ถอดธรรมบรรยายประกอบภาพและเสียง “นาโนแห่งมหาสติ๑๓”

พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท (พระอาจารย์อาวุโสในสายงาน หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ) เช้า วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๖๐ ณ สวนพันดาว อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

ความพอใจไม่ใช่เรา

ความพอใจในเรื่องต่างๆ
เป็นหมื่นเป็นแสนความพอใจ
มันก็คือความพอใจ
เราไม่มีความพอใจต่อเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
เป็นหมื่นเป็นแสนความไม่พอใจ
มันก็คือความไม่พอใจ
ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
แต่เราแยกประเภทไม่ออก
ไม่พอใจพ่อ ไม่พอใจแม่ ไม่พอใจพี่
มันก็คือความไม่พอใจ
เราชอบคนนั้นคนนี้เป็นหมื่นคนแสนคน
มันก็คือความชอบใจ
แต่เราไม่เข้าใจมัน
ก็ไปสำคัญมั่นหมายว่า เราชอบ เราไม่ชอบ
เราพอใจ เราไม่พอใจ เราไม่ทันสมมติ
ทั้งๆ ที่แกนมันคือความรู้สึกแค่สองอย่าง
ถ้าเราตามทันความรู้สึกแค่สองอย่าง
มันก็จบง่ายๆ
แต่ที่มันไม่จบ เพราะว่าเราไม่ได้ดูความรู้สึกสองอย่างนี้
อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง
เราไปสำคัญผิดคิดว่าความพอใจเป็นเรา
เมื่อมันเป็นเราแล้ว ทำให้มันขยายออกไปเรื่อย
เราเป็นนั่น เราเป็นนี่ เราเป็นถูก เราเป็นผิด
เราเป็นสุข เราเป็นทุกข์
ซึ่งในลักษณะนี้มันแคบเข้ามาจนถึงปัจจุบัน
คิดว่าคงจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

เพราะเป็นจึงไม่เห็นความพอใจไม่พอใจ

คนที่จะรู้เรื่องนี้ได้ต้องมีปัญญาพอสมควร
ถ้าเราตั้งใจจริงๆ มันไม่ยากที่จะรู้
ที่มันยากเพราะเรายังไม่ตั้งใจที่จะรู้เรื่องนี้
ความพอใจ ไม่พอใจ ชอบ รัก ชัง
เป็นเรื่องไม่ยาก แต่ทำไมเรามองข้าม?
เพราะเราเป็นมัน เราจึงไม่ได้ดูมัน
เรามาฝึกปฏิบัติเพื่อจะดูแค่สองความรู้สึก
แต่เนื่องจากความรู้สึกทางจิตเป็นนามธรรม
เรามองเห็นไม่ได้ ใช้ไม่เป็น เห็นไม่ชัด
เราจึงมาดูรูปธรรมก่อน
ลึกๆ แล้วร่างกายมีแค่สองความรู้สึก
เย็นกับร้อน อ่อนกับแข็ง ตึงกับหย่อน
หนักกับเบา สบายกับไม่สบาย แค่นี้เอง
แต่ให้เรารู้ทันสองความรู้สึกนี้ทุกครั้ง
ไม่ว่าสองความรู้สึกนี้จะเกิดจากอะไรก็ตาม
ที่ว่าปฏิบัติต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
ไม่ได้หมายความว่าต้องไปนั่งสร้างจังหวะตลอดเวลา
แต่ให้รู้ตัวว่าทำอะไร ที่ไหน
ตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับ รู้ไปเรื่อยๆ
เมื่อจิตเราเสพคุ้นกับการรู้อย่างนี้
ที่ว่ารู้รูปนามหมายถึงรู้ทั้งสองอย่าง
รูปด้วย นามด้วย ที่กายกับใจ
ส่วนมันจะขยายเป็นอะไร
มันจะเกิดญาณของเรา รู้ไปเอง
ไม่ต้องบอกต้องสอนก็ได้ เด็กเก้าขวบก็ยังรู้
หลักการทั่วไปเราเอาสมมติมาสอนกัน
จนกลบปรมัตถ์นี้หมด
ให้ชี้ตรงไปที่ตัวปรมัตถ์ มันมีหลักแค่นี้
แต่ความจริงมันมีสามความรู้สึก
พอใจ ไม่พอใจ เฉยๆ
ความรู้สึกที่สามมันไม่ชัด

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

ตามรู้กายในกายละความพอใจไม่พอใจ

เวลาเราสวด “วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง”
อภิชฌาคือความพอใจ โทมนัสคือความไม่พอใจ
ไม่มีคำว่าอุเบกขา
“กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง”
เจริญสติตามดูกายในกายให้ทั่วตลอด
มันจะตัดความรู้สึกได้สองอย่าง
คือความพอใจและความไม่พอใจ
ในบทสติปัฏฐานทุกจุด ท่านจะสรุปไว้อย่างนี้
ในเมื่อเราเชื่อในพระพุทธองค์อย่างสนิทใจแล้ว
เราไม่ต้องลังเลในจุดนี้เลย
ไปที่ไหนก็ตาม รู้แค่สองความรู้สึก
ความรู้สึกทางกายที่ไม่สบาย เราก็รู้สึกไม่พอใจ
ความรู้สึกทางกายที่สบาย เราก็รู้สึกพอใจ
ท่านให้รู้ว่าความรู้สึกสบาย
ก่อให้เกิดความพอใจอย่างไร?
ตรงนี้เราไม่ได้ตามรู้เลย เราก็จะไปพอใจเลย
เวลาทานอาหารอร่อย ก็ชอบอาหารเลย
แต่ไม่รู้ว่าความอร่อยเป็นอย่างไร?
และความรู้สึกอร่อยที่ทำให้ใจมันพอใจ เพราะอะไร?
เราไม่เคยวิเคราะห์ มีแต่เสพมัน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

อย่าตัดสินคนอื่น

แม้ว่าเรารู้เป็นอย่างดี บางคนปฏิบัติมายาวนาน
ก็ยังมีความรู้สึกสองอย่างนี้แสดงออกมาอยู่
เราจะไปตัดสินคนอื่นไม่ได้ว่าปฏิบัติมาตั้งนาน
ทำไมต้องมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ
แต่ความรู้สึกที่แสดงออกมานั้น มันสลับกันได้
บางทีท่านแสดงความรู้สึกออกมา
แต่ข้างในอาจจะไม่เป็นก็ได้
ท่านแสดงความรู้สึกพอใจ
แต่ข้างในอาจจะไม่เป็นก็ได้
บางครั้งเราไม่ชอบพฤติกรรมบางอย่างของลูกหรือสามี
เราแสดงหน้าตาขึงขังเหมือนโกรธ
แต่จริงๆ ลึกๆ แล้ว เราไม่ได้โกรธ
แต่จำเป็นต้องแสดงตามบทบาท
อันนี้คือสมมติที่เราสับสน
เราจะเอาคนอื่นมาตัดสินว่าถูกผิดไม่ได้เลย
เพราะมันสลับกัน เราไม่เข้าใจสมมติ
ถ้าเราเข้าใจสมมติ
สิ่งที่แสดงออกมาภายนอกกับภายใน ตรงกันหรือไม่
เราต้องดูตัวเองก่อน
สมมติมันใช้สลับกันไป อาหารอร่อย เราบอกว่าไม่อร่อยก็ได้
สิ่งที่เราชอบมาก เราบอกไม่ชอบก็ได้ แต่ในใจมันไม่เป็น
มันรู้กันยากตรงนี้เอง
ท่านจึงมุ่งให้ดูตัวเองเป็นหลัก
ส่วนภายนอกเราจะตัดสินใครว่าถูกหรือไม่ถูก ใช่ไม่ใช่
อย่าตัดสินในสิ่งที่เห็น ถ้าตัดสินแล้วมีโอกาสพลาด
ให้ดูเฉยๆ ดูไปนานๆ
พ่อแม่ที่แสดงออกต่อลูก
บางครั้งก็รักมากๆ บางครั้งก็ดูเหมือนชังมากๆ
แต่จริงๆ มันคืออะไร เรามองไม่ออก
ถ้าเรามีลูก เราก็จะรู้ว่าที่เราแสดงออกอย่างนี้ เพราะอะไร
แสดงออกเหมือนโกรธมากๆ ในใจเราโกรธหรือไม่
บางครั้งแสดงออกเหมือนรักชอบมากๆ ลึกๆ เราชอบหรือไม่
ผู้หญิงผู้ชายแสดงออกว่ารักกันมาก ลึกๆ ชอบหรือเปล่าก็ไม่รู้
เราชอบที่เงินหรือของขวัญ หรือชอบที่คำชม มันสับสนตรงนี้เอง
ที่ทำให้เราเข้าใจยาก
ดังนั้น ถ้าเรามัวจะไปตัดสินคนอื่นดีไม่ดี ถูกไม่ถูก มันเสียเวลา
ไม่มีผลดีต่อเรา มีแต่จะพอกพูนอาสวะกิเลสให้กับเราเท่านั้น
แต่เราต้องมาดูตัวเองให้ชัดๆว่าเราเป็นในสิ่งที่เราแสดงหรือไม่

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

ยากเพราะคิดไปเอง

ไม่ว่าจะเป็นศาสนาหรือลัทธิใดก็ตาม
มีแค่สองความรู้สึกนี้ แต่เขาไม่รู้จัก
ชาวพุทธเรารู้จักว่ามันมีอยู่ ใช้มันเป็น
แต่เดี๋ยวนี้คนต่างชาติมาปฏิบัติ
กับพระของเราในประเทศไทยเริ่มรู้มากขึ้น
อาตมาเคยไปอยู่เกาะแห่งหนึ่งในศรีลังกา
สมัยที่ไปเรียนต่อและไปพักที่นั่น
พบว่าพระฝรั่งส่วนใหญ่เป็นพระเยอรมัน
รูปหนึ่งชื่อญาณศรัทธา อายุแปดสิบกว่า
(ฉายาพระเยอรมันส่วนใหญขึ้นต้นด้วย “ญาณ”)
ถามท่านว่าทำไมพระเยอรมันมาอยู่ที่นี่กันเยอะ
ท่านบอกว่ามาเพื่อที่จะแปลคำสอนของพุทธศาสนา
ในภาษาฮินดี สิงหล สันสกฤต มคธ ให้เป็นภาษาเยอรมัน
พวกฝรั่งเขาเลือกศึกษา ไม่ได้เอาเถรวาทแบบเราไป
เรื่องเข้าฌาน สมถะ เข้าองค์ทรงเจ้า หมอดู
เขาจะเอาสาระสำคัญจริงๆ ของพุทธศาสนาไปสอนกัน
เราชาวพุทธต้องไม่มองข้ามเรื่องนี้
หลักการและวิธีการของหลวงพ่อเทียนไม่ยาก
ที่เราคิดว่ายาก เพราะเราคิดเอา
เรามีพื้นฐานคำสอนของอาจารย์ต่างๆ ที่สอนมา
เราก็จะไปเปรียบเทียบ อันนั้นน่าจะเป็นอันนี้
ที่อาตมาล่าช้าในการปฏิบัติ เพราะเคยศึกษาบาลี
มีครูบาอาจารย์ทางด้านนั้นมาก่อน
พอมาศึกษาของหลวงพ่อเทียนก็ไม่ได้มองว่ายากหรือไม่
แต่มองว่าใช่หรือไม่ใช่ เพราะมันชวนสงสัย
ถ้าเปรียบเทียบกับหลักการอื่น
จนกระทั่งมาเข้าเก็บอารมณ์กับท่าน
ก่อนหน้านั้นปี ๒๕๒๐-๒๘ ก็วนไปวนมาอยู่กับท่าน
แต่ไม่ได้เข้าเก็บอารมณ์กับท่านอย่างจริงจัง
พอมาปี๒๙ จึงได้มาฝังตัวเก็บอารมณ์กับท่านหนึ่งพรรษา
จึงได้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร เราคิดมากไปเอง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

