โยนิโสมนสิการคือสิ่งสำคัญมาก

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ยิ่งละเอียดมาก ยิ่งชัดมาก

เราลองมาศึกษาตัวอย่าง
ความสนใจในรายละเอียดของชีวิต
ที่เป็นรูปธรรม
ในชีวิตประจำวันดูบ้าง
 
เช่น เราจะมักเตือน
คนทำงานใกล้ๆ เราเสมอว่า
“พูดให้ชัดๆ หน่อย”
“เขียนให้ชัดๆ หน่อย”
“ฟังให้ชัดๆ ก่อน”
เหล่านี้เป็นต้น
คนฟังก็เข้าใจได้ทันที
 
ดังนั้น การเอาใส่ใจในรายละเอียด
พฤติกรรมของตนเองมากขึ้น
จึงไม่ใช่เรื่องเข้าใจยาก
จนทำตามไม่ได้
 
แต่เราไม่เห็นความสำคัญ
และความจำเป็น
จึงชอบมองอะไรแบบผ่านๆ
ไม่ชัดเจน
 
อีกตัวอย่างหนึ่งของการเอาใจใส่
หรือสนใจต่อสิ่งรอบข้าง
ที่เป็นปัจจุบัน
ที่เรามักพบเสมอ
 
เช่น บางคนนั่งรถไปกับคนขับ
ไปสถานที่เดิม เป็นสิบๆรอบ
 
แต่พอมาวันหนึ่ง
คนขับคนเดิมไม่อยู่
จำเป็นต้องทำหน้าที่
เป็นผู้บอกทางเอง
 
แต่กลับจำทางเดิม
ที่เคยไปไม่ได้
 
ตัวอย่างนี้เจอบ่อยมาก
เพราะช่วงที่เคยนั่ง
ไปกับคนอื่นขับ
มัวแต่นั่งรถไปแบบเพลินๆ
ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง
จึงจดจำอะไรไม่ได้

ดังนั้น ชีวิตจริงประจำวันของเรา
จึงควรต้องฝึกฝนให้มองอะไรให้ชัดๆ
อย่ามองแบบผ่านๆ

อย่ามองข้ามว่า
เรื่องนี้ไม่มีความหมายอะไร
ไม่เกี่ยวข้องกับเรา
หรือไม่ใช่ธุระหน้าที่ของเรา

นี้คือตัวอย่างของการใช้ชีวิต
แบบไม่แยบคายหรือขาดโยนิโส

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ก้าวทีละขั้น

การเข้าคอร์สปฏิบัติวิปัสสนา
การมาเก็บรายละเอียด
ของทุกๆ อิริยาบถ
จึงมีความสำคัญมาก
 
ซึ่งจะต้องเน้นย้ำกันอยู่ตลอดเวลา
ถ้าเรามีการฝึกโยนิโสมนสิการเป็นประจำ
จะทำให้การกระทำของเราทุกๆ ด้าน
มีความผิดพลาดน้อยลง
 
ถึงมีบ้าง ก็จะไม่มีความรุนแรง
ถึงขั้นเสียหาย และตามแก้ไขได้ง่าย
ถ้าเป็นอุบัติเหตุ
ก็ไม่ถึงขั้นบาดเจ็บล้มตายมากมาย
อย่างที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน
 
อุปมาเหมือนกับการขึ้นบันได
ถ้าเราก้าวข้ามทีเดียวหลายๆ ขั้น
โอกาสพลาดตกบันไดมีเยอะ
 
แต่ถ้าก้าวขึ้นตามลำดับ
และระมัดระวัง
การขึ้นลงก็สะดวกสบายปลอดภัย
 
ฉันใด การเดินทางด้านจิตใจก็เหมือนกัน
การก้าวไปในแต่ละจังหวะ
ของการปฏิบัติสติภาวนา
ต้องมีความละเอียดถี่ถ้วน
เพราะยิ่งชัดมาก ก็ยิ่งสบายมาก
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ตามรู้อิริยาบทย่อยให้ได้ก่อน

ที่อาตมาชอบเน้น
การใช้อิริยาบถย่อย
เป็นอุบายเจริญสติ
มากกว่าอย่างอื่น
 
เพราะมันจะทำให้เข้าไปสู่
รายละเอียดของชีวิตจิตใจ
ได้ถูกต้องชัดเจนและง่าย
 
เพราะฉะนั้น ท่านจึงแบ่ง
รายละเอียดการศึกษา
สติปัฏฐานออกเป็น ๔ ฐาน
กาย เวทนา จิต และฐานอารมณ์
 
ฐานกายถือว่ามันหยาบที่สุดแล้ว
แต่เราก็ยังไม่สามารถ
เก็บรายละเอียดของมันได้ครบถ้วน
ทุกขั้นทุกตอนใช่ไหม?
 
ที่เก็บไม่ได้
เพราะไม่ใส่ใจที่จะเก็บใช่หรือไม่? แต่ในภาคปฏิบัติจริง
ต้องพยายามเก็บให้ดีที่สุด
เท่าที่จะทำได้
 
เพราะถ้าไม่ใส่ใจที่จะตามรู้
การเคลื่อนไหวของกาย
ก็ยากที่ตามรู้การเคลื่อนไหว
ของเวทนา จิต และอารมณ์
ซึ่งมีความละเอียดอ่อนอย่างสูงมาก
การตามรู้ความเคลื่อนไหวของเวทนา
ก็คือตามรู้ความรู้สึกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง
เคร่ง ตึง ไหว เจ็บ ปวด
ที่มันเกิดขึ้นตามจุดต่างๆ ของกาย
พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ทำไมจึงปฏิบัติไม่ก้าวหน้า?

ความสัมพันธ์ของกายกับเวทนา
เราแทบจะแยกกันไม่ออกเลย
เช่นเวลาเราจับโน่นจับนี่
 
ขณะจับต้อง เราไม่ใส่ใจ
ตามดูอาการของกายให้ชัดๆ
 
ของที่เราจับ
ก็จับแบบผิดๆ พลาดๆ
บางครั้งถึงกับตกหล่นเสียหาย
ถึงกับได้รับบาดเจ็บล้มตาย
เป็นเหตุทุกขเวทนา
ได้อย่างต่อเนื่อง แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ
ที่เราอาจคิดไม่ถึง
เช่น นักปฏิบัติบางคน
ที่มักแต่งตัวด้วยการสวมใส่
เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป
 
ไม่ใส่ใจความรู้สึกที่พอดีของตนเอง
มักจะมีปัญหาทางด้านอารมณ์
โดยไม่รู้ตัว
 
เพราะความไม่พอดี
มันก่อให้เกิดทุกขเวทนา
ที่อึดอัดจากจุดเล็กๆ
แล้วค่อยเพิ่มความเข้มข้น
รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
จนทนไม่ไหว
 
ดังนั้น การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว
เราต้องใส่ใจเฝ้าดู
ตามรู้ตามเห็นอาการ
ของกายเวทนาแม้เล็กน้อย
 
ต้องคอยสำรวจตรวจสอบ
อย่างใกล้ชิดอยู่เสมอๆ
ความไม่มีโยนิโสมนสิการ
หรือไม่ละเอียดถี่ถ้วน
ในการเจริญสติแบบนี้
จึงเป็นเหตุให้เกิดความเนิ่นช้า
ไม่รู้สึกก้าวหน้าในการปฏิบัติ
อย่างชัดเจน
 
ถ้าใครสามารถแก้ไขจุดอ่อนตรงนี้ได้
การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว
จะก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
 
จึงสรุปได้ว่า
ความไม่แยบคาย ไม่ถี่ถ้วน
สามารถสร้างความทุกข์
ให้แก่ชีวิตจิตใจมนุษย์ได้
ทุกๆ ระดับเลยทีเดียว

วิธีการปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน ท่านเน้นให้เราเรียนรู้ของจริง จากประสบการณ์ด้วยตนเอง ไม่นิยมจะให้มานั่งศึกษา นั่งฟังกันในห้องกรรมฐานทั้งวันทั้งคืนอย่างที่เขาทำกันทั่วไป เพราะความรู้ที่เราได้ ล้วนเป็นความรู้ เป็นประสบการณ์ของอาจารย์ผู้พูดทั้งหมด ไม่ใช่ความรู้และประสบการณ์ของเราเอง ฟังไปมากๆ ก็ไม่มีผลต่อเราสักเท่าไร แต่วิธีการหลวงพ่อเทียน ท่าให้ศึกษาและรับฟังแต่พอสมควร และเท่าที่จำเป็น แต่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทุกๆ อิริยาบถ ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด เพราะเรียนรู้จากประสบการณ์ของจริงด้วยตนเอง มันจะถูกจะผิดมันก็เป็นความรู้ของเราเอง ถ้ารู้ว่ามันผิด เราก็เรียนรู้พื่อการแก้ไข ถ้ารู้ว่ามันถูก เราก็เรียนรู้เพื่อดูแลรักษาความถูกต้องนั้นให้ตั้งมั่นและเข้มแข็งได้ด้วยตนเอง

ความอยากเป็นได้ทั้งเหตุและผลของอวิชชา

อวิชชาทำให้เกิดตัณหาหรือความอยาก เพราะเราไม่รู้เราจึงเกิดความอยาก แต่ในขณะเดียวกัน ความอยากก็เป็นเหตุ เพราะเราอยากเราจึงยึด ถามว่าอะไรเป็นเหตุของอวิชชา นี่ข้อสอบ พอเรารู้ว่าอวิชชาเป็นเหตุของตัณหา แต่อะไรเป็นเหตุของอวิชชา อะไรคือที่สุดของที่สุด

ถ้าไม่เจอกัลยาณมิตร เราก็เป็นอวิชชาอยู่เรื่อย แต่ถ้าเจอกัลยาณมิตร วิชชาก็เกิดขึ้น ธรรมสองประการ 1. กัลยาณมิตร 2. เมื่อเราเจอครูบาอาจารย์เจอคนดี เจอคนรู้ เจอคนมีประสบการณ์ เราก็ต้องมีโยนิโสมนสิการ คือมีปัญญาเข้าใจสิ่งที่ท่านนำเสนอ ถ้าเราไม่มีปัญญา ท่านพูดเท่าไรก็ไม่เข้าใจ เพราะเราไม่มีโยนิโสมนสิการ แต่ถ้ารู้จักนำมานึก นำมาคิดพิจารณาในสิ่งที่ท่านพูดว่า ใช่ ไม่ใช่ จริง ไม่จริง มันก็จะเกิดโยนิโสมนสิการขึ้นมา เพราะฉะนั้นเหตุของอวิชชาก็คือการไม่ได้พบกัลยาณมิตร ถ้ามีโยนิโสมนสิการของวิชชาก็จะได้พบกัลยาณมิตรทั้งภายนอกและภายใน เพราะถ้ามีโยนิโสมนสิการแล้ว มันก็ต่อไปเรื่อยๆ

ดังนั้นเราพยายามศึกษาเรื่องนี้ให้ดี ดูว่าทุกข์มันเกิดได้ยังไง แล้วจัดการกับมันยังไง จะเลือกเป็นม้าที่ดีหรือม้าที่ขาเก จะเลือกเป็นรถที่ดีหรือว่ารถที่เสีย ปัญญาของใครของมันบอกกันไม่ได้ ดังนั้นในจุดนี้ก็จึงขอให้เราพิจารณาในวันนี้ ว่าใครจะขี่รถหรือใครจะแบกรถ ใครจะขี่ม้าหรือใครจะแบกม้า แล้วก็คำว่าโยนิโสมนสิการ เป็นคำสั้นๆ แต่พระพุทธเจ้าใช้บ่อยเหลือเกิน คุณจะลุกอย่างโยนิโสมนสิการ คุณจะนั่งอย่างโยนิโสมนสิการ คุณจะพูดอย่างโยนิโสมนสิการ คุณจะกินอย่างