๆ ก็ทนได้
เรื่องของความต้องการภายนอก
และความต้องการภายใน สื่อถึงกันได้
ความต้องการภายนอกหมายถึง
ความต้องการทางกาย
เป็นธรรมชาติ เช่นความหิว ปวดอุจาระ
ปวดปัสสาวะ ร้อนจัดหนาวจัด
เราต้องตามรู้อาการนี้บ่อยๆ
ส่วนใหญ่เราจะรู้เท่าทันตอนที่มันร้อนจัด หิวจัด ปวดจัด
เราจะไปแก้ตอนนั้น
แต่ตอนที่มันร้อนพอทนได้ หิวพอทนได้
ปวดพอทนได้ หนาวพอทนได้ เราไม่ค่อยใส่ใจ
จนกระทั่งมันพีคถึงที่สุดจนทนไม่ได้ เราถึงจะใส่ใจแก้ไข
การแก้ไขก็มีสองแบบ แก้ไขแบบรู้และแก้ไขแบบไม่รู้
การปฏิบัติธรรมเรามาสนใจที่ต้นตอของมัน
แต่ถ้าไปสนใจที่มันเป็นผล
ออกมาเป็นเรื่องเป็นราวแล้วแก้ไขยาก
เหมือนเราป้องกันไข้หวัดใหญ่โดยการฉีดวัคซีนกันไว้
พอเป็นหวัดแล้วจะไปฉีดวัคซีนก็สายไป
วิปัสสนาใช้ระบบป้องกัน
ป้องกันไม่ทันก็แก้ไข
แก้ไขไม่ทันก็เยียวยา
เยียวยาไม่ทันก็ต้องรักษา
ขยายผลไปตามลำดับ
ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกัน
แต่เหตุสุดวิสัยบางอย่างเราก็ป้องกันไม่ได้
เช่น เราติดตั้งระบบเซฟทีคัท
แต่ก็ยังเกิดไฟช็อตได้

อย่าประมาทในความแปรปรวนของสังขาร

ความแปรปรวนของสังขารเรารู้ได้ไม่หมด
ป้องกันได้เป็นบางส่วน
จึงเป็นเรื่องยากที่จะหาความพอดีในวัตถุ
ปรับตามเท่าที่ได้
ความไม่พอดีของวัตถุหรือสังขาร
เป็นเหตุให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความแก่
ความเจ็บ ความตาย ของร่างกายสังขารได้
เพราะมันมีความบกพร่อง ความไม่พอดี
ในตัวของมันเองมาตั้งแต่เกิด
จะทำให้สมบูรณ์ก็เป็นไปไม่ได้
เป็นเหตุให้เราต้องเจริญสติปัญญาให้มากเพื่อเฝ้าระวัง
เพราะเราไม่รู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆ
ทั้งทางกายและใจ จะเกิดขึ้นเมื่อใด
เหตุปัจจัยพร้อมเมื่อใดมันก็เกิด มันไม่ได้บอกล่วงหน้า
เราพยายามสร้างเหตุปัจจัยที่เหมาะสม
ในเรื่องนั้นๆ มากที่สุด
เป็นการลดจากมากให้น้อยลง จนเกือบไม่มีเลย
พยายามลดเหตุให้เกิดปัญหาและทุกข์ให้น้อยที่สุด

บอสใหญ่คือไตรลักษณ์

เราทุกคนมีวิบากกรรม
ทำให้ต้องมาอยู่ใต้กฎไตรลักษณ์
เราจึงต้องเตรียมสติ สมาธิ ปัญญา ให้พร้อมเสมอ
บางอย่างแก้ไขทัน บางอย่างแก้ไขไม่ทัน
ไม่ว่าทางกายหรือทางจิต
อันไหนที่แก้ไขทันก็ดีไป
อันไหนที่แก้ไขไม่ทันก็จะได้ทำใจได้
ไม่ต้องมาตีอกชกตัว ขุ่นมัวเศร้าหมองกับเรื่องนั้น
อันไหนไม่ทันก็ปล่อยวางไปเลย แล้วตั้งต้นใหม่
อันไหนทันก็แก้ไขไป
แต่คนทั่วไปที่ไม่ได้ฝึกวิปัสสนาจะทำใจไม่ได้
อันไหนรู้ไม่เท่าเอาไม่ทันก็เสียใจ
อันไหนรู้เท่าเอาทันก็ดีใจ
เราเป็นนักวิปัสสนา จึงฝึกสติให้มาก
ส่วนหนึ่งเพื่อการปล่อยวาง
อีกส่วนหนึ่งเพื่อการรู้เท่าทันให้ได้ประโยชน์จากสิ่งนั้นๆ
อีกส่วนหนึ่งคือการป้องกันไม่ให้เกิด
เราสามารถฝึกสติสัมปชัญญะได้หลายมิติ
มิตินี้ไม่ก้าวหน้าก็เปลี่ยนไปอีกมิติหนึ่ง
เช่น เดินไปข้างหน้ามากไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
ก็ลองเดินถอยหลังดูบ้าง
เดินก้าวหน้าถอยหลังแล้วรู้สึกมันคุ้นชิน
ก็เดินออกข้างบ้าง ทำให้มันเกิดการตื่นตัวอยู่เสมอ
เราเคยทำแต่เรื่องนี้ ก็ลองเปลี่ยนการกระทำดูบ้าง
ในทางที่สร้างสรรค์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

ไตรกิเลสทางผ่านจากไตรลักษณ์สู่ไตรสิกขา

เช้าวันนี้ได้ปรารภเรื่องความต่างระหว่างไตรลักษณ์
ที่จะพัฒนาเป็นไตรสิกขา จะต้องผ่านไตรกิเลสก่อน
ให้เกิดทุกข์ ให้เกิดสมุทัย
ถ้ารู้เท่าทันก็ไม่เปลี่ยนเป็นไตรกิเลส
แต่จะเปลี่ยนเป็นไตรสิกขา
เราจึงต้องฝึกตัวรู้เท่าทันทุกขณะให้มากที่สุด
ไม่ใช่ว่าเราจะทำสมบูรณ์ทีเดียว
ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ ให้เกิดความคุ้นเคย
ยินยอมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
ทั้งภายในภายนอกได้ทุกขณะ
ความขุ่นมัวเศร้าหมอง ความขัดข้องหมองใจ
ความอาลัยอาวรณ์ต่างๆ มันก็จะไม่เกิดมา
ครอบงำความรู้สึกของเรา
เราป้องกันตัวเองไว้ก่อน เรื่องคนอื่นไว้ทีหลัง
บางทีเราป้องกันตัวเองได้
แต่ไปเป็นห่วงวิตกกังวลเขา
เป็นทุกข์เรื่องของคนอื่นไป
แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน
ถ้าไม่รู้กรรมเขากรรมเรา
เขาสร้างมาเมื่อไร เราจะไปแก้ปลายเหตุ
เราก็เป็นทุกข์เรื่องคนอื่นเรื่อยไป
ทุกข์เรื่องของพ่อ แม่พี่ น้อง เพื่อน
ทุกข์ สมุทัย ก็ขยายออกไป โดยที่เราไม่รู้เท่าทัน
เรียกว่าสติปัญญาเราไม่พอ ต้องปรับแก้
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ (goo.gl/Nyk2ap),
พลิกใจให้ตื่นรู้ (goo.gl/rPzyfo),เซนสยาม (goo.gl/heEHDK),
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท (goo.gl/QDxgyj),
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ) goo.gl/zZTixP
กลุ่มพระพุทธยานันทภิกขุ goo.gl/caEgh9