ถอดธรรมบรรยาย “สติสัมโพชฌงค์ต่างจากสติปัฏฐาน”

พระธรรมเทศนาโดย หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท คอร์สโพธิปัญญา 11-17 มีนาคม 2559 ณ ครุสติสถาน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ความรู้สึกตัวที่พัฒนาจากสติปัฏฐาน
มาเป็นสติสัมโพชฌงค์
สติปัฏฐานมีสี่
พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม
แต่พอมาเป็นสัมโพชฌงค์มีเจ็ด
สติในสัมโพชฌงค์
เป็นองค์ของวิปัสสนาโดยตรง
แต่สติในสติปัฏฐาน
เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา
มาถึงจุดนี้ก็อยากให้เราจับประเด็น
ในเรื่องของวิปัสสนาให้ได้
เพราะถึงแม้ว่าเราจะทำปนกันมา
ระหว่างสมถะและวิปัสสนา
แต่องค์ที่จะยกไปสู่ตัววิปัสสนาโดยตรงได้
คือสติที่เข้าไปพิจารณา
ภาวะตื่นรู้ของจิตโดยเฉพาะ
การพิจารณาการตื่นรู้ของกาย
คือเวทนาต่างๆ
มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง
เป็นสติปัฏฐาน
แต่พอไปพิจารณาเห็นการตื่นรู้ของจิต
เป็นสติในสัมโพชฌงค์
สติปัฏฐานใช้คำว่า อนุปัสสนา
คือการตามรู้ ตามดู ตามเห็น
เรื่องภายในกายทั้งหมด
เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา
แต่พอมาสัมโพชฌงค์
ให้ไปพิจารณาการตื่นรู้ของจิต

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

การตื่นรู้ของจิต
พิจารณาอยู่สองเรื่อง
ที่ท่านกล่าวไว้ในสติปัฏฐาน
“กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
ไปถึง ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง”
พิจารณาสองเรื่องทั้งหมด
คืออภิชฌาและโทมนัส
อภิชฌาและโทมนัส
มันก็โยงไปหาเรื่องสองเรื่อง
ที่เราพูดถึงเมื่อวาน
คือเรื่องเกิดและเรื่องดับ
จำเรื่องหลักสองเรื่องนี้ไว้ให้ดี
เพราะมันจะโยงไปสู่
เรื่องอะไรทั้งหมดทั่วจักรวาล
การเกิดดับ ขยายขึ้นมาหน่อย
เป็นเรื่องรูปกับนาม
เรื่องเกิดเป็นรูป เรื่องดับเป็นนาม
อภิชฌาคือความพอใจ ชอบใจ ถูกใจ
โทมนัสคือความไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ
มันก็ขยายมาจากเรื่องเกิดและดับ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พอมาเรื่องของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ก็เอาเรื่องนี้ไปพิจารณา
การที่เราพิจารณาเห็นการเกิดดับ
ที่ปรากฏเฉพาะหน้า
ไม่ถือว่าเป็นธรรมวิจารณ์หรือธรรมวิตก
ธรรมวิตก ธรรมวิจารณ์ หมายถึง
เอาเรื่องที่ยังไม่เกิดมาพิจารณา
ถึงจะเป็นธรรมก็จริง
แต่ยังเป็นเหตุเกิดทุกข์
เพราะเป็นเรื่องอดีต อนาคต
แต่ธรรมวิจัย เอาเรื่องที่เกิดขึ้น
ขณะนี้เดี๋ยวนี้มาพิจารณา
เช่น เราเดิน อะไรเกิดขึ้นกับเราบ้าง
มีหนัก มีเบา มีคิด มีไม่คิด
มีพอใจ มีไม่พอใจ
เกิดขึ้นสลับกันไป
สลับกันมาตลอดเวลา
การหยิบยกเอาสภาวะ
ทั้งกายและจิตที่กำลังเกิดขึ้น
มาพิจารณา เรียกว่า ธรรมวิจัย
มันคล้ายกันมาก
ธรรมวิจัยกับธรรมวิจารณ์
วิจารณ์หมายความว่า
มันเป็นเรื่องปรุงแต่ง
เรื่องปุญญาธิสังขาร
คือเป็นเรื่องดี
แต่มันไม่จำเป็นในขณะนั้น
มันไม่ได้เกิดขึ้นในขณะนั้น
ตัวสภาวธรรมหมายถึง
ตัวสภาวะที่เป็นขณะนี้เดี๋ยวนี้
คือเป็นปัจจุบัน
เมื่อเราหยิบปัจจุบันมาพิจารณา
มันก็เป็นตัวธรรมวิจัย
เป็นนิโรธ เหตุดับทุกข์
ธรรมวิจารณ์เป็นสมุทัย เหตุเกิดทุกข์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ที่ต้องเน้นย้ำเรื่องนี้
เพราะมันครอบคลุมชีวิตเราทั้งชีวิต
เพื่อให้เห็นชัดๆ ว่า
เรื่องการเกิดดับนี้
ทำไมจึงสำคัญนักหนา
ที่เราทุกข์ ต้องเกิดมา
มันก็เป็นเพราะสองตัวนี้
แต่เนื่องจากเรายังไม่เกิด
วิปัสสนาปัญญา วิปัสสนาญาณ
เราจึงมักลืมสองตัวนี้
ไปจำแต่เรื่องปลายเหตุของมัน
ง่ายๆ เราเดินมาเมื่อเช้า
บางคนรู้สึกมีความขุ่นข้องในใจ
บางคนก็รู้สึกเบิกบานใจ
บางคนรู้สึกสงบ บางคนรู้สึกไม่สงบ
มันก็มีอยู่แค่นี้ในใจของเรา
ถ้าคนที่มีความรู้สึกสงบ
เบิกบาน สบายใจ
ก็ถือว่าได้อารมณ์ไป
บางคนรู้สึกเดินไปแล้วขุ่นมัวเศร้าหมอง
คิดแต่เรื่องอดีต การได้การเสีย
การถูกการผิดที่ผ่านมา
มันโผล่ขึ้นมาเป็นระยะๆ
แล้วก็ขุ่นมัวเศร้าหมองไม่สบายใจ
ต้นเหตุของมันก็คือ
การเกิดกับการดับ
ถ้าเป็นการเกิดในฝ่ายดี
เมื่อสิ่งที่ดีดับไป
เรารู้สึกไม่พอใจ
เช่น เรารู้สึกถึงความสงบ
เรารู้สึกว่าเราได้
สักพักหนึ่งความสงบเสียไป
เรารู้สึกว่าเราเสีย ไม่พอใจ
แต่ถ้าการเกิดขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี
เช่น ต้นชั่วโมงเรารู้สึกขุ่นมัว เศร้าหมอง
ชั่วโมงที่สองเรารู้สึกผ่องใส
เรารู้สึกว่าเราได้
การเกิดขึ้นของความรู้สึกไม่ดี
และความรู้สึกไม่ดีหายไป
เป็นความรู้สึกดีขึ้นมาแทน
เรารู้สึกว่าเราได้
การเกิดขึ้นของความรู้สึกดี
และความรู้สึกดีนั้นหายไป
เป็นความรู้สึกไม่ดีขึ้นมาแทน
เรารู้สึกว่าเราเสีย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

