น็อคความง่วง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

เราต้องน็อคความง่วง ก่อนที่ความง่วงจะน็อคเรา

น็อคความง่วง (๑)
ถ้ามันไม่สบายก็หาเหตุของมัน
มันไม่สบายเพราะการแปรปรวน
ทุกข์มันเข้ามาเพราะมันแปรปรวน
มันแปรปรวนก็รู้สึกไม่สบาย
เราก็หาเหตุของมัน
ไม่สบายเพราะอะไร แก้มันก่อน
การที่เรามานั่งแก้อาการแปรปรวน
อาการไม่สบาย
ก็อย่าคิดว่าเสียเวลาเดินจงกรม
สร้างจังหวะ
ถ้าคุณเดินจงกรมสร้างจังหวะ
ร่างกายมันแปรปรวน
ปวดเมื่อยแทบตาย
เราก็ไม่ยอมแก้มัน
เขาเรียกว่าปฏิบัติตามความเพลิน
เพลินจนปวดจนเมื่อยไปทั้งตัวแล้ว
เพลินจนง่วงแล้วง่วงอีก
มันไม่ได้ผล
มีแต่จะนำไปสู่เหตุเกิดทุกข์
แต่คุณก็ยังไม่รู้ว่าเป็นเหตุเกิดทุกข์
แต่ถ้าเราปฏิบัติถูก
ความผิดปกติของร่างกาย
มานิดเดียวก็สัมผัสได้แล้ว
ถ้ามีสัญญาณบางอย่างบอกว่า
กำลังจะง่วง
เราเดินชนมันอยู่อย่างนั้นไม่ถูก
เราก็ต้อง เอ! เมื่อกี้นี้เราก็สดชื่นอยู่นะ
เดี๋ยวนี้ทำไมง่วงเหงาโงกเงกอย่างนี้
แสดงว่ามันผิดปกติแล้ว
เป็นไหมบางวัน
เรารู้ว่าทานอาหารหนักๆ เข้าไป
เจ้าตัวง่วงมันจะมา
เราก็ตั้งรับไว้ก่อนเลย
เหมือนนักมวยขึ้นเวที
เวลากรรมการบอกชก
คู่ต่อสู้ปรี่เข้ามาหาเรา
เราก็นั่งทะเร่อทะร่าอยู่
ให้มันบีบหูบีบตาเรา
ปล่อยให้มันง่วงเฉยเลย
นั่นแสดงว่าเราไม่ทัน
สัญญาณมันเตือน
มันเตือนมาแล้ว
แต่เราก็ยังโงกเงก
โงนเงน อยู่อย่างนั้น
มันก็น็อคกันอยู่ตรงนั้นแหละ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ความง่วงส่งสัญญาณมาทีละนิด

น็อคความง่วง (๒)
สัญญาณของทุกข์และสัญญาณ
ของความแปรปรวน
มันไม่ได้มาปุ๊บทีเดียว
มันค่อยๆ เข้ามาทีละนิดๆ
เวลาจะง่วง
ไม่ใช่ก้อนง่วงมันมาทั้งก้อน
เขาส่งสัญญาณเข้ามาทีละนิดๆ
ดูว่าเรารับสัญญาณได้ไหม
ถ้าเรารับสัญญาณเป็น
เรารู้ทันปั๊บ
สัญญาณนี้เป็นสัญญาณลบ
ไม่ดีแล้ว เราก็เริ่มปรับ
ปรับหาสัญญาณบวก
ส่วนจะปรับยังไงนั้น วิธีใครวิธีมัน
หลวงพ่อบอกไม่ได้
แล้วแต่ปัญญา
ของใครของมันก็แล้วกัน
บางทีนั่งไปนานๆ
มันจะปวดทั้งเนื้อทั้งตัว
มันไม่ใช่ปุ๊บปั๊บ
ก้อนปวดมันมาทั้งก้อน
มันส่งสัญญาณมาทีละนิดๆ
เราอ่านมันออกไหม
ถ้าเครื่องของคุณไม่ดี
อ่านบาร์โค้ดตัวนี้ไม่ออก
คุณก็ต้องโดนเต็มๆ
เพราะฉะนั้น ตัวบาร์โค้ดตัวนี้
เราต้องอ่านมันให้ได้
ถ้าตัวนี้เป็นสัญญาณไม่ค่อยดี
เราก็ปรับ
ปรับที่เหตุเล็กๆ น้อยๆ มันง่ายกว่า
สมมติก้อนร้อยหนึ่ง
ตอนนี้มาสิบ
การที่จะหยิบสิบออก
มันง่ายกว่าหยิบทั้งร้อยออก
มันยิงมาเป็นชุดทั้งร้อยนี่
ถ้าสติเราช้าเราก็หยิบออกไม่ทัน
ดังนั้น เราต้องรู้อาการของกาย
ให้เป็นรูปธรรม
รู้อาการของจิตให้เป็นรูปธรรม
แล้วมันแก้ง่าย
แต่ถ้ามันยังเป็นนามธรรมอยู่
มันมองไม่ชัด มันแก้ยาก
มันเนียน มันละเอียด
ดังนั้น ในการฝึกปฏิบัตินี้
ให้มันเป็นไปอย่างสนุกสนาน
น่าศึกษา น่าเรียนรู้ ในสิ่งที่เกิดขึ้น
แล้วการปฏิบัติของเรา
จะก้าวหน้าไปรวดเร็วมาก
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ฝ่าด่านนิวรณ์ห้า

