ตอบปัญหาและไขข้อข้องใจต่างเกียวกับเรื่อง การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว

เจริญพร ท่านสมาชิกชมรมคนเพียรทุกท่าน

ต่อไปนี้ เป็นการตอบปัญหาและไขข้อข้องใจต่างเกียวกับเรื่อง การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว ตาวแนวหลวงพ่เทียน จิตตสุโภ จะพยามตอบทุกปัญหา ถ้ามีเวลา เพราะการปฏิบัติวิปัสสนาแบบเคลื่อนไหว

ต้องอาศัยความเข้าใจที่ชัดเจนแจ่มแจ้งเสมอ เสมือนการเดินทาง ถ้าเราลังเลไม่แน่ใจในเส้นทางเดินเพียงนิดเดียว เราจะเดินไม่สนุกและท้อถอย แต่ถ่ามีผู้ชำนาญเส้นทาง มานำทางเรา และพร้อมกับการอธิบายให้รายละเอียดต่างต่างระหว่างทาง เรายิ่งสบายได้ความรู้เพิ่มขึ้น เสมือนเป็นมัคคุทเทศก์ ทำหน้าที่นำทางและไปในตัว 

ดังนั้น การเจริญสติวิปัสสนาแบบนี้ อยากให้สมาชิกทุกท่านรู้สึกว่า เรากำลังอยู่ในสถานการณ์แห่งการเดินทางไกล ทุรกันดาล มีออุปสรรคเยอะ แต่ถ้าเรได้มัคคุทเทศก์นำทางเรา ก็คงรู้สึกสบายใจและปลอดภัยไปมากทีเดียว แล้วสักวันหนึ่งเราจะถึงปลายทาง ส่วนใครจะถึงปลายทางบ้าง ก็คอยมาติดตามกันต่อไป รับรองว่า ไม่นำพาให้หลงทางก็แล้วกัน ถ้าไม่หยุดเดินหรือแวะข้างทางกันบ่อยเกินไป และต่ถ้าคนไหนชอบเดินช้ากว่าเพื่อน อาจจะถูกดุและลงโทษกันบ้าง คงไม่ว่ากัน เพราะเดินทางช้าจะมืดเสียก่อน แล้วเดินทางต่อลำบาก ขอให่โชคดีทุกท่าน

ถามปัญหาตอนที่ 1: 

1. อะไรคือจิตไร้สำนึกและจิตรู้สำนึก?

2. จิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึก และจิตรู้สำนึก มีความสัมพันธ์กับการเจริญสติอย่างไร?

3. จิตแต่ละประเภทเป็นอุปสรรคหรือเป็นอุปกรณ์แก่การเจริญสติภาวนาอย่างไร?

 

คำตอบปัญหาตอนที่ 1.

มีนักปฏิบัติหลายท่านได้ถามเรื่องเหล่านี้บ่อยๆ แต่ยังไม่มีโอกาสตอบปัญหาเรื่องนี้ได้ชัดเจนนัก ขอทำความเข้าใจ และให้คำตอบแบบรวมๆ และชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

ปกติ จิตของเรามีสองระดับคือ จิตรู้สำนึก เรียกว่า “มโนวิญญาณ” จิตไร้-ใต้สำนึกเรียกว่า “ภวังควิญญาณ” หรือฝ่ายมหายานเรียกว่า อาลยวิญญาณ หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า subconscious 

ตามปกติ คนเราจะมีจิตสำนึกอยู่สองระดับเสมอ นอกจากพระอรหันต์ขีณาสพเท่านั้น ที่มีจิตระดับเดียว คือจิตรู้สำนึก ระดับต่ำกว่านั้น จะมีสองระดับทั้งนั้น อาจจะจัดระดับได้คร่าวๆดังนี้ พระอริยบุคคลระดับอนาคามี มีจิตรู้สำนึกประมาณ 75-95 เปอร์เซ็นต์ พระสกิทาคามี 50-75 พระโสดาบันมี 25-50 พระพรหมสัมมาทิฐิ 10-25 เทพสัมมาทิฐิ 10-24 มนุษย์สัมมาทิฐิ 10-20 ส่วนมนุษย์มิจฉาทิฐิและอบายภูมิสัตว์ อาจมีประมาณ 1-10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแต่ละระดับจะมีจิตไร้สำนึกมากน้อย เท่าไร พึงเข้าใจในสัดส่วนตรงข้าม เช่นพระอนาคามี อาจจะมีจิตไร้สำนึกอยู่ระดับที่ 5-25 เปอร์เซ็นต์ นัยยะที่ตรงกันข้าต่ำสุด อบายภูมิสัตว์และมนุษย์มิจฉาทิฐิ จะมีจิตไร้สำนึกอาจจะอยู่ที่ระดับ 90-99 เปอร์เซ็นต์ แต่มีจิตรู้สำนึกเพียงแค่ 1-10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ความจริงเรื่องนี้ ไม่ค่อยไม่ส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องภาวนาโดยตรง แต่ควรรู้ไว้ เพื่อเราจพสามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบตนเองได้ 

เพราะถ้าเราสมารถรู้และเข้าใจเรื่องนี้ได้ชัดเจน เราอาจจะพัฒนาจิตรู้สำนึกของเราให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะจิตสำนึกจะเป็นที่รวมลงของคุณธรรมฝ่ายกุศลทั้งหมด และตรงกันข้ามจิตไร้สำนึก ก็เป็นที่รวมลงของคุณธรรมฝ่ายอกุศลทั้งหมดเช่นกัน รู้เรื่องนี้ไว้เพื่อเตือนตัวเองไม่ให้ประมาทไปมากกว่าเท่าที่เป็นอยู่เท่านั้นเอง

