งานอบรมนวัตกรรมแห่งการฝึกสติ ณ โรงเรียนทหารการเงิน กรมการเงินทหารบก 18-20 สิงหาคม 2560

ทบทวนการจัดงานปฏิบัติธรรม ณ โรงเรียนทหารการเงินกรมการเงินทหารบก วันที่ 18-20 สิงหาคม 2560 โดย พระมหาดิเรก พุทธยานันโท

จุดดี

1. สถานที่และอาหารรองรับได้ดี
2. ผู้เข้าร่วมมีต้นทุนที่ดีด้านวินัยพร้อมทำตามที่แนะนำให้ฝึกปฏิบัติ
3. จะมีLINE groupช่วยติดตามผลช่วยให้มีความยั่งยืนในการปฏิบัติต่อเนื่อง
4. แม้มีความไม่พร้อมในการประสานงานครูพี่เลี้ยง แต่มีแง่ดีทำให้ตื่นตัวทำใจและฝึกการสังเกตเพื่อปรับตัวเข้าช่วยงานไปตามสภาพ
5. ครูพี่เลี้ยงได้เรียนรู้วิธีการสอนของครูพี่เลี้ยงท่านอื่นๆ และให้ความเอาใจใส่กับผู้ปฏิบัติธรรมที่ยังไม่ใส่ใจปฏิบัติเพื่อกระตุ้นให้กลับมาปฏิบัติมากขึ้น
6. ผู้ปฏิบัติธรรมได้เรียนรู้และเข้าใจถึงความรู้สึกตัวที่สังเกตจากการปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยนกับครูพี่เลี้ยง ไม่เน้นการสอนเชิงทฤษฎี เช่น เรื่องรูปนาม ที่เข้าใจยาก
7. ผู้ปฏิบัติธรรมได้เรียนรู้การดูแลจัดการความคิดของตนโดยการมีสติ บางคนพบว่าความคิดลดลง
8. การที่ครูพี่เลี้ยงทำหน้าที่สอบอารมณ์กับกลุ่มที่ตนไม่ได้ดูแลโดยตรงช่วยให้ไม่จำเจกับการแลกเปลี่ยนแบบเดิมๆ
9. กรณีสถานที่คับแคบ ครูพี่เลี้ยงสามารถปรับวิธีการนำเดินจงกรมโดยการรวมกลุ่มใหญ่ทำพร้อมเพรียงกัน ช่วยให้ปฏิบัติธรรมได้ต่อเนื่องไม่ติดขัด
10. มีทีมครูพี่เลี้ยงที่ช่วยติดตามดูแล ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมกล้าถามและตื่นตัวเรียนรู้
11. มีวิทยากรอาจารย์สุรพลจัดกิจกรรมแบบมีสีสันช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีส่วนร่วมกระตือรือร้นสนใจเรียนรู้ไม่ง่วงเลย

จุดที่ควรปรับปรุง

1. ด้านสถานที่ฝึกปฏิบัติในห้องแอร์ที่อากาศไม่ถ่ายเท และอาจคับแคบทำให้ช่วงปฏิบัติเช่นเดินจงกรมปะปนกัน
2. ยังขาดการวางแผนการสอนการปฏิบัติธรรมของบรดาครูพี่เลี้ยงให้ตรงกันทั้งสาระและวิธีการ
3. การทานอาหารยังแยกทานระหว่างผู้ปฏิบัติกับครูพี่เลี้ยงทำให้ผู้ปฏิบัติพูดคุยกันจนอาจขาดสติ
4. สถานที่นอนรวมกันทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมคุยกันจนขาดการหลับนอนทำให้ส่งผลต่อการรักษาสติให้ต่อเนื่อง
5. มีความไม่แน่นอนในการจัดการ ต้องเดาใจหลวงพ่อ เช่น การสั่งการที่ชัดเจนในการแยกกลุ่มหรือรวมกลุ่ม การจัดแถวและระเบียบการอยู่การกิน การเตรียมบทพิจารณาอาหาร การเตรียมเก้าอี้นั่งสนทนา
ข้อเสนอแนะ
1. ควรชวนให้ผู้บังคับบัญชาที่เห็นประโยชน์ช่วยสานต่อเป็นกัลยาณมิตรในการติดตามผลของผู้ปฏิบัติธรรม
2. ควรเตรียมครูพี่เลี้ยงในการสอนอย่างเป็นระบบ เช่น การสอบอารมณ์ควรมีโครงสร้างประเด็นที่ชัดเจน จะช่วยครูพี่เลี้ยงในการทำหน้าที่
3. ควรมีแผนกให้คำปรึกษาที่อาจช่วยให้คำแนะนำต่อผู้ปฏิบัติ และใช้หลักในการให้คำปรึกษาโดยให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีส่วนร่วม มีการตั้งคำถามที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้ย้อนมองตนและสื่อสารผลการปฏิบัติได้ลึกซึ้ง
4. เสนอแนะให้ใช้สถานที่ที่มีความเป็นธรรมชาติเช่น หอจดหมายเหตุพุทธทาส ครุสติสถาน ยุวพุทธ รองรับเป็นกลุ่มเล็กประมาณ 20 คนทะยอยเข้าร่วมฝึก
5. ขอความร่วมมือผู้บังคับบัญชาช่วยดูแลการกินการนอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมอยู่ในระเบียบไม่พูดไม่คุยกัน
พระพุทธยานันทภิกขุ