นี่คือของที่มีอยู่จริง
มันสลับกัน เกิดดับ เกิดดับ
แต่เนื่องจาก
เราไปสำคัญการได้มาว่า เป็นเราได้
และสำคัญการเสียไปว่า เป็นเราเสีย
เราซื้อหวยมาใบหนึ่ง
พอรู้สึกว่าเราถูกรางวัลที่หนึ่ง
เรารู้สึกว่าเราได้ ใจฟูใจพอง
พอไม่ถูกสักใบ เรารู้สึกว่าเราเสีย
แต่ก่อนหน้าที่เราไม่ได้ซื้อ
ความรู้สึกได้เสียมันไม่มี
แสดงว่าการได้การเสีย การสุขการทุกข์
ไม่ได้มีมาก่อน
พอเราไปซื้อ มันเป็นความอยาก
ความอยากถ้าถูกตอบสนอง
ก็เป็นความสุข
เหมือนเราอยากจะรวย
พอเรารวยเพราะถูกหวย ก็ดีใจ
ยิ่งได้รางวัลใหญ่ก็ดีใจแบบลิงโลด
สาเหตุคือความอยาก
ถ้าเรารู้เท่าทันความอยากเสียแต่แรก
การได้การเสียที่ตามมาไม่มี
แต่เนื่องจากเราไม่รู้เท่าทันความอยาก
จึงมีการได้การเสียตามมา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

การได้มา
เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง
ก่อนหน้านี้ คำว่าได้มา ไม่มี
การเปลี่ยนแปลง
เป็นลักษณะของอนิจจัง
แต่ก่อนไม่มีความอยาก
แต่เนื่องจากจิตมันไม่อยู่นิ่ง
มันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลงของมัน
มีสองลักษณะคือ ได้กับเสีย
ได้กับเสีย พอมาขยายเป็นสาม
ถ้าสิ่งที่ได้มาถูกใจ ทุกขังไม่เกิด
อนิจจัง พอมันได้สมกับที่เราอยาก
ทุกขังไม่มี มีความสุข เป็นธรรมสำหรับเรา
อนัตตาไม่มี กลายเป็นธรรม
อนิจจัง พอมีการเปลี่ยนแปลงไปทางเสีย
ว่าจะได้แล้วมันไม่ได้
ทุกขังเกิด อนัตตาเกิด
ดูตรงนี้ให้ดีว่า
อนิจจัง ความเปลี่ยนแปลง
มันเป็นได้ทั้งเกิดและทั้งดับ
ถ้ามันเป็นไปอย่างใจเราต้องการ
รู้สึกเราได้ เป็นธรรม
ถ้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราไม่ต้องการ
รู้สึกเราเสีย ไม่เป็นธรรม
ใช้ไม่ได้ เป็นอนัตตา
เพราะทำให้เราไม่สบายใจ
อันนี้เขาเรียกว่า อนิจจสัญญา
เวลาเราปฏิบัติไป
เราพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลง
เป็นสัญญา
ตัวนี้เรียกว่าเป็น ธัมมวิจยะ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

การที่เรามีสติเข้าไปพิจารณา
ถึงการได้การเสียที่มันยังเป็นอดีตอนาคต
ยังไม่มาถึง เช่น การถูกหวย
ไม่ใช่ ธัมมวิจยะ
แต่ขณะนี้ ที่เราได้เราเสียอยู่เดี่ยวนี้คืออะไร
ได้ความคิด ความอยากมา
เราเดินไป เราก็อยากสงบ
สมมติว่าเราอยากให้จิตสงบได้อารมณ์
มันเป็นหวยรางวัลที่หนึ่ง
การไม่สงบ การฟุ้งซ่าน ง่วงเหงา
มันเป็นการซื้อหวยไม่ถูก
เราก็เรียกว่าเสีย
เราต้องพิจารณาตรงนี้ให้ถ่องแท้ขึ้นใจ
เพราะวันหนึ่ง มีการได้การเสีย
เป็นร้อยเรื่องพันเรื่อง
แล้วแต่ว่าเราเข้าไปเกี่ยวข้อง
ได้มากน้อยแค่ไหน
ทุกคนมีรายได้รายเสีย ค่าใช้จ่ายประจำวัน
แต่นั้นเป็นปลายเหตุทั้งหมด
ต้นเหตุมันอยู่ที่ความอยาก
พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ท่านจึงไม่อยากยุ่งกับการได้การเสีย
ปลายเหตุมันก่อให้เกิดความเสียหาย
ทางด้านจิตใจ
ท่านจึงไม่อยากได้
พอได้แล้วมันก็มีการเสียเกิดขึ้น
พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านจึงสลัดออก
สลัดออกจนไม่มีเหลืออะไร
อยู่เหนือการได้การเสีย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พระโสดาบันยังต้องการได้
เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์
ถ้ามันได้มาตามนั้น
เขาก็มีความสุขเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์
แต่ถ้าไม่ได้มาตามนั้น
เขาก็มีความทุกข์
เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์เหมือนกัน
แต่ยังเหลือความสบายใจอยู่บ้าง
สามสิบเปอร์เซ็นต์
ปุถุชนนี่ร้อยทั้งร้อยเลย
ได้มาก็ดีใจร้อยเปอร์เซ็นต์
เสียไปก็เสียใจร้อยเปอร์เซ็นต์
มันไม่มีเหลืออยู่เลย
พระสกิทาคามีถ้าหวังอะไรสักอย่าง
แล้วไม่ได้อย่างที่หวัง
เขาก็เสียใจแค่ห้าสิบเปอร์เซ็นต์
ใจยังชุ่มชื้นอยู่อีกห้าสิบเปอร์เซ็นต์
พระอนาคามีถ้าหวังแล้วไม่ได้
ท่านก็เสียใจแค่ยิ่สิบห้าเปอร์เซ็นต์
แต่ใจยังดีอยู่เจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์
พระอรหันต์ไม่เอาทั้งสองอย่างเลย
ไม่อยากจะได้อะไร
เพราะได้แล้วมันต้องเสีย
ไม่อยากจะได้แม้แต่ความอยาก
เพราะความอยากเป็นเหตุของ
การได้มาและเสียไป