ต้นตอของการรู้ปรมัตถ์

ง่ายๆ คือลงมือทำซื่อๆ ตรงๆ ไม่ต้องไปคิดอะไร
สัมผัสความรู้สึกแค่สองอย่างนี้
ต่อไปมันก็จะเห็นตัวสภาวะอันอื่น ขยายไปเรื่อยๆ
รู้ไปเรื่อยๆ เป็นสมมติปรมัตถ์
เบื้องต้นให้รู้รูปรู้นาม ให้รู้อาการของกาย
ความรู้สึกในร่างกายมันมีอะไรบ้าง
ให้รู้ให้ครบ ให้จบให้ถ้วน
ความรู้สึกทางกายที่มันสบาย ไม่สบายมาจากอะไรบ้าง
ไม่ต้องไปบัญญัติ ไม่ต้องไปสมมติให้มัน
ให้รู้ว่าเป็นความรู้สึกก็พอ นี้เรียกว่าปรมัตถ์
ในส่วนที่เป็นนาม ก็ให้รู้ว่า
ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ มาจากไหน
ตามรู้จนเห็นต้นตอชัดเจน เราจะไม่สงสัย
เรียกว่ารู้ปรมัตถ์
ในส่วนที่เป็นนามหรือใจของเรา
ให้รู้ว่าความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจมาจากไหน? เกิดจากอะไร?
ตามรู้ไปอย่างนี้จนกระทั่งเห็นต้นตอที่ไปที่มาของมันชัดเจน
เราจะไม่สงสัยแล้ว เพราะรู้ปรมัตถ์
วันๆ ให้ดูแค่สองเรื่องนี้
แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น สิ่งอื่น
ก็ต้องใช้สมมติ แต่เรารู้ว่าต้นตอมันอยู่ที่นี่
อะไรที่จะเป็นเหตุให้เกิดความไม่สบาย ไม่พอใจ
เรารู้ก็หลีกเลี่ยงเสีย เท่านั้นเอง
อะไรที่เป็นเหตุให้เกิดความสบาย
ความสงบ ความราบเรียบ ความสุข
เราก็ทำสิ่งนั้นเท่านั้นเอง มันไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย
แต่เรื่องของเรื่อง เราไปอยู่กับความคิด ไปติดในสมมติ
สมมติอาศัยกาลเวลา อดีต อนาคต
ทำให้เกิดความคิด
แต่ถ้าจิตมาอยู่กับปัจจุบัน ความคิดเกิดไม่ได้
ตาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น หูได้ยินก็คือได้ยิน
จิตรู้ก็สักแต่ว่ารู้
ไม่ไปคิดต่อเติมเสริมแต่งมากกว่าที่เรารู้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

รู้สักแต่ว่ารู้

ในแง่ของอารมณ์ปฏิบัติ
อยากให้สื่อความหมายของคำว่ารู้เนื้อรู้ตัวให้ขึ้นใจ
เพราะเป็นความรู้สักแต่ว่ารู้
ในวิธีการหลวงพ่อเทียน คนที่รู้แบบนี้ไม่ถึงชั่วโมง
บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้เร็วที่สุด
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
คนนั้นชื่อว่า “พาหิยทารุจีริยะ”
ในอดีตชาติเขาเคยบำเพ็ญเพียรมาก่อน
ต่อมาเกิดเป็นเพลย์บอยลูกเศรษฐี
ไปข่มขืนและฆ่าเขาตาย
ในสมัยพระพุทธเจ้าท่านเกิดมาเป็นลูกพ่อค้า
ไปค้าขายทางเรือสำเภา
เกิดพายุเรืออับปาง ลูกเรือตายหมด
ท่านมีบารมีไม่ตายไปติดที่หมู่บ้านหนึ่ง
ไม่มีเสื้อผ้าเหลือแต่ตัวล่อนจ้อน
ในสมัยนั้นมีนิกายหนึ่ง
นับถือว่าถ้าใครแก้ผ้าได้เป็นพระอรหันต์
คนจึงพากันมาบูชาท่าน
เพราะคิดว่าท่านเป็นพระอรหันต์
ท่านเลยตกกระไดพลอยโจนต้องตั้งสำนัก
แต่ในใจลึกๆ ท่านรู้ว่ามันไม่ใช่
เป็นการหลอกลวงชาวบ้าน
ต่อมาได้ข่าวว่ามีพระอรหันต์ตัวจริงเกิดขึ้น
ท่านจึงต้องการหนีออกจากสำนัก
เพื่อไปพบพระอรหันต์ตัวจริง
ท่านต้องการไปถามพระพุทธเจ้าว่า
ความเป็นอรหันต์ดีอย่างไร?
คนจึงได้พากันมากราบไหว้บูชา
และจะเข้าถึงได้อย่างไร?
ท่านหนีออกจากสำนักตอนกลางคืน
และไปถึงสำนักเชตวันตอนเช้า
ท่านได้พบพระพุทธเจ้าขณะที่กำลังจะไปบิณฑบาตร
ท่านถามพระพุทธเจ้าว่าพระอรหันต์เป็นอย่างไร?
พระพุทธเจ้าให้รอพระองค์บิณฑบาตรกลับมาก่อน
แต่ท่านพาหิยทารุจีริยะ ก็ยังตามซักถามอยู่อย่างนั้น
พระพุทธเจ้าจึงตรวจสอบวาระจิต
พบว่าท่านเคยบำเพ็ญสมถะมานานจึงได้เป็นเช่นนี้
แต่ท่านอยู่ในวิสัยที่จะบรรลุธรรมได้
พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า ดูก่อนพาหิยทารุจีริยะ
ภาวะที่เห็นอะไรสักแต่ว่าเห็น ไม่ไปปรุงแต่งในสิ่งที่เห็น
ได้ยินอะไรก็ตามสักแต่ว่าได้ยิน
ไม่ปรุงแต่งในสิ่งที่ได้ยินว่าดีหรือไม่ดี
รู้อะไรสักแต่ว่ารู้ ไม่ต้องคิดว่าดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด
นี้คือสภาวะของผู้เป็นพระอรหันต์
ไม่มีข้างหน้า ไม่มีข้างหลัง ไม่มีข้างบน ไม่มีข้างล่าง
ไม่มีที่ไป ไม่มีที่มา จบ ณ ปัจจุบัน
ท่านพาหิยทารุจีริยะฟังแล้วเข้าใจทันทีจึงขอบวช
พระพุทธเจ้าจึงให้ไปหาผ้าจีวรมา
ผ้าในสมัยนั้นหาได้สองที่คือที่กองขยะและที่ป่าช้า
ท่านพาหิยทารุจีริยะไปหาผ้าที่กองขยะ
มีวัวแม่ลูกอ่อนหากินอยู่แถวนั้น
ลูกวัวเข้ามาเล่นกับท่าน
แม่วัวนึกว่าคนจะมาทำร้ายลูก
จึงวิ่งมาขวิดท่านอย่างแรงจนล้มลง
ท่านไม่มีอาการทุรนทุราย
ได้แต่พิจารณาว่าเป็นวิบากกรรม
จนสิ้นลมไปอย่างสงบ
เมื่อพระพุทธเจ้ากลับจากบิณฑบาต
พระองค์ทราบเรื่องและตรัสว่าเขาได้บรรลุธรรมแล้ว
จึงมีผู้ถามว่าทำไมผู้บรรลุธรรมแล้ว
ยังต้องพบชะตากรรมเช่นนี้
พระพุทธเจ้าจึงเล่าวิบากกรรมในอดีตชาติของเขาให้ฟัง
ว่ามีที่มาอย่างไร
นี่คือตัวอย่างถึงการรู้ซื่อๆ เห็นซื่อๆ ได้ยินซื่อๆ
เราเจริญสติเพื่อให้สติตั้งมั่น
สิ่งกระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ก็จะไปตั้งอยู่ที่สติก่อน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

