เปลี่ยนสักกายทิฏฐิ เป็นสัมมาทิฏฐิ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ควบคุมอารมณ์ได้ เป็นธรรมขั้นปรมัตถ์

ร่างกายประกอบด้วยธาตุสี่ ดินน้ำลมไฟ โลกภายนอกก็ประกอบด้วยธาตุสี่เหมือนกัน ดินน้ำลมไฟที่ควบคุมได้ก็จะให้ประโยชน์ ไฟที่เราควบคุมได้เป็นแสงสว่าง หุงต้มอาหาร ถ้าควบคุมไม่ได้ก็ไหม้บ้านไหม้เรือน ลมที่ควบคุมได้ก็เป็นพัดลม เป็นแอร์ เป็นกังหันลม ได้ประโยชน์ ถ้าควบคุมไม่ได้ก็เกิดพายุพัดถล่มล้มตาย  น้ำถ้าเราควบคุมได้ก็เป็นอ่างเก็บน้ำ เป็นน้ำในก๊อกในถัง เราต้องการใช้ตอนไหนก็เป็นประโยชน์ ถ้าควบคุมไม่ได้ก็ท่วมบ้านเรือนเสียหาย ดินน้ำลมไฟภายนอกถ้าควบคุมไม่ได้ ก็สร้างความเดือดร้อนเสียหาย เป็นภัยพิบัติได้ ธาตุสี่ ดินน้ำลมไฟในตัวเราถ้าเราควบคุมมันได้ ก็ทำให้ร่างกายแข็งแรง ธาตุลมถ้าเราควบคุมได้ ก็ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ตามที่เราต้องการ หายใจได้จังหวะ สูบฉีดโลหิตได้

อารมณ์ของเราก็เหมือนกัน อารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ ก็เป็นแบบเดียวกับธาตุสี่ที่เป็นรูป ถ้าเราควบคุมอารมณ์ได้ก็จะเป็นธรรมขั้นปรมัตถ์

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ถ้ายังไม่เห็นรูปนาม ยังเป็นสติแบบสัญญาอยู่

ถ้าเรายังจัดธรรมชาติธาตุสี่ในตัวเองไม่ได้ แสดงว่าการปฏิบัติธรรมของเรา ยังไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อเรายังไม่เห็นอารมณ์รูปนาม การที่จะนำการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวไปประยุกต์ใช้ค่อนข้างยาก เพราะมันยังไม่เป็นปัญญา สติที่มีอยู่ยังเป็นสติแบบสัญญา คอยระลึกเอาไปใช้ เพราะสัญญายังเป็นชราธรรม เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาอยู่ แต่ตัวปัญญามันพ้นไปจากชราธรรมแล้ว จึงเอาตัวรู้คือปรมัตถ์เป็นอารมณ์

วิธีการของหลวงพ่อเทียนเอาปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ไม่ได้เอา รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นอารมณ์เหมือนกรรมฐานทั่วไป ยกมือไม่ได้หมายความว่า เอามือเป็นที่ตั้งของอารมณ์ แต่มือเป็นเพียงอุปกรณ์เพื่อให้เกิดตัวรู้สึก อาศัยตัวรู้สึกที่เกิดจากการยกมือเป็นอารมณ์ สมถะเอารูปเป็นอารมณ์ แต่วิปัสสนาเอาปรมัตถ์หรือนามเป็นอารมณ์ ใครยังสัมผัสหลักการของหลวงพ่อเทียนไม่ได้ เบื้องต้นเอามือเป็นที่ตั้งไปก่อน เพราะเรายังแยกไม่ออก ยังไม่เห็นรูปนาม ยกมือก็เป็นฉันยกอยู่ แต่เมื่อเข้าใจรูปนามแล้วเราถึงจะแยกความรู้สึกกับมือที่เคลื่อนออกจากกันได้ ก็ทำถูกๆ ผิดๆ ไปก่อน ยกไปยกมามันจะต้องมีตอนหนึ่งปัญญามันคลิ๊กขึ้นมา

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ถ้าสติยังไม่เข้มแข็งพอ จะแยกความรูู้สึกตัวออกจากเวทนาไม่ได้

ความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง เป็นเวทนา ถ้าสติเราไม่เข้มแข็งพอ เราจะแยกตัวรู้สึกตัวกับตัวเวทนาออกจากกันได้ยากมาก เวทนาเป็นความรู้สึกของรูปนามและนามรูป แต่ตัวสติไม่ใช่เวทนา เป็นความรู้สึกที่ไปเห็นเวทนาอีกทีหนึ่ง นี่คือข้อยากของมัน

เวทนามันมีอาการ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง แต่ตัวรู้สึกที่เกิดจากการรู้การเคลื่อนไหวมันเป็นความรู้สึกที่ชัด มันเลยไปเห็นอาการของเวทนาได้ชัด เวทนาเป็นอาการที่มีอยู่ตลอด แต่การที่สติจะเข้าไปรู้ ถ้าเรากำหนดรู้ขึ้นมามันถึงมี แต่ถ้าเราไม่ตามรู้หรือพัฒนาจนเป็นปรมัตถ์ มันก็ไม่มี เบื้องต้นจึงให้ทำไปก่อน ให้รู้ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ ถึงแม้จะยังแยกไม่ออกก็ไม่เป็นไร

ตราบใดที่ยังไม่เห็นรูปนามตามความเป็นจริงเราก็ยังไม่เห็นว่าอันไหนเป็นวิชชา อันไหนเป็นอวิชชา อันไหนเป็นเวทนา อันไหนป็นสติ เพราะมันละเอียดมาก วิธีการหลวงพ่อเทียนจึงมุ่งเน้นให้ทำให้มากที่สุด ตอนแรกอาจไม่ศรัทธา ทำไปทำมาปัญญามันเกิด เห็นความรู้สึกเกิดจากการเคลื่อนอย่างตั้งใจ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

รูปคือกะทิ นามคือน้ำมัน ความเพียรคือไฟ ศรัทธาคือความต่อเนื่อง

คนที่จะรับวิธีการของหลวงพ่อเทียนได้ ไม่ธรรมดา เพราะนั่งหลับตามันสุข มันสงบ มันสบาย กำลังมันไม่พอที่จะดำรงสติสัมปชัญญะให้ทรงตัวอยู่ได้นาน เป็นการเพิ่มกำลังให้โมหะโดยไม่รู้ตัว ทั้งๆที่เราตั้งใจทำดี แต่กำลังของโมหะมันสูง เราจึงมาทำความรู้สึกตัวจากการเคลื่อนไหวให้มีกำลังพอเสียก่อน

เหมือนเคี่ยวกะทิ ถ้าเราไม่ใช้ไฟที่แรงพอ กะทิมันก็ไม่เดือด ถ้ากะทิไม่เดือดอย่างต่อเนื่องมันก็จะแยกระหว่างน้ำกับน้ำมันไม่ได้ จนกระทั่งน้ำแห้งไปที่เหลืออยู่ก็เป็นน้ำมัน รูปเหมือนกะทิ นามเหมือนน้ำมัน ความเพียรที่เรายกมือเหมือนความร้อน แต่ถ้าศรัทธาเราไม่พียงพอ เราคงไม่นั่งยกมือทั้งวัน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ถ้าสติ สมาธิ ปัญญาชัด จิตก็จะว่าง

ช่วงไหนที่มีสติ สมาธิ ปัญญา ชัด ช่วงนั้นจิตเราว่าง มันเห็นอาการของกายของจิตได้ชัดชึ้น จิตว่างไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย จิตมันว่างอยู่แล้วระดับหนึ่ง แต่เราไม่รู้เท่านั้นเอง แต่พอเรามาเจริญวิปัสสนา เรามารู้อาการของจิตว่างคือตัวรู้นั่นเอง มันว่างจากการปรุงแต่ง แต่มันเต็มด้วยสติสมาธิปัญญา ความว่างที่ผิดก็คือ มันว่างจากความคิดก็จริง แต่มันไม่ได้เต็มด้วยสติปัญญา

ความรู้สึกตัวก็คือความว่าง ว่างจากการปรุงแต่ง แต่เต็มไปด้วยความรู้สึกตัว เมื่อใดความรู้สึกตัวลดลง ความคิดปรุงแต่งก็เข้ามาทันที แล้วเราจะมานั่งสร้างจังหวะกันทั้งวันก็ไม่ไหว เราจึงต้องทำสติสมาธิปัญญาให้เป็นปรมัตถ์ให้ได้ เราไม่ต้องกำหนดมันรู้เองโดยอัตโนมัติ ตราบใดที่สติสมาธิปัญญายังไม่เป็นปรมัตถ์คือยังไม่เป็นเอง เราก็กระตุ้นมันไปเรื่อยๆ ก่อน ตราบใดน้ำมันยังไม่ปรากฏก็ต้องรักษาไฟไว้เรื่อยๆ จนกว่าน้ำมันปรากฏ น้ำแห้ง ก็ดับไฟได้ ถ้าไม่ดับไฟ น้ำมันก็จะแห้งไปด้วย เราต้องรักษาความเพียรตลอด จนกว่าสติกับเวทนาจะแยกออกจากกัน เมื่อเห็นรูปนามแยกกันชัด เมื่อความเป็นน้ำที่แฝงอยู่ในน้ำมันยังไม่หมดไป เราดับไฟ น้ำมันที่ทิ้งไว้นานๆ ก็จะขึ้นรา แต่ถ้าน้ำมันที่บริสุทธิ์ไม่มีน้ำเจือปน เก็บไว้นานเท่าใดก็ไม่เป็นไร

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ชัดแบบมีอัตตา เกิดจากความอยาก

ความชัดเจนมีสองอย่าง ชัดเจนอย่างมีอัตตา สักกายทิฏฐิ มีความอยาก อุปาทาน อยากจะให้ชัด ตั้งใจมากเกินไป นานๆไปก็จะเครียด ชัดเจนแบบไม่มีอัตตา คือให้มันรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง เท่าๆกัน แต่ส่วนใหญ่เราจะหลงมากกว่ารู้ ให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เหมือนขั้นบันไดที่เท่ากันในแต่ละขั้น มันจะขึ้นง่าย หรือถ้าเป็นแผ่นกระดาน ก็ขึ้นยากเหมือนกัน เราจะลดตัวหลง เพิ่มตัวรู้ขึ้นมา ให้มีอัตราส่วนใกล้เคียงกัน จนกระทั่งกิเลสเกิดเท่าไร เราก็รู้เท่านั้น

ถ้าเราแจงรายละเอียดเยอะเกินไป โดยไม่มีสภาวะรองรับ จะทำให้ฟุ้งซ่านได้ ถ้าปฏิบัติน้อยฟังมากก็จะสับสน ความสำคัญผิดก็จะเกิดขึ้น เราฟังมากเท่าใดก็ต้องปฏิบัติมากเท่านั้น ประตูแรก เราจะเปลี่ยนสักกายทิฏฐิให้เป็นสัมมาทิฏฐิได้อย่างไร ซึ่งในวิธีการหลวงพ่อเทียน เราไม่ต้องการคนเยอะ แต่ต้องการคนจริง

พระพุทธยานันทภิกขุ