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ดังที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
ตัณหาเป็นสมุทัยต้นๆ ที่ต้องละ
แต่ในชั้นอย่างเราๆ
จะละความอยากเลย มันยาก
อย่างน้อยก็ยังอยากดี
อยากสบาย อยากสุข
ในสติปัฏฐานสี่ ท่านจึงให้ละสองอย่าง
คือละการได้และการเสีย
การได้มาอย่างใจ เรียกว่าอภิชฌา
การไม่ได้มาอย่างใจ เรียกว่าโทมนัส
“อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา
วิเนยยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง”
คำว่าวิเนยยะ หมายความว่า นำออก
สลัดออก ทั้งความชอบ หรือไม่ชอบ
แต่ในชีวิตจริง มันไม่เป็นอย่างนั้น
มันยากมาก เป็นสิ่งที่ท้าทาย
อย่างไรก็ตาม
เราอยู่ในโลกของการได้การเสีย
ไม่สามารถหลีกเลี่ยงมันได้
แต่เราจะทำอย่างไร
ให้รู้สึกได้ รู้สึกเสีย ให้น้อยที่สุด
นั่นเป็นสิ่งที่เราต้องการ
สำหรับคนที่ไม่มีวิปัสสนา
จะทำใจอย่างนี้ไม่ได้
เพราะไม่สามารถที่จะจัดการ
ความรู้สึกได้ รู้สึกเสีย ตามที่คิด
อย่างน้อยก็แค่ทำใจ ข่มใจ
แต่ลึกๆ มันก็ยังทุกข์อยู่
เวลาเราเดินจงกรม
มันเบื่อมันเซ็ง “เราเสียอีกแล้ว”
เมื่อกี้ว่าจะได้ มันไม่ได้
วันนี้ไม่ได้อะไร ไม่สนุกเลย
วันนี้ได้ทั้งวัน พรุ่งนี้มันไม่ได้
เกิดเศร้าหมองอีก
วันหนึ่งเราจะเศร้าหมองผ่องใส
กับการได้การเสียตลอด
แล้วเมื่อไรเราจะอยู่เหนือมันได้

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

มาตั้งต้นที่ไม่อยากได้ ไม่อยากเสีย
เดินไปเฉยๆ ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
อย่างนี้ง่ายกว่าไหม
ยากมากเลย
หากไปถึงจุดนั้นได้ไม่ใช่ง่าย
ระดับพระอนาคามี
ถึงจะทำใจอย่างนั้นได้
เราก็ทำไว้เรื่อยๆ เผื่อว่ามันเกิดปัญญา
มันอยู่ที่ปัญญา
พุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ
สมัยหนึ่งที่หลวงพ่อเทียนเผยแพร่เรื่องนี้
คนกำลังขึ้นกันเยอะ
มีผู้มาถามรายละเอียดว่า
หลวงพ่อฉันกี่มื้อ ใส่รองเท้าไหม
หลวงพ่อบอกว่า
พุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องถือศีลกินเจ
ไม่ใชเรื่องรูปแบบ
แต่พุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญา
ทำอะไรก็ได้ให้มันเกิดปัญญา
ปัญญามีสองอย่าง
ปัญญาที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
และปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ
ปัญญาที่มาแก้ปัญหา
ต้องการปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ
ปัญญาที่ชาวโลกใช้กัน
เพื่อจะได้ผลตอบแทนมา
เป็นปัญญามิจฉาทิฏฐิ
ถ้าได้มาแล้วเสียไป ไม่เสียใจ
เป็นปัญญาสัมมาทิฏฐิ
ถ้าอยากได้มา แล้วเวลาเสียไป
เราเสียใจด้วย
เป็นปัญญามิจฉาทิฏฐิ
สมมติว่าวันนี้เราได้มาเป็นล้าน
พรุ่งนี้เสียไปสองล้าน ทำใจไม่ได้
เป็นมิจฉาทิฏฐิ
วันนี้ได้มาล้านหนึ่ง
พรุ่งนี้เสียไปสองล้าน
เฉยๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เป็นปัญญาสัมมาทิฏฐิ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

วันๆ หนึ่ง เราจะอยู่กับ
การได้การเสียตลอด
แต่ทำไมเรามองข้ามมัน
บางทีเราก็รู้ว่า
มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แล้วหาเรื่องอื่นมากลบเสีย
คิดว่าเป็นกรรมของเรา
เมื่อก่อนเราอาจไปเอาของเขามา
วันนี้เราเลยเสียไป
พยายามนึกเพื่อปลอบใจตัวเอง
แต่ลึกๆ ก็ยังทำใจไม่ได้อยู่ดี
มันเป็นเรื่องปลายเหตุทั้งนั้นเลย
อารมณ์และความอยากบางอย่าง
ละได้ด้วยการทำความเข้าใจ
บางอย่างละไม่ได้
ทุกอารมณ์ก็มาทั้งกุศล อกุศล
ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งถูกทั้งผิด
ทั้งสบายไม่สบาย ตลอดเวลา
เราอยากจะให้ฝ่ายกุศลมันอยู่
ละแต่ฝ่ายอกุศล
เราอยากให้ความรู้สึกดีๆ มันอยู่
ฝ่ายที่ไม่ดี เราไม่อยากให้มันอยู่
เป็นไปไม่ได้
ให้ตามองแต่สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ไม่ดีไม่มอง
เป็นไปไม่ได้
พอเปิดตาปั๊บ มันก็เห็นทั้งสองอย่างเลย
เสียงที่มาเข้าหู มันก็มีทั้งสองเสียง
ทั้งเสียงที่ชอบไม่ชอบ ดีไม่ดี
จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เหมือนกันหมด
มันทำหน้าที่ของอายตนะอยู่อย่างนั้น
เป็นต้นกำเนิดว่าทำไมมีดีมีชั่ว มีได้มีเสีย
เพราะเรามี สิ่งเหล่านี้จึงมี
เพราะฉะนั้น เอาความเป็นเราออกจากใจ
มองทุกอย่างไม่ว่าดีหรือเสียมีค่าเสมอกัน
แต่เมื่อไรมันความเป็นเราอยู่
มันก็ไปแยกเรา แยกเขา
แยกดีแยกชั่ว แยกถูกแยกผิด
เราจึงหนีเรื่องได้เรื่องเสียไปไม่ได้
ให้ไถ่ถอนความเป็นเราออก
ไถ่ถอนความเป็นอัตตาออก
แต่ไม่ใช่ให้เป็นอนัตตา
เพื่อให้เป็นปัญญา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เมื่อเกิดปัญญา
รู้สึกว่าถ้าเราได้ เดี๋ยวก็ต้องเสีย
เพราะฉะนั้น เราอย่าได้เลย
เพื่อจะได้ไม่ต้องเสีย
แต่เราอยู่ในโลกความเป็นจริง
มันจำเป็นต้องมีการได้และการเสีย
เราก็ต้องมาทำใจใหม่ว่า
เมื่อมีการได้แล้วเสียไป
เราจะไม่เสียใจ
การภาวนาก็เพื่อสิ่งนี้
เพื่อให้การได้มาแล้วเสียไปไม่เสียใจ
ได้สักแต่ว่าได้ตามหน้าที่
ไม่ใช่ได้ด้วยความอยาก
ถ้าได้มาด้วยความอยาก คือตัณหา
เสียไปมันก็ต้องเสียใจแน่นอน
การได้มาโดยชอบธรรม
คือได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ตามศีลธรรม เรียกว่ายุติธรรม
เราทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
เป็นครูก็เป็นให้ดีที่สุด
เป็นข้าราชการก็เป็นให้ดีที่สุด
ทำตามหน้าที่ ได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น
ลักษณะนี้ไม่มีปัญหา เป็นกุศล เป็นบุญ
เพราะได้ทำตามหน้าที่
แต่เก้าสิบเก้าจุดเก้าเปอร์เซ็นต์
ถึงแม้ว่าเราทำตามหน้าที่
เราก็ยังอยากได้
เราทำเงินเดือนหมื่นนึง
เราอยากได้มากขึ้นสักหน่อยก็ดี
สักหมื่นสองหมื่นสาม
เพราะค่าใช้จ่ายมันเพิ่มขึ้น
ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีเงินเดือน
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่มี
พอได้เงินเดือนแล้ว
อยากจะได้เพิ่ม
ปีละสามขั้นห้าขั้นขึ้นไป
วันหนึ่งถูกลดขั้นเงินเดือน
ก็เสียใจอย่างมหาศาล
นี่คือข้อเท็จจริงในชีวิตจริง
แตมันเป็นปลายเหตุ
คนไม่มีวิปัสสนา
จะทำใจกับเรื่องเหล่านี้ไม่ง่ายเลย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เราได้แฟนมา รักมาก
วันหนึ่งเราเสียแฟนไป
ก็ต้องเสียใจอีก
พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า
ไม่ควรทำคนและสัตว์ให้เป็นที่รัก
เพราะมีรักที่ไหน ก็มีภัยที่นั่น
เป็นอมตะแบบนี้ตลอด
ถ้าไม่ภาวนาทำแบบนี้ไม่ได้
แม้แต่ภาวนาแล้ว ยังทำใจยากเลย
อยู่บ้านเรารักหมาตัวนี้มากๆ เลย
ใครมาแตะหมาตัวนี้ไม่ได้
มาที่นี่ ฝากให้คนใช้ดูแล
กลับไปบ้าน คนใช้หนีไปเที่ยว
ไม่ได้เอาข้าวให้หมากิน
กรรมฐานที่ทำมาดีๆ หายหมดเลย
อันนี้คือข้อเท็จจริง
เวลาเราภาวนา
ก็อยากจะให้หยิบยกสิ่งนี้
มาพิจารณาบ่อยๆ เพื่อให้มันคุ้น
เมื่อเกิดอะไรขึ้น มันจะทำใจได้ง่าย
ของเสียไป แต่ใจไม่เสีย
คนไม่ภาวนา ไม่มีทางทำใจได้เลย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#ความอยากและไม่อยากเป็นเหตุของทุกข์
เวลาเราภาวนา นั่งสร้างจังหวะ เดินจงกรม
ต้องพิจารณาถึงการได้การเสีย
ให้เป็นนิสัยเอาไว้
บางคนทำไปเรื่อยๆ เปื่อยๆ
ไม่ได้จับประเด็นนี้
เวลาอะไรเกิดขึ้นก็ทำใจไม่ได้
เพราะในช่วงนั้นมันไม่เกิดปัญญา
ทำความเพียรแต่ไม่เกิดปัญญา
ไม่ทำให้เกิดทักษะในใจ
แต่ว่าไม่ได้ให้พิจารณาเป็นธรรมวิจารณ์
ธรรมวิจารณ์ หมายความว่า
สิ่งที่เรากำลังพิจารณา
ไม่สัมพันธ์กันกับสิ่งที่เกิดขึ้น
เป็นเหตุเกิดทุกข์
ทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน
เพราะนำเรื่องที่เกิดในอดีตมาพิจารณา
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับเราขณะนี้
เช่น ยุงกัด คัน เราไม่อยากให้มันกัด
ความอยากและไม่อยาก
เป็นเหตุของทุกข์
เราก็กระวนกระวายหายากันยุง
เพราะเราไม่อยากให้ยุงกัด
เราอยากสบาย
เวลาอะไรมาไต่มาตอม
เราก็รู้สึกหงุดหงิดรำคาญ
ความไม่อยากเกิดขึ้น เป็นวิภวตัณหา
ความอยากสบาย ไม่มียุง
เป็นกามตัณหา
แต่พอยุงมากวน เป็นวิภวตัณหา
มันเกิดในขณะนั้นเลย
แล้วรู้ทันมันหรือเปล่า
เพราะเราไม่นำเรื่องนี้มาใคร่ครวญ
ให้เป็นนิสัยของจิต
เมื่ออะไรมากระทบปั๊บ มันนึกไม่ทัน
ว่าอันนี้คือความอยาก
มีความเป็นเราเป็นยุง
ทำให้การภาวนาเสียไปเลย
แต่เมื่อมีสติขึ้นมา
เรามีหน้าที่ปัดเป่าไป
โดยไม่ต้องอยากให้มันกัดหรือไม่กัด
มันก็เกิดมิติใหม่ขึ้นมา
พอเกิดกุศลจิตก็ได้สติ
ตัวธัมมวิจยะสำคัญตรงนี้เอง
คือนำสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนั้น
มาพิจารณาดูเสมอในช่วงภาวนา
ไม่ใช่ทำไปทื่อๆ ซื่อๆ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#รู้ซื่อๆหรือรู้ซื่อบื้อ
คำว่ารู้สึกซื่อๆ มีความหมาย
ถ้าเราเข้าใจถูกก็ถูก เข้าใจผิดก็ผิด
เข้าใจผิดหมายความว่า
ซื่อแบบไม่รู้อะไร แบบซื่อบื้อ
เขาเรียกว่าอุเบกขาเวทนา
แต่ซื่อแบบเฝ้าดูอย่างระมัดระวัง
แบบยาม มันเฝ้าดู
มันพร้อมที่จะจัดการทันที
เมื่อมีอะไรไม่ชอบมาพากล
เหมือนเราเฝ้าดูอาการหนักเบา
เข้าออก สบาย ไม่สบาย ดูซื่อๆ
ถ้ามันเกินขอบเขตที่เราจะทนได้
ก็จัดการทันที
แต่นี่ไม่ เรานั่งแช่ ทั้งง่วง ทั้งปวด ทั้งเมื่อย
ก็นั่งแช่อยู่อย่างนั้น
บอกให้รู้ซื่อๆ ฉันก็ซื่อๆ อย่างนี้
ก็เรียกว่าซื่อบื้อ
ไม่ใช่ซื่อแบบมีปัญญา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#ธรรมวิจัยหรือธรรมวิจารณ์
การตามรู้เป็นธัมมวิจยะ
ตามรู้เพื่อละเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
ตามรู้ทางกาย ท่านใช้คำว่าบำบัด
ส่วนที่เป็นสมุทัยทางใจ ให้ตัดไป
ร่างกายนี้ เราจะตัดทุกขเวทนา
ให้เด็ดขาดจากกายไม่ได้
ได้แต่บำบัด ทำหนักให้เป็นเบาเท่านั้น
แต่ทุกข์ที่มันไปเกิดกับใจ
พอใจ ไม่พอใจ ตัดได้เลย
เพราะมันเป็นนามธรรม
ไม่มีสาร แบบรูปธรรม
อันนี้สำคัญ
เผลอนิดเดียวมันกลายเป็นวิจารณ์
ถูกนิดเดียวกลายเป็นวิจัย
คำว่าวิจัยคือตามรู้ให้ชัด ปะชานาติ
ทางกาย ถ้ามันเกินจำเป็น
เกินเหตุที่ทนไม่ได้ ตัดออก บำบัดออกไป
ทางใจ มันเกิดไปชอบไม่ชอบ ตัดทันที
ตามรู้เพื่อสิ่งนั้น
แต่ถ้าไม่ตามรู้เพื่อสิ่งนั้น
มันกลายเป็นพิจารณา
อาการทางกายไม่ค่อยน่าไว้ใจ
ฉันก็ไม่บำบัด
เข้าไปเป็นความพอใจไม่พอใจ
ฉันก็ไม่ตัด
อย่างนี้เรียกว่าเป็นวิจารณ์ ไม่ใช่วิจัย

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#พิจารณาไม่ใช่คิด
เวลาทำความเพียร เดินจงกรม สร้างจังหวะ
ให้เฝ้าดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
ระวังว่ามันจะแฉลบ
ไปเป็นวิจารณ์ง่ายมาก
เพราะเป็นนิสัยเดิมของเรา
คือพิจารณาเกินจำเป็น เกินเหตุ
มันมีเค้าความจริงอยู่
ความปวดก็มีจริงอยู่
เราไปพิจารณาว่า
ความปวดนี้ไม่เที่ยง
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สัตว์ทั้งหลายก็มีความปวดเป็นธรรมดา
เตลิดเปิดเปิงไปเลย
มันก็เลยลืมสภาวะที่ปวดจริงๆ
ในขณะนั้น
แล้วคนทั่วไปในแง่ของสมถะ
เขาก็สอนกันแบบนี้
ว่าพิจารณาแล้วให้ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์
ให้พิจารณาเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
โดยที่ไม่เห็นสาระที่แท้จริงก่อน
ในแง่ของวิปัสสนา
ให้สลัดไปทั้งสองอย่าง
ทั้งความคิดดีหรือไม่ดี
ถ้ามันไม่เกี่ยวข้องด้วยสภาวะปัจจุบัน
ไม่แก้ไขปัญหาตรงนั้น เป็นวิจารณ์หมด
ถ้าแก้ไข ตามรู้ และบำบัด
อาการทางกาย เป็นวิจัย
ถ้าเข้าไปสู่ใจ เกิดความชอบ ไม่ชอบ
ตัดออก ก็เป็นวิจัย
ถ้ามัวแต่ไปพิจารณา
ร่างกายควรบำบัด แต่ไม่บำบัด
สิ่งที่เข้าไปสู่ใจ ชอบ ไม่ชอบ เกิดขึ้น
แทนที่จะตัด คุณไม่ตัด
อันนี้เป็นวิจารณ์แล้ว