มารู้จักการทำงานของจิตสองระดับ

จิตรู้สำนึก หรือมโนวิญญาณ คือจิตที่มีเจตนาคิด เช่นบางครั้งเราบอกว่า “ฉันกำลังคิดเรื่องนี้อยู่” หรือรู้ตัวว่า “ฉันไม่น่าพูดหรือคิดเรื่องนี้กับเธอเลย”อย่างนี้เป็นต้น หรือมีความรู้เนื้อรู้ตัวว่า เรากำลังทำ พูด คิดอะไรอยู่ขณะนั้นๆแบบปกติทั่วไป เรียกว่าเป็นมโนวิญญาณ คือมีสติสัมปชัญญะแบบคนทั่วไป บางครั้งอาจจะเป็นสัมมาสติ บางครั้งก็เป็นมิจฉาสติก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า สถานการณ์นั้นๆ เราเคยฝึกฝนสัมมาสติภาวนามาก่อนหรือไม่?

จิตไร้-ใต้สำนึกเป็นอย่างไร

แต่บางครั้ง ก็มีความคิดที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่มีเจตนาคิด คือมันเกิดขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เราก็ไม่รู้ คือเผลอเมื่อไร ก็คิดเมื่อนั้น บางครั้งเราก็รู้ตัวว่ากำลังคิด แต่หยุดมันไม่ได้ บางครั้งก็ไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังคิดอะไรอยู่ 

ดังนั้นคนทั่วไป ที่ไม่ได้เจริญภาวนา ก็อยู่กับความคิดประเภทนี้แทบตลอดเวลา มันอาจจะคิดเรื่องดีก็ได้ คิดเรื่องร้ายก็มี สลับกันไปเรื่อยๆ แล้วแต่สถานการณ์จะชักนำไป จิตแบบนี้ เป็นจิตไร้สำนึก

ถามว่า “จิตประเภทนี้เกิดจากอะไร มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย?”

จิตไร้หรือใต้สำนึกเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยอวิชชา คือความไม่รู้เท่าทันความจริงเป็นที่เกิด ตราบใดที่ยังใช้ชีวิตแบบขาดสติ เผลอเลอ ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดจิตประเภทนี้ตลอดเวลาทีเดียว  เพราะความคิดประเภทนี้เกิดผ่านอายตนะทั้งหลาย เมื่อมีการกระทบทุกครั้ง มันก็เกิดทุกครั้ง เราจะรับรู้หรือไม่ก็ตาม แต่ส่วนมาก มันมาปรากฏที่ใจ คืออายตนะที่หกเลย โดยที่เราไม่สามารถรู้ทันการเกิดของมันได้ จึงเรียกมันว่า “จิตไร้สำนึก หรือภวังควิญญาณ” ที่กำเนิดเกิดก่อของจิตประเภทนี้ ก็เกิดอาตนะทั้งหกเหมือนกัน เช่นเมื่อรูปกระทบตา ก็เกิดจักขุวิญญาณ เสียงกระทบหู ก็เกิดโสตวิญญาณ กลิ่นกระทบจมูก เกิดฆานะวิญญาณ รสกระทบลิ้น เกิดชิวหาวิญญาณ สัมผัสกระทบกาย เกิดกายวิญญาณ อารมณ์กระทบจิต เกิดมโนวิญญาณ แต่เพราะเหตุที่ไม่มีสติสัมปชัญญะตามรู้ อยู่ในกาย เวทนา จิต และอารมณ์ ผลของการกระทบจึงเกิดเปลี่ยนเป็นภวังควิญญาณ หรือภวังคจิตหรืออาลยวิญญาณไปทันที คำว่า “ภวังควิญญาณ” แปลว่า องค์แห่งภพ หรือส่วนหนึ่งของภพ แต่ยังไม่อาจระบุได้ว่า เป็นกามภพ รูปภพ หรือ อรูปภพ แต่เมื่อมีอารมณ์สองประเภทเข้าประกอบ ก็จะสำเร็จเป็นภพได้เลย อารมณ์สองตัวนั้นคือ ความพอใจ (อิฏฐารมณ์) และความไม่พอใจ (อนิฏฐารมณ์) ถ้าความพอใจประกอบด้วยอวิชชาคือขาดสติ ก็แปลงตัวเป็น อภิชฌา ความไม่พอใจที่ประกอบด้วยอวิชชาหรือขาดสติ ความรู้สึกไม่พอใจนั้น ก็แปรเป็น โทมนัสไปทันทีเหมือนกัน ถ้าความรู้สึกทั้งสองนั้นประกอบด้วยสัมมาสติ ก็แปรเป็นปีติและโสมนัสไปเช่นกัน เรื่องนี้ค่อนข้างเข้าใจยากสำหรับคนไม่ได้ผ่านปริยัติมาก่อน ดังนั้น จึงขอแจกแจงไว้แค่นี้ก่อน

โปรดติดตามตอนที่สองต่อไป วันนี้เราพักแรมกันตรงนี้ก่อน เราจะศึกษาและเดินทางในวันต่อไป กรุณาพักผ่อนกันให้สบาย เพื่อจะได้มีแรงเดินกันต่อวันพรุ่งนี้เช้า

เดินทางลัดตัดทางตรง กับพุทธยานันทะ