อุปสรรคของนักปฏิบัติที่พบกันบ่อย
คือ ความรู้สึกเบื่อหน่าย
และรู้สึกขมขื่นฝืนใจ
บางคนสามารถใช้ความทรหดอดทน
จนผ่านด่านนี้ไปได้
 
บางคนที่มีเพียงความศรัทธา
แต่ยังไม่เข้มแข็งพอ
ก็ไม่สามารถผ่านได้
 
บางคนผ่านได้สบาย
แต่ต้องไปเจอด่านที่สอง
อาจหนักกว่าด่านแรก
 
ด่านที่สองคือความรู้สึกไม่สนุก
ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ
หงุดหงิด รำคาญใจ ท้อแท้ อ่อนใจ
บางคนมีศรัทธาแรง ทนสู้จนผ่าน
ก็จะไปเจอด่านที่สาม
คือความง่วงเหงาหาวนอน
ซึ่งหนักหน่วงมาก
 
บางคนถึงกับถอดใจยอมแพ้ไปเลย
แต่บางคนที่มีประสบการณ์มาก่อน
พยายามหาทางหลบหลีก
ด้วยวิธีการเปลี่ยนจากท่าเดิม
ไปทำท่าอื่นบ่อยๆ
จงอย่ายอมเป็นเป้านิ่ง
ให้ความง่วงครอบงำได้
สำหรับบางคนอาจจะไม่รู้สึกง่วง
หรือผ่านง่วงได้ง่าย
แต่ต้องไปเจอด่านต่อไปด่านที่สี่
ความฟุ้งซ่าน เลื่อนลอย
ความคิดปรุงแต่งสารพัดเรื่อง
พอหยุดปฏิบัติมันกลับไม่คิดอะไร
อย่างนี้ก็มี
 
ด่านสุดท้ายสำคัญมาก
พอเราเผลอ มันคิดสงสัยทันทีว่า
ปฏิบัติแบบนี้ ใช่หรือเปล่าหนอ
จิตไม่มีความสงบเลย
มันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร
จะเข้าฌาณได้อย่างไร
 
เมื่อใจไม่สงบ
เมื่อความลังเลสงสัยจับจิตจับใจเรา
เท่านั้นแหละ มันจะพาเราไปไกลเลยทีเดียว
กลุ่มอารมณ์เหล่านี้ เราเรียกตามภาษาพระว่า
นิวรณธรรมหรือเสนามาร
มันถูกพญามารส่งตัวมาเพื่อก่อกวนผู้ปฏิบัติ
ที่มีศรัทธาและปัญญาทางธรรมยังอ่อนแออยู่
ดังนั้นผู้ปฏิบัติใหม่
จึงต้องระวังเรื่องนี้ให้ดี
สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์
การปฏิบัติในรูปแบบนี้มาแล้ว
ก็ต้องระวังอยู่สองเรื่องคือ
ความง่วงกับความเพลินจนเผลอคิดโดยไม่รู้ตัว
เรื่องนิวรณ์ห้านี้ ต้องเจอกันทุกคน
ไม่มากก็น้อย
ตามวิบากกรรมเก่าของแต่ละคน
 
แต่ไม่ว่าเราจะมีวิบากกรรม
มากน้อยแค่ไหน
ถ้าเราอดทนสู้ไปเรื่อยๆ
เดี๋ยววิบากก็เบาบางไปเอง
เรียกว่า *เป็นคนอึด*

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

น็อคอัตตา

ก่อนเข้าเก็บอารมณ์ครั้งนี้
อาตมาได้ตั้งปณิธาน
กับตัวเองอย่างเด็ดเดี่ยวว่
“ถ้าอัตตาไม่ตาย กูก็ต้องตาย
ถ้ากูไม่ตาย อัตตาก็ต้องตาย
เราคงอยู่ด้วยกันไม่ได้แล้ว
จากนั้นก็เริ่มสังเกต
เฝ้าดูการปลอมแปลงของอัตตา
มันจะดิ้น ต่อสู้ของมันไปทุกๆ รูปแบบ
เพื่อความอยู่รอดของมัน
มันเป็นการต่อสู้
ชิงไหวชิงพริบที่โหดร้ายมาก
ระหว่างความแหลมคมของปัญญาญาณ
และ ความเจ้าเล่ห์ ของอัตตา
มันเป็นเสมือนศัตรูที่ไล่ล่ากัน
อย่างสาหัสสากรรจ์
ยิ่งกว่าการต่อสู้ในสนามรบ
เย็นวันนั้น…..หลังจากการต่อสู้ระหว่าง
อัตตา กับ ปัญญาญาณ จบลง
ก็รู้สึกโล่งโปร่ง เบาสบาย
อย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
นั่งปฏิบัติภาวนา
ไม่รู้สึกปวดเมื่อยอีกเลย
นั่งนานเท่าไรก็ได้
เหมือนกับว่าใจเราทะลุความปวด
ระดับต่างๆ ไปแล้ว
ร่างกายก็เป็นไป
ตามธรรมชาติของมัน
คือ ปวดบ้าง หายบ้าง
ไปตามกฎของสังขาร
เพียงแต่เจ้าอัตตา
ไม่เข้ามาอ้างตัวว่า
เป็นเจ้าของรูปนามนี้อีกต่อไป

การปฏิบัตินี้เราต้องเรียนด้วยตัวของเราเอง
เราต้องสอนตัวเราเอง
เราต้องเห็นด้วยตัวของเราเอง
เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง
เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเอง
เราต้องทำด้วยตัวของเราเอง
ดังนั้นเธอไม่จำเป็นต้องสนใจในบุคคลอื่น

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)