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#กุศลแปลว่าตัด
มัวแต่ไปคิดในสิ่งที่เป็นกุศลดีๆ
แต่เหตุปัจจุบันไม่จัดการ
เป็นวิจารณ์หมด
ถึงแม้จะเป็นกุศลก็ตาม
ท่านใช้คำว่า ปุญญาภิสังขาร
ไม่ใช้คำว่ากุศล
กุศลแปลว่าตัด
ตัดในสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
แต่ที่เราไปพิจารณา
เรียกว่าปุญญาภิสังขาร
ยังเป็นสังขารอยู่
มีสามสังขารที่ต้องตัด
เรื่องดี แต่ไม่เกี่ยวข้องกับความจริง
เรื่องไม่ดี อปุญญาภิสังขารก็ต้องตัด
เรื่องที่ยังไม่แน่ว่าจะดีหรือไม่ดี
ก็ต้องตัดไปก่อน เป็นความสงสัย
ท่านใช้คำว่า อเนญชาภิสังขาร
ขึ้นอยู่กับเจตนาของเรา
เราปล่อยให้มันปรุง
เพื่อที่จะเห็นสภาวะบางอย่างให้ชัด
ลองปรุงไป ลักษณะนี้เราเป็นผู้จัดการ
ถือว่าเป็นธรรมวิจัย
แต่ปรุงไปโดยที่จัดการอะไรไม่ได้
เป็นธรรมวิจารณ์ เป็นอกุศล
แม้เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องดีก็ตาม
เพราะมันไม่เกี่ยวข้องกับสภาวะปัจจุบัน
อยู่ที่ว่าเราจัดการมัน
หรือมันจัดการเรา
ถ้าเราจัดการมัน เป็นธรรมวิจัย
ถ้ามันจัดการเรา เป็นธรรมวิจารณ์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#ความอยากเป็นเหตุแห่งความพอใจไม่พอใจ
ขณะที่เราปรารภความเพียร
ถ้าเต็มไปด้วยความเบื่อหน่าย เซ็ง
เมื่อไรจะหมดเวลา
เป็นธรรมวิจารณ์หมด
เป็นอกุศลหมด
ปฏิบัติมานาน ทำไมมันไม่ไปไหน
เพราะอยู่ในอกุศลตลอด
ทำเหมือนกัน แต่ไปคนละทาง
ทำไมไม่นำเรื่องนี้มาพูดตั้งแต่วันแรก
เพราะว่าตอนนั้นยังไม่มีสภาวะรองรับ
ถ้าพูดตั้งแต่วันแรก ก็เป็นธรรมวิจารณ์
แต่มาพูด ณ วันนี้
เริ่มแยกออกแล้วว่า มีสภาวะรองรับ
ว่าวิจัยมันคืออย่างนี้ คือมีเหตุ
แล้วเหตุที่เกิดขึ้นให้วิจัย มีตลอดเวลา
ความหนัก เบา ชอบ ไม่ชอบ
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง
ทุกข์มีตลอดเวลา
ธรรมวิจัยก็ทำตลอดเวลา
คือการบำบัดทุกข์ทางกาย
และตัดเหตุแห่งทุกข์ทางจิต
มีได้ตลอดเวลา
แต่ร่างกายที่มันเกินจำเป็น เกินเหตุ
อย่าว่าแต่ทุกข์ แม้แต่ความสบายเกินเหตุ
มันก็ทำให้เกิดโสมนัส
เกิดอภิชฌา อยากให้ได้มากๆ
อยากให้สงบมากๆ ก็ต้องตัด
แต่โดยที่เราไม่ได้รายละเอียด
เรื่องธรรมวิจัย เรากลับชอบ
อยากให้สงบมากกว่านี้
อยากให้ลึกมากกว่านี้
อยากให้นานมากกว่านี้
เราแยกไม่ออก ก็จะเป็นอภิชฌา
พอมันไม่นานอย่างที่ใจคิด
พอมันไม่สงบลึกอย่างที่ใจคิด
รู้สึกไม่ชอบ แล้วก็ถอนไม่ได้
สมมติมีใครมาชวนคุยตอนที่สงบดีๆ
มันกลายเป็นโทมนัสไปเลย

 

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#ความเพลินคือสะพานทุกข์กายไปสู่ใจ
เหตุปัจจัยเหล่านี้
ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดมาก
การภาวนา ให้ดูอะไรต่างๆ ให้ละเอียดขึ้น
ถ้ามันไม่มีเหตุให้ดูทางใจ
ก็มาดูทางกายให้ชัดๆ
ทางกายในฝ่ายบวก
ก็หมายความว่าเราเพลินในสุข
ทางกายในฝ่ายลบ
ก็คือเราเพลินในความทุกข์
ตัวเพลินนั้นเอง มันจะทำให้
สุขทุกข์ สบายไม่สบายทางกาย
กลายเป็นชอบไม่ชอบทางจิต
พระพุทธเจ้าตรัสเสมอว่า
ให้ละนันทิ ให้ละความเพลิน
เพราะตัวเพลิน มันจะเชื่อมต่อ
ความสบาย ไม่สบายทางกาย
ไปสู่ความชอบ ไม่ชอบทางจิต
มันยากที่จะละความเพลิน
เพราะในชีวิตจริงของเรา
ต้องการที่จะมีความเพลิดเพลินอยู่แล้ว
สนุกกับการกิน การดื่ม
ถ้าทำอะไรไม่สนุก ไม่เพลิน
รู้สึกไม่มีความสุขเลย
มันยากเพราะมันเป็นนิสัย
ทุกคนต้องการให้เกิดอยู่แล้ว
แต่ ณ วันนี้เราต้องการให้ตัดมัน
ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทำได้
ด้วยการพิจารณาโทษของมัน
นันทิมีโทษตรงที่ว่า
มันเชื่อมต่อสุขทุกข์ภายนอก
ไปสู่สุขทุกข์ภายใน
ดีชั่วภายนอก ไปสู่ดีชั่วภายใน
แต่ถ้าเราไม่เพลินในสุขในทุกข์
สุขทุกข์ภายนอก ดีชั่วภายนอก
ก็ไม่สามารถไปเป็น
สุขทุกข์ และดีชั่วภายในได้
เพราะอาศัยตัวเพลินเป็นสะพาน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#ธัมมวิจยะจะนำไปสู่อุเบกขาสัมโพชฌงค์
#ธรรมวิจารณ์จะนำไปสู่อุเบกขาเวทนา
เวลาทำไป แทนที่เราจะตรวจสอบ
ที่ความสุขความทุกข์
เราตรวจสอบที่ความเพลิน ความแช่
พิจารณาความสงบว่ามันอยู่ได้นานไหม
มันคงที่ไหม โดยที่ไม่ต้องไปเสพ
ถ้าความสงบเกิดแล้ว
เราจะดูว่ามันจะอยู่ได้นานแค่ไหน
ลักษณะนี้ถูกแล้ว
เพราะเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
สักพักพอมันเปลี่ยนไป
เราก็ไม่ได้เกิดความรู้สึกเปลี่ยนแปลงในใจ
เพราะเราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว
อนัตตา มันตั้งอยู่ไม่ได้ มันแปรปรวน
ถ้ารู้สึกตัวต่อไป
โดยที่ไม่พิจารณาสภาวะที่เกิด
ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เราเพิกเฉยต่อสภาวะนั้นเสีย
การพิจารณานั้นไม่ถูก
เรียกว่าเป็นอุเบกขาเวทนา
คือเป็นลักษณะซื่อบื้อ
ไม่ได้เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์
แต่ถ้าเราดูว่า
ความสบาย ความปลื้ม ความเบิกบาน
เกิดขึ้นแล้ว และพิจารณาต่อไปว่า
มันแปรปรวนไหม มันเที่ยงไหม
ดูมันไปเรื่อยๆ
มันอยู่ได้เท่าไร ก็พิจารณาไปเท่านั้น
โดยที่ไม่ต้องไปเสพมัน
เดี๋ยวมันก็จะเปลี่ยนแปลงให้เราเห็น
อันนั้นเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์
เป็นธัมมวิจยะ
ธัมมวิจยะจะนำไปสู่อุเบกขาสัมโพชฌงค์
แต่ธรรมวิจารณ์จะนำไปสู่อุเบกขาเวทนา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#อุเบกขาเหมือนยาม
อุเบกขา มาจากคำว่า อุปะ กับ อิกขะ
อิกขะ แปลว่าเห็น
อุปะ แปลว่าเข้าไป
เข้าไปเห็น เข้าไปเฝ้าดู
ไม่ใช่เฉยๆ
แต่เรามาแปลว่าวางเฉย
แต่ที่จริงเข้าไปดู
เมื่อมีเหตุปัจจัยอะไรต้องแก้ไข
เข้าไปดู เฝ้าดูเอาไว้
เมื่อมีอะไรขยับ ผิดปกติ
ให้จัดการทันที
เรียกว่าอุเบกขา
เท่ากับยามนั่นเอง
เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยอะไร ก็นั่งอยู่เฉยๆ
สะพายปืนเดินไปทั้งวัน
แต่เมื่อมีอะไรผิดปกติขึ้นมา
พร้อมจัดการทันที
นั่นคือลักษณะอุเบกขา
ที่เป็นสัมโพชฌงค์
ดังนั้น ตัวอุเบกขาคือตัวปัญญา เฝ้าดู
ดูความเปลี่ยนแปลงว่าปกติไหม
ถ้ามันปกติก็ดูไปเรื่อยๆ
ถ้าผิดปกติปั๊บ จัดการทันที
นั่นคือลักษณะของอุเบกขา
เพราะอุปะ แปลว่าเข้าไป
อิกขะ แปลว่าดู
เข้าไปตามดู
แต่เราแปลว่าดูเฉยๆ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#สติสัมโพชฌงค์เฝ้าดูความเพลิน
เมื่อเรามีสติสัมโพชฌงค์
คอยเฝ้าดูอาการเชื่อมระหว่าง
ความเปลี่ยนแปลงภายนอก
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่อยู่กับกาย
ไม่ให้เข้าไปสู่จิต
โดยตามดูว่าเราแช่ในอาการ
ความพอใจไม่พอใจ ชอบไม่ชอบไหม
การเข้าไปดูความเพลินตรงนั้น
เป็นสติสัมโพชฌงค์
มันเป็นการเชื่อมต่อระหว่างกายกับจิต
และถ้าเข้าไปละตรงนั้นได้
เป็นธัมมวิจยะ
การที่เราไม่สามารถห้าม
ความสบาย ไม่สบาย ได้
เพราะมันเป็นกฎของอนิจจัง
มันต้องทำงานตลอดเวลา
การภาวนานั้นเป็นการเข้าไปเฝ้าดู
ความสบายไม่สบาย ความสุขความทุกข์
ที่เกิดขึ้นกับกาย กับรูป
แล้วเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลง
โดยไม่เพลิน
เวลาไม่สบาย เราก็ไม่เกิดปฏิฆะ หรือไม่ชอบ
เวลาสบาย เราก็ไม่เพลินในอาการนั้น
ไม่แช่ทั้งสุขและทุกข์
การเฝ้าดูและคอยบำบัด
เป็นสติสัมโพชฌงค์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#สติสัมโพชฌงค์เหมือนหัวขบวนรถไฟ
พอสติสัมโพชฌงค์ถูก
องค์ต่อมาก็ถูกหมด
ธัมมวิจยะ ปีติ ปัสสัทธิ ฯลฯ
มันจะถูกต้องหมดเลย
เพียงแต่ให้หัวขบวนมันถูก
เหมือนรถไฟ จะมีกี่โบกี้ก็ตาม
ไปตามกันหมด
ถ้าหัวขบวนไปผิดทาง
กี่โบกี้ก็ผิดหมด
ธรรมสัมโพชฌงค์มีเจ็ดข้อ
ถ้าหัวขบวนเป็นสัมมาสติ
หรือเป็นสติสัมโพชฌงค์
มันก็ไปด้วยกันหมดเลย
แต่ที่ต้องแจงว่า
ธัมมวิจยะเป็นอย่างนี้
ปีติ ปัสสัทธิ เป็นอย่างนี้
เพื่อให้รู้ว่าแต่ละโบกี้มีอะไรบ้าง
แต่อยู่ที่หัวขบวนเป็นสำคัญ
หัวขบวนต้องเป็นสัมมาสติ
เราเรียกว่า สติสัมโพชฌงค์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#ปรับเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อลดละความเพลิน
เวลาเราทำความเพียร
เรารู้สึกว่าอะไรผิดปกติ
เราต้องปรับเปลี่ยนแล้ว
เพราะถ้าเลยไปกว่านั้น
เราจะเพลินไปหรือเปล่า
ที่เราปรับเปลี่ยน
ไม่ใช่ว่าชอบหรือไม่ชอบ
แต่เราต้องการละความเพลิน
เพราะถ้าแช่ไปนานๆ
ขี้เกียจเปลี่ยน
มันก็เพลินในทุกขเวทนา
ความสบายนานๆ
เราแช่อยู่นานๆ
ก็เป็นสุขเวทนา
เราเพลินใน สุขเวทนา ทุกขเวทนา
ก็กลายเป็นความชอบหรือไม่ชอบ
เป็นสมุทัยแล้ว
เรียกว่าอภิชฌา โทมนัส
ต้องผ่านตัว โสมนัส โทมนัส
ก่อนที่จะเป็น อภิชฌา โทมนัส
ผ่านความพอใจ ไม่พอใจ เสียก่อน

 

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#สติสัมปชัญญะเครื่องกรองไตรลักษณ์จากรูปสู่นาม
เมื่อกฎไตรลักษณ์ทำงานตลอดเวลา
การปฏิบัติของเรา
ก็คือเข้าไปตามรู้ กำหนดรู้
กฎไตรลักษณ์ที่มันทำงาน
เพื่อที่จะละความเพลินในสุขในทุกข์
ไม่ให้ไหลไปสู่จิต
แต่ในเมื่อสติสัมปชัญญะเรา
ไม่สมบูรณ์
เราระวังร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้
บางส่วนก็หลุดรอดเข้าไป
แอบชอบ แอบไม่ชอบอยู่
เราก็ตามไปละความอยาก ตรงนั้นอีก
แต่สติสัมปชัญญะเรา
ก็ยังไม่สมบูรณ์อยู่ดี
ความพอใจไม่พอใจชั้นละเอียด
มันก็ไหลลื่นต่อไป
เป็นความอยาก เป็นตัณหา
กามตัณหา ภวตัณหา ไปเรื่อยๆ
ความละเอียดของสติสัมปชัญญะ
จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะกรอง
ความเปลี่ยนแปลงทางรูป
ไม่ให้ไปสู่นาม

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#โยนิโสมนสิการในสามขั้นตอน
เราจึงต้องใช้ความแยบคาย
ท่านใช้คำว่า โยนิโสมนสิการ
เฝ้าดูให้ละเอียดแยบคาย
ทั้งสามขั้นตอน
เริ่มนั่งสร้างจังหวะ
เกิดความไม่สบายขั้นละเอียด
นานไปนิดหนึ่ง ก็จะเกิดเป็น
ความไม่สบายขั้นกลาง
ภาวนาอีกนิด ก็จะกลายเป็น
ความไม่สบายขั้นหยาบ
หยาบ กลาง ละเอียด
ความไม่สบายขั้นละเอียด
เราเรียกว่าสุขเวทนา
ความไม่สบายขั้นหยาบ
เรียกว่าทุกขเวทนา
เพราะการเปลี่ยนแปลงมันเป็นทุกข์อยู่แล้ว
แต่บางครั้งมันทุกข์น้อย เราก็รู้สึกสบาย
เรียกว่าสุขเวทนา
แต่พอทุกข์มันหยาบขึ้น
จนไม่สบาย ทนไม่ได้ ก็เป็นทุกขเวทนา
มันก็มีผลต่อจิตแล้ว
ถ้าเป็นความสบายอยู่ จิตก็ชอบ
แต่ถ้ารู้สึกไม่สบาย จิตก็ไม่ชอบ
เป็นสมุทัย เกิดขึ้นตรงนั้น

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#วิริยะสัมโพชฌงค์สี่ประการ
พอเราพิจารณาเช่นนี้
ท่านใช้คำว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
ต่อจากตัวธัมมวิจยะ
ก็เป็นวิริยะสัมโพชฌงค์
วิริยะสัมโพชฌงค์ ก็หมายถึงว่า
ต้องพิจารณาสี่ประการ คือ
หนึ่ง เฝ้าระวังความสุขทุกข์
ทั้งละเอียด ทั้งหยาบ ให้ดี
แต่เนื่องจากสติสัมปชัญญะเรา
ยังไม่สมบูรณ์
จะเฝ้าระวังขนาดไหน
มันก็ยังเล็ดลอดอยู่ได้
มันก็ต้องเกิด เมื่อไปเกิด ก็ต้องตัด
รู้ว่าความพอใจเกิด
ก็ให้ตัดทันที เรียก ปหานปธาน
อันที่สองของธัมมวิจยะ
เราจะคอยตัด คอยแก้ ไม่เวิร์ค
จะต้องพอกพูนความรู้สึกตัวให้ชัดขึ้น
เหมือนเราเอาไฟฉายแค่ห้าแรงเทียน
ไปส่องของละเอียดในที่มืด
ส่องเท่าไรมันก็ไม่เห็น
ของมันเล็ก แต่แสงไม่พอ
วิธีการคือเร่งแสงสว่างให้มากขึ้น
เพื่อหาของชิ้นเล็กได้เจอ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์นวัตกรรมการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

#ญาณปัญญาส่องหาทุกข์ละเอียด
ความละเอียดอ่อนของ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่อยู่ทางกาย
ในชั้นสุขเวทนา เป็นทุกข์ที่ละเอียด
แต่เรามองว่าเป็นสุข
ไม่ได้มองว่าเป็นทุกข์
ถ้าไม่เกิดตัวปัญญาที่สว่างกว่านี้
ก็จะมองไม่เห็นว่ามันเป็นทุกข์
เราจะเห็นว่ามันเป็นสุขอยู่ดี
เนื่องจากตัวญาณปัญญาของเรา
ยังไม่สว่างพอ
เราก็ต้องมาทำตัวที่สาม คือ
พัฒนาตัวรู้สึกตัวให้ชัด
เรียกว่า ปชานาติ
เมื่อมันชัดแล้ว
ตัวที่สี่คือ อนุรักขณาปธาน
เราก็อยากให้มันสว่างอย่างนี้นานๆ
ไฟฉายแรงอ่อนลง ก็ต้องเปลี่ยนถ่าน
รีบไปชาร์จไฟ
ในการภาวนาก็เช่นเดียวกัน
เมื่อความรู้สึกตัวมันเริ่มอ่อนลงไป
เรารีบเปลี่ยนถ่านทันที
โดยการเปลี่ยนอิริยาบถ
แต่นี่ไม่เปลี่ยน
ฉันก็ใช้มันจนไม่มีเหลือ
นั่งแช่มันอยู่อย่างนี้
เดินก็เดินอยู่อย่างนั้น
ไม่ยอมเปลี่ยนอิริยาบถ
จนถ่านหมด ก็หาของไม่เจอ
มันเป็นพฤติกรรม
ที่เป็นรูปธรรมมากเลย
ในชีวิตประจำวัน
แต่ทำไมเราโยงไปสู่นามธรรมไม่ได้
เนื่องจากดวงตาธรรมของเรา
เกิดแล้วก็จริง
แต่ยังไม่สว่างเต็มที่
มันก็จับผิดบ้างถูกบ้างไปเรื่อยๆ
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม

 

ไฟล์เสียงคอร์สโพธิปัญญา