ปฐมาจารย์เซนแห่งประเทศสยาม ตอนที่ ๕

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตาในเกิดขึ้นได้อย่างไร

เราจะทำให้ตาในสว่างไสวตลอดเวลาได้อย่างไร

สมัยที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรม
แก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า
ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรก
ของพระพุทธองค์
ที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

พอพระองค์เทศน์จบ
พระอัญญาโกณฑัญญะ
ผู้มีอาวุโสสูงรองจากพระองค์
เมื่อได้ฟังธรรมจบแล้วก็ได้ดวงตาใน
โดยได้เปล่งอุทานขึ้นในขณะนั้นว่า

“ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง
สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ”

ที่แปลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดก็ย่อมมีการดับสลายไปเป็นธรรมดา”

เพราะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุให้เกิด
เมื่อหมดเหตุก็จบ
นี่เรียกว่า มีดวงตาเห็นธรรม

เมื่อใดที่พระองค์แสดงธรรมจบลง
ใครคนใดคนหนึ่งเข้าใจธรรม
ในสิ่งที่พระองค์แสดงอย่างแจ่มแจ้ง

พระองค์ก็องค์ก็จะเรียกคนๆ นั้นว่า
ได้ธรรมจักษุ หมายความว่า
ได้ดวงตาเห็นธรรม

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

นิพพานไม่มีการเกิด จึงไม่มีการดับ

พระพุทธองค์จึงทรงให้นาม
แก่ท่านใหม่ว่า
พระอัญญาโกณฑัญญะ
 
แปลว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
แล้วนั้นเอง
คือรู้ว่าไม่มีสิ่งใดที่เกิดแล้วไม่ดับ
 
หรือไม่มีใครที่เกิดแล้ว
ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
 
รูปธรรม นามธรรมทุกอย่าง
ล้วนเดินตามกฎของ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาหมด
 
นอกจากพระนิพพาน
เพราะนิพพานไม่มีการเกิด
จึงไม่มีการตายตามมา
 
นิพพานเป็นสภาวธรรม
ที่ดำรงอยู่ก่อนแล้ว
ไม่มีอะไรจะสร้างได้
แต่เราเข้าไปใช้ได้
 
เหมือนดิน ฟ้า อากาศ
มีอยู่ก่อนเราเกิด
เมื่อเราอยากมีชีวิตอยู่เราก็ใช้ไป
เมื่อไรเราใช้ไม่ได้ เราตายไป
ดิน ฟ้า อากาศก็ยังอยู่
ไม่ได้ตายไปกับเรา
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตาในเห็น โลภ โกรธ หลง

ดังนั้น เราจึงต้องแสวงหาตาใน
เพราะตาในจะทำให้เราให้รู้จัก
ความโลภ โกรธ หลง
ว่าเป็นอันตรายอย่างไร
 
ที่เรายังต้องโลภ โกรธ หลง กันอยู่
เพราะเรายังไม่เห็นไม่รู้อันตรายของมัน
ตามความเป็นจริง
 
แม้พวกเราทุกคน
จะมีตานอกดีขนาดไหนก็ตาม
ถ้าตาในยังไม่เปิด
เราก็ยังมีอันตรายรอบด้าน
 
เพราะอันตรายภายนอก
มีผลกระทบต่อเราได้ทุกอย่าง
เพราะไม่มีตาในนั่นเอง

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตาในกลายเป็นตาทิพย์

เราจะทำอย่างไรให้ตาในของเราดี
ดวงตาในของเราแจ่มใส
เห็นได้ทะลุปรุโปร่งและรอบด้าน
ที่เรียกว่า “ตาทิพย์”
 
ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นไปว่า
ได้มองเห็นอะไรที่อยู่ใต้ดิน
ว่ามีทรัพย์สิน มีเงินมีทอง
ข้าวของสมบัติอันมีค่า
 
หรือเห็นอะไรที่ไกลๆ
ออกไปจากตัวเอง
 
คำว่าทิพย์ แปลว่า สว่างภายใน,
เห็นภายในเท่านั้นเอง
ไม่ใช่เห็นข้างนอก
 
เวลาที่เราไปหาหมอดู หมอเดา
หมอมดหมอผี หมอทรง
ไปถามว่าของที่หายอยู่ที่ไหน
ถ้าหมอพวกนั้นบอกถูก
ก็พูดกันว่า มีตาทิพย์
 
ตาทิพย์ อย่างนี้ถูกต้องไหม
ตาทิพย์แบบนี้
ไม่ใช่ตาทิพย์ตามหลักพุทธศาสนา
เป็นตาทิพย์นอกพุทธศาสนา
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ตาทิพย์ในพุทธศาสนาเป็นอย่างไร

ตาทิพย์ในพุทธศาสนาคือ
มองเห็นว่า ความโลภ โกรธ หลง
เป็นอันตราย
 
เมื่อมองเห็นความโลภ
เป็นอันตรายแล้วไม่โลภ
 
มองเห็นความโกรธ
เป็นอันตรายแล้วไม่กล้าโกรธ
 
และมองเห็นความหลง
ว่าเป็นอันตรายแล้วไม่กล้าหลง
 
นั้นเป็นตาทิพย์แบบพุทธแท้ๆ
 
แต่เมื่อเรามองเห็น
ความโลภ โกรธ และหลงแล้ว
แต่ยังโลภ โกรธ หลง กันอยู่
แสดงว่ายังไม่เกิดตาทิพย์
 
เพราะรู้แล้วว่า
ความโกรธเป็นอันตราย
แต่ก็ยังโกรธอยู่
 
มองเห็นความหลงเป็นอันตราย
ก็ยังหลงอยู่
 
แสดงว่ายังไม่เห็นด้วยตาทิพย์
เพราะตาในของเรายังไม่เปิด
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

เราจะเห็นความโลภ ความโกรธ ความหลง

ว่าเป็นภัยอันตรายได้อย่างไร

มีนิทานเซ็นอยู่เรื่องหนึ่ง ลูกศิษย์ไปถามอาจารย์เซ็นองค์หนึ่งว่า

ลูกศิษย์ : ผมอยากเห็นนรก อยากเห็นสวรรค์ครับ ถ้าอาจารย์แน่จริงเอาออกมาให้ผมเห็นเดี๋ยวนี้ได้ไหม

อาจารย์ : ก็ได้…

ขณะลูกศิษย์กำลังตั้งใจฟังคำตอบอย่างตั้งใจ อาจารย์ก็ยกน้ำชาสาดใส่หน้าลูกศิษย์คนนั้นแบบตั้งสติไม่ทัน ก็บันดาลโทสะสุดขีด จึงชักกระบี่ออกมาอย่างไม่รู้ตัวด้วยความโกรธ กะว่าจะแทงอาจารย์ให้มิดกระบี่ แต่อาจารย์ผู้บรรลุธรรมแล้ว ก็ไม่รู้สึกตกใจกลัวแม้แต่น้อย แต่กลับชี้หน้าบอกลูกศิษย์ที่กำลังโกรธ ตะโกนบอกศิษย์ด้วยเสียงปนหัวเราะ ดังลั่นทั้งศาลาทันทีว่า

อาจารย์ : นั่นๆ เห็นไหมๆ นรกเกิดแล้วๆ นรกเกิดแล้ว เธอเห็นนรกไหมๆ

ลูกศิษย์ : ไหนล่ะ

อาจารย์ : ก็ท่านกำลังโกรธนั้นไง…เห็นไหมๆ ท่านเห็นนรกของจริงไหม นรกเกิดแล้ว แกก็ตกนรกแล้วด้วย รีบขึ้นมาไอ้หนูรีบขึ้นมา…

ลูกศิษย์ : ออ อ่อ อ้อ อ๋อ…อ…อ…อ…เห็นแล้วขอรับอาจารย์…

ลูกศิษย์ได้สติขึ้นมา ก็วางกระบี่ พร้อมกับก้มลงกราบท่านอาจารย์ทันที

อาจารย์ : นั่น สวรรค์เกิดขึ้นแล้ว เห็นสวรรค์ไหม

ลูกศิษย์ : ไหนละ สวรรค์ อาจารย์

อาจารย์ : นั่นไง ที่แกได้สติ แล้วใจเย็นลง นี่แหละ…เรียกว่าสวรรค์หละ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ความไม่พอใจ : เหตุต้นของความโกรธ

ความโลภ ความโกรธ ความหลง
จะปรากฏให้เราเห็น
ต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อน
มิใช่ว่า จู่ๆ จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ
 
แต่เพราะเราประมาทขาดสติจนเคยชิน
เราก็ยังไม่รู้สึกว่ามันกำลังจะเกิด
 
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
เป็นผลของการขาดสติ
อย่างต่อเนื่องนั้นเอง
 
ที่จริงแล้วความโลภ ความโกรธ ความหลง
ไม่ได้มีตลอดเวลา
มีเหตุจึงเกิด เมื่อไม่มีเหตุก็ดับ
เราต้องระวังที่เหตุของมัน
 
ขณะที่อ่านหนังสืออยู่ในขณะนี้
มีใครอยากโกรธกันบ้างไหม
มีใครเกิดรู้สึกไม่พอใจกับใครบ้างไหม
ก็ไม่มีนะ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ความไม่พอใจทีละนิด เหมือนดินพอกหางหมู

ความไม่พอใจเป็นเหตุ
ของความโกรธชั้นต้นๆ เลยนะ
ก็มีเหตุมาจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ นี่แหละ
 
เช่น นั่งรอนาน
ก็เกิดอาการไม่พอใจแล้วใช่ไหม
ทานอาหารไม่อร่อย ก็ไม่พอใจแล้ว
หรือเขาพูดไม่ถูกใจ ก็ไม่พอใจ
 
ความโกรธหรือโทสจริต
เริ่มมาจากความไม่พอใจ
ที่สะสมทีละนิดๆ นี่แหละ
ที่เขาเรียกว่า ดินพอกหางหมู
 
ดินพอกหางหมูไปทีละนิดๆๆ
ไม่ใช่พอกทีเดียวเต็มหางหมู
 
ดังนั้น ความโกรธก็มาจาก
ความไม่พอใจทีละนิดๆ
 
แล้วในชีวิตประจำวันของเรา
ความพอใจกับความไม่พอใจ
อันไหนมากกว่ากัน
 
ถ้าเป็นคนใจดีความพอใจก็มากกว่า
ถ้าหากเป็นคนใจไม่ดีหรือใจร้าย
มักจะมีแต่อารมณ์หงุดหงิด
โมโหง่าย เครียด
ความไม่พอใจจะมีมากกว่า
แล้วแต่เชื้อของมัน
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ความหลงหรือโมหะ

สาเหตุของทั้งโลภะและโทสะ

ความพอใจเป็นเหตุต้นๆ
ของความโลภ
 
ทำนองเดียวกันกับความไม่พอใจ
เป็นเหตุต้นของความโกรธนั่นเอง
 
แต่เราคิดว่าความพอใจมันดี
ยากที่เราจะเห็นอันตรายของมัน
 
ตลอดเวลาเราชอบแต่จะสร้าง
ความพออกพอใจให้แก่กันและกัน
เห็นว่าเป็นความดีด้วยซ้ำ
 
ความจริงแล้วความพอใจนั้นเอง
ที่เป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจ
 
ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงหลง
ไม่รู้สัจจธรรมตรงนี้
เราจึงมีแต่หลงเอาใจกัน
 
แต่ถ้าวันหนึ่งต้องมีเหตุขัดใจกัน
แล้วก็โกรธกันไปโกรธกันมา
เป็นชีวิตประจำวัน

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ความพอใจไม่พอใจห้ามไม่ได้

ดังนั้น พระวิปัสสนา
ท่านจึงสอนให้อยู่เหนือ
ความพอใจและความไม่พอใจ
(อภิชฌา และ โทมนัส)
 
ท่านไม่สอนให้เอาใจตัวเอง
และไม่สอนให้ขัดแย้งกับตัวเอง
เพราะจะถูกนำไปใช้กับผู้อื่น
โดยไม่รู้สึกตัว
 
แต่ท่านสอนให้ดูใจตัวเองตลอดเวลา
เราไม่อาจห้ามความพอใจ
และความไม่พอใจได้
 
แต่เราต้องดูต้องศึกษาตลอดเวลา
ที่ความพอใจไม่พอใจเกิดขึ้นมา
 
พอรู้จักดูเป็น
ความพอใจไม่พอใจก็ดับไปเอง
ตามกฏแห่งสัจจธรรม

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

ดูเป็นคือดูเฉยๆ จนดับไป

“การดูเป็น” หมายถึง
การเฝ้าดูด้วยวิปัสสนาญาณ
เห็นแล้วไม่นึกคิดปรุงแต่งต่อ
ตามอำนาจธรรมชาติของมัน
 
ดูเฉยๆ จนอาการนั้นๆดับไป
ต่อหน้าต่อตา
เรียกว่า ดูแบบวิปัสสนาญาณ
 
แต่ถ้าเฝ้าดูไม่เป็น
คือไม่มีการอบรมสัมมาสติปัญญามาก่อน
 
ความพอใจความไม่พอใจ
จะพัฒนาตัวไปเรื่อยๆ เหมือนเชื้อโรค
ถ้าเกิดขึ้นแล้วเราไม่รีบรักษา
ก็ขยายผลมากขึ้นไปๆ
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

นรก สวรรค์ มีจริงหรือไม่

นักปฏิบัติธรรมผู้เข้ามาใหม่ท่านหนึ่ง มาถามผู้เขียนว่า สวรรค์ นรก จริงๆ มีไหม ผู้เขียนจึงถามกลับไปว่าสวรรค์ นรกจริงๆ หมายความว่าอะไร นักปฏิบัติธรรมคนนั้นบอกว่า ไม่ใช่สวรรค์ในอก นรกในใจนะ แต่อยากจะรู้ว่านรกจริงๆ สวรรค์จริงๆ ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ สถานที่ที่คนตายแล้วไปนรกนะ มีจริงๆไหม
 
อาตมาก็หยิบเอาไม้ขีดที่อยู่ใกล้มากล่องหนึ่ง แล้วถามเขาว่า กล่องไม้ขีดนี้มีความร้อนอยู่ไหม เดี๋ยวนี้นะมีความร้อนไหม? นักปฏิบัติท่านนั้นตอบว่า
 
“ไม่มี” ผู้เขียนจึงหยิบไม้ขีดมาขีดไฟติดขึ้น แล้วถามว่า
 
“เดี๋ยวนี้มีความร้อนไหม” นักปฏิบัติธรรมตอบว่า
 
“มี” แล้วผู้เขียนก็ถามต่อไปอีกว่า
 
“แล้วรู้ไหมว่า ความร้อนที่ทำให้ดูเมื่อกี้นะ มาจากที่ไหน” นักปฏิบัติธรรมตอบว่า
 
“มาจากกล่องไม้ขีด”
 
“อ้าว…เมื่อกี้บอกว่า กล่องไม้ขีดไม่มีความร้อน แต่เดี๋ยวนี้กลับบอกว่า มีความร้อนเกิดขึ้นเพราะอะไร”
 
แล้วก็หยิบกล่องไม้ขีดขึ้นมาจุดอีกครั้ง คราวนี้ขีดเบาๆ ไฟก็ไม่ติด ไฟไม่เกิด เป็นเพราะอะไร เพราะเหตุปัจจัยไม่พร้อม ไม่เอื้อต่อการจุดไม้ขีดไฟให้ติด คือน้ำหนักไม่เพียงพอ แล้วถ้าหัวไม้ขีดชุ่มน้ำแล้วนำไปจุดไฟ ไฟก็ไม่ติดเหมือนกัน ถึงจะขีดใส่แรงเต็มที่เลยก็ไม่ติด เพราะว่าองค์ประกอบไม่พร้อมที่จะติด แต่ถ้าหัวไม้ขีดแห้ง อากาศรอบด้านก็มีออกซิเจน ขีดถูกที่และมีแรงพอ อย่างไรก็ต้องคิด
 
ที่ยกตัวอย่างนำมาให้ดู เพื่อจะบอกความจริงที่เป็นรูปธรรมขั้นพื้นฐานแก่ผู้ถามก่อนว่า
 
นรก สวรรค์ ในความหมายที่เราเข้าใจกันจะมีจริงหรือไม่จริง ไม่ใช่ความหมายที่สำคัญ แต่สำคัญว่าเราเห็น รู้จักเหตุของนรกและเหตุของสวรรค์ที่แท้หรือไม่ว่า เหตุของมันคืออะไรต่างหาก
 
เพราะนรกที่แท้ แปลว่า สภาวะจิตที่ไม่เจริญ ไม่ประเสริฐ (น-อริยะ) สวรรค์ที่แท้ แปลว่า สภาวะจิตที่ไปทางเจริญ สุข สงบ (สุ-คติ) สรุปคำตอบก็คือ จิตที่ไม่สบายไม่เจริญ นั้นคือประตูไปสู่นรก จิตที่สบาย สงบสุข เป็นประตูไปสู่สวรรค์ แล้วสภาวะจิตทั้งสองนี้ มีอยู่ในจิตของคนทุกคนหรือไม่ ไปหาคำตอบเอง แล้วจะรู้ว่า นรก สวรรค์ที่แท้จริงอยู่ที่ใด นี่คือคติความเชื่อแบบชาวพุทธ ถ้านอกจากนี้ไม่ใช่พุทธ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

นรก สวรรค์ ไม่ต้องรอวันตาย

ความพอใจเป็นเหตุของความสุข
เมื่อเหตุปัจจัยแวดล้อมพร้อม
ที่จะให้เกิดความสุข
สวรรค์ก็จะเกิดขึ้นได้ทันที
ไม่ต้องรอให้ถึงตายก่อนค่อยไปสวรรค์

แต่เมื่อใดความพอใจถูกขัดขวาง
กลับกลายเป็นความไม่พอใจ
เหตุปัจจัยรอบข้าง
ก็พร้อมให้จิตเป็นทุกข์
นรกก็เกิดทันที
ไม่ต้องรอให้ถึงตายแล้วค่อยไป

ถ้าตายไปขณะจิตโกรธแค้น
ก็ต้องไปนรกแท้ๆ แน่นอน
เพราะมีเหตุเกิดแล้ว

ในหลักของพุทธศาสนา
ถือว่าจิตของคนทุกคน
มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องใสสะอาด
อยู่แล้วโดยธรรมชาติ

แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยแวดล้อม
ที่จะทำให้เกิดโลภ โกรธ หลง
และเจ้าตัวก็ไม่รู้จักจิตตนเอง
ตามความเป็นจริงมาก่อน

คือไม่รู้จักว่าจิตเดิมนั้นสะอาดบริสุทธิ์
และไม่รู้จักพัฒนาตนเอง
ให้มีศีล สมาธิ ปัญญา
ให้เกิดขึ้นในจิตของตน

เมื่อถูกอารมณ์มากระทบ
ไม่มีธรรมะอะไรมาป้องกัน
จิตนั้นต้องเศร้าหมอง
ด้วยโลภ โกรธ และหลงแน่นอน

แต่คติในศาสนาพราหมณ์ถือว่า
จิตทุกดวงมีโลภ โกรธ หลง
ติดตัวมาแต่กำเนิดแล้ว
ในศาสนาอื่นๆ นอกจากศาสนาพุทธ
เขาถือว่าคนทุกคนมีบาปติดตัวมาแต่กำเนิด

แต่ศาสนาพุทธไม่ถือคติแบบนั้น
เราถือว่า ทุกสิ่งจะบังเกิดเพราะมีเหตุ
ถ้าปราศจากเหตุก็ไม่มีผล
ความโกรธ ความโลภ ความหลง
มีก็เพราะมีเหตุ

ดังนั้น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม
จึงเป็นเหตุของทั้งนรกและสวรรค์นั้นเอง

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

องค์ประกอบแห่งการเกิดดวงตาภายใน

การที่เราจะเกิดดวงตาทั้งสอง คือ ดวงตาภายนอก และดวงตาภายใน มีองค์ประกอบ 3 ประการ เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม เพราะท่านถึงพร้อมไปด้วยองค์ประกอบหลักสองประการคือ
 
(1) ปะระโตโฆสะ (กัลยาณมิตตา กัลยาณสหายตา และกัลยาณสัมปะวังกะตา) ขอแยกให้เห็นชัดๆดังนี้
 
1.ได้พระพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดกัลยาณมิตร เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเป็นพระอรหันต์
 
2.ได้พระปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเป็นกัลยาณสัมปะวังกะตา เป็นสถานที่ๆ พระพุทธเจ้าแสดงธรรม ซึ่งเป็นสถานที่ที่สงัด แวดล้อมไปด้วยฝูงป่า แมกไม้ สิ่งแวดล้อมตรงนั้นมีความนั้นมีความสงบสงัด ความสงบสงัดของป่าก็ทำให้ท่านได้สิ่งแวดล้อมที่ดี และบุคคลผู้แวดล้อมส่งเสริมด้วย จึงทำให้ท่านเหล่านั้นได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุพระอรหันต์ภายในสามเดือนเท่านั้นเอง
 
ทั้งสามเงื่อนไขนี้เป็นเพียงองค์ประกอบที่หนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าขาดองค์ประกอบที่สอง การบรรลุธรรมก็เป็นไปได้ยากยิ่ง นั้นคือ
 
(2) โยนิโสมนสิการ พระปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ยังเป็นผู้เปี่ยมล้นด้วยอินทรีย์ห้าและพละห้าอย่างเข้มแข็ง นั้นคือมีกำลังศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว มีกำลังวิริยะ คือความเพียรอย่างต่อเนื่อง มีกำลังสติอย่างถูกต้อง มีกำลังสมาธิอย่างมั่นคง และมีกำลังปัญญาอันคมกล้า นี่เป็นองค์ประกอบสำคัญไม่น้อยไปกว่าองค์ประกอบแรก
 
พระพุทธองค์ทรงตรัสยืนยันว่า ใครก็ตามที่มีคุณสมบัติสองประการนี้แล้ว จะไม่บรรลุธรรมนั้นเป็นไปไม่ได้ ส่วนจะได้ขั้นไหนนั้นก็แล้วแต่วาสนาบารมีของท่านนั้นๆว่าจะแก่กล้าเพียงใด

ดังนั้น การได้ดวงตาเห็นธรรมนั้นจึงไม่ง่ายและไม่ยากเกิน ที่ว่าไม่ง่าย ก็เพราะว่า กว่าเราจะได้พบกับมิตรดี ได้พบสหายดี ได้พบสิ่งแวดล้อมดีนั้นไม่ง่ายเลย และที่ว่าไม่ยาก ก็เพราะว่าถ้าเราได้พบกับบุคคลที่สามารถเป็นกัลยาณมิตร กัลยาณสหาย และสิ่งแวดล้อมที่ดีๆและมีโยนิโสมนสิการอย่างสมบูรณ์ แล้วจะไม่มีความยุ่งยากใดๆ เหลืออยู่เลย ลองพยายามแสวงหาดูสิ แล้วสักวันหนึ่งจะพบองค์ทั้งสามประการนี้ได้

แต่ที่สำคัญเราต้องไม่ท้อถอย ไม่ดูถูกสติปัญญาของตนเอง โดยเฉพาะองค์ประกอบที่สอง อยากจะให้ไปทบทวนกันให้ดี เป็นองค์ประกอบที่เราพัฒนาด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ไม่มีอุปสรรคอะไรที่ต้องพึ่งพาบุคคลหรือปัจจัยภายนอกเลย

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

มิตรกับสหาย ต่างกันอย่างไร

ในพุทธศาสนาถือว่าสิ่งแวดล้อมสำคัญกว่ากรรมพันธุ์ ต่อให้คุณมีกรรมพันธุ์ดีขนาดไหนนะ ถ้าอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี คุณก็จะดีไปได้ยาก แต่ถ้าคุณเกิดมากรรมพันธุ์แย่ขนาดไหน แต่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี คุณก็จะดีได้ง่าย เพราะกรรมพันธุ์เป็นผล แต่สิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ ในพุทธศาสนาจึงเน้นไปที่เหตุ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ และเน้นไปที่เหตุสำคัญของการกระทำ ที่จะให้เกิดคุณงามความดีในใจ มี 3 ประการ คือ

1.มีมิตรดี

2.มีสหายดี

3.มีสิ่งแวดล้อมที่ดี

ในพุทธพจน์กล่าวว่า กัลยาณมิตร กัลยาณสหาย เป็นทั้งหมดของการพัฒนาจิตตั้งแต่ต้นจนจบ คนจะดีจะชั่ว จะถูกจะผิด ขึ้นอยู่กับองค์ธรรม 3 ประการนี้  ในมงคล 38 ประการ พระพุทธเจ้าจะขึ้นต้นอันดับแรกว่า อะเสวนา จะ พาลานัง บัณฑิตานัญจะ เสวะนา

กัลยาณมิตรในพระพุทธศาสนา จะหมายถึง ครูบาอาจารย์ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมาถึงครูอาจารย์ผู้รู้จริงที่เรานับถือกันอยู่ ตั้งแต่ต้นลงมาถึงปัจจุบัน ท่านเหล่านั้นเป็นกัลยาณมิตรของเรา เพราะกัลยาณมิตรที่แท้ หมายถึง ผู้ที่มีประสบการณ์ในสิ่งที่ดีมาก่อนเรา เป็นผู้เข้าถึงธรรมมาก่อนเรา แล้วเราไปคบหาท่าน ท่านก็จะชี้แนะให้เราเห็นธรรมได้เหมือนอย่างท่านด้วย เราจึงเรียกท่านว่า เป็นกัลยาณมิตร

กัลยาณสหาย คือ ผู้ที่ใฝ่ดีเหมือนกับเรา ใฝ่ดีในทางเดียวกัน ทำดีก็ดีเหมือนกัน อายชั่วกลัวบาปเหมือนกัน แต่ภูมิจิตภูมิธรรมยังอยู่ในระดับเดียวกันกับเราหรือใกล้เคียงกัน ถ้าใฝ่ชั่วด้วยกันก็เรียกว่า บาปสหาย ถ้าใฝ่ดีด้วยกันก็เรียกว่า กัลยาณสหาย แต่กัลยาณมิตรต้องเป็นผู้ที่อยู่เหนือเรา ได้แก่ ครูบาอาจารย์

ประการสุดท้ายที่สำคัญคือ สิ่งแวดล้อมและบุคคลแวดล้อม “กัลยาณสัมปะวังกะตา” ถ้ามีมิตรดี มีสหายดี แต่หากไปตกในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เรากับมิตรและสหายก็จะพากันเอาตัวรอดไปในทางที่ดีได้ เช่น องค์คุลีมาล มหาฆาตกรที่น่ากลัวยิ่ง พอมาได้กัลยาณมิตรอย่างพระพุทธองค์ก็รอดพ้นจากอันตรายและบ่วงกรรมอันหนักหนาได้ แรกๆท่านไปคบกับอาจารย์ทิสาปาโมกข์ผู้โง่เขลา สามารถทำให้ท่านผู้บริสุทธิ์กลายเป็นมหาโจรไปได้เช่นกัน

ดังนั้น สิ่งแวดล้อม และกัลยาณมิตร จึงมีอิทธิพลที่สำคัญมากๆ

พระพุทธยานันทภิกขุ