ตั้งใจให้พอดี

ตาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น
หูได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน
รู้ด้วยใจก็สักแต่ว่ารู้
ถ้าทำอยู่เท่านี้มันไม่มีอดีตอนาคต
ไม่มีเบื้องหน้า เบื้องหลัง ข้างหน้า ข้างบน
เราบัญญัติว่าตรงนั้นคือความเป็นพระอรหันต์
เรื่องของเรื่องคือ เราไม่สามารถควบคุมสัมผัสที่มากระทบ
ให้อยู่กับความซื่อๆ ตรงๆ ได้ ทำให้ยากต่อการปฏิบัติ
ตามคำสอนของหลวงพ่อเทียนอันโด่งดัง ที่ว่ารู้ซื่อๆ
แต่เวลาเรารู้ เราเห็น เราเข้าใจ เราไม่สามารถรู้ซื่อๆ ได้
มันต้องต่อไป ทำให้ยากในการปฏิบัติ
ไม่ใช่ตั้งใจว่าฉันจะรู้ซื่อๆ
เมื่อก่อนอาตมาพยายามมากเลย
อาจารย์โกวิทสอนให้เห็นการเห็นของตัวเอง
ให้ได้ยินการได้ยินของตัวเอง ให้รู้ในสิ่งที่เรารู้
เราก็พยายาม มันเลยเครียด
ถ้าเราพยายามตั้งใจมากเกินไปก็จะเครียด
ทำไปทำมากลายเป็นคนซื่อบื้อหรือเบลอไปเลย
ความจริงคือสักแต่ว่า ไม่ต้องตั้งใจมากเกินไปที่จะรู้
และไม่ใช่ว่าไม่ใส่ใจที่จะรู้ หรือไม่ตั้งใจรู้
แต่รู้เท่าที่รู้มันไม่ยาก ถ้าคิดเอาเองมันก็ยาก
ถ้าปล่อยธรรมดาไม่ยากหรอก
คอมมอนเซนส์มากๆ เลย
แต่ที่มันกลายเป็นยากเพราะเราไปคิดและตีความหมาย
รู้สักแต่ว่ารู้ น่าจะเป็นอย่างนี้
แล้วทำตามที่ตัวเองคิด มันเลยกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมา
ทำของง่ายเป็นของยาก ทำของตื้นให้เป็นของลึก

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

ทำซ้ำซากเพื่อเปลี่ยนนิสัยจิต

การปฏิบัติที่เราทำซ้ำซาก
เพื่อให้จิตมารู้กับปัจจุบันบ่อยๆ
จะได้เปลี่ยนนิสัยจิตเสียใหม่
จิตของเรามีอะไรกระทบปั๊บ คิดไปก่อน
แต่พอเรามาเน้นตัวรู้ที่ทำซ้ำซากอย่างนี้บ่อยเข้าๆ
มันก็มีนิสัยใหม่ ฝึกคำว่ารู้สักแต่ว่ารู้
รู้ที่มันซ้ำซากตัวนี้แหละ จนกระทั่งมันเกิดนิสัย
พอเราเห็นอะไรจะไม่ได้คิด มันจะเห็นซื่อๆ
แต่ถ้ามีเหตุที่ต้องคิดมันก็คิดได้
แต่ส่วนใหญ่มันก็ไม่ได้มีเหตุให้คิดทุกครั้ง
แต่การเห็น การสัมผัส มีตลอดเวลา
การสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีตลอดเวลา
แต่สิ่งที่จะชวนให้คิด ให้นึก ให้เกี่ยวข้อง
มีบางครั้งและบางคราวเท่านั้น
เราเห็นกัน บางทีไม่มีเหตุต้องพูดก็ไม่พูด
แต่บางครั้งเราสู้ความพอใจ ไม่พอใจ ความคิดไม่ได้
เราก็ทำตามความคิด เข้าไปพูดด้วย
ทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุจำเป็นเลย แต่มันอยากจะพูดด้วย
เกิดจากความพอใจ
เห็นหน้าคนนี้ไม่ชอบใจ
คิดแต่ความไม่พอใจ มันไม่ซื่อแล้ว
ดวามคิดเป็นสิ่งที่ลวงเรามากๆ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา Dynamic Meditationนวัตกรรมแห่งสติmindfulnessclubชมรมคนรักสติพลิกใจให้ตื่นรู้เซนสยามนาโนแห่งมหาสติวัดพระธาตุแสงเทียนแพร่

จิตชอบแฉลบไปในอดีตอนาคต

ความคิดเกิดจากสมมติ
สมมติเกิดจากกาลเวลา
ถ้าเป็นตัวปัจจุบัน เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปรมัตถ์
แต่ถ้าเป็นอดีตอนาคต เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมมติ
อดีตเกิดจากความทรงจำ
อนาคตเกิดจากการคาดคิด
เราไปสำคัญเอาการคาดคิดและความจำว่าเป็นตัวเรา
ทำเยอะๆ มันต้องมีแว็บหนึ่งที่รู้ซื่อๆ ได้
เพื่อเปลี่ยนนิสัยจิตเสียใหม่ ให้อยู่กับปัจจุบัน
ถ้าเราไม่อยู่ตรงนี้ชัดเจน จิตมันก็แฉลบไปอดีตอนาคต
โดยตัวของมันเองเลย
เราเกิดมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
เพราะอาศัยตัวที่แฉลบออกไปนี่แหละ
พระพุทธเจ้าเน้นให้อยู่กับปัจจุบัน
เพื่อสร้างนิสัยให้อยู่กับปัจจุบัน
จะเรียกว่าสมาธิก็ได้ สติก็ได้ สัมปชัญญะก็ได้
มันก็คือปัจจุบันนั่นเอง
อันนี้คือข้อดีที่หลวงพ่อเทียนไม่มีปริยัติ
อาตมาก็มีเยอะอยู่ แต่สามารถอธิบายได้ว่าอะไรเป็นอะไร
ไม่ใช่ว่าเรามาใช้โดดๆ
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ (goo.gl/Nyk2ap),
พลิกใจให้ตื่นรู้ (goo.gl/rPzyfo),เซนสยาม (goo.gl/heEHDK),
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท (goo.gl/QDxgyj),
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ) goo.gl/zZTixP
กลุ่มพระพุทธยานันทภิกขุ goo.gl/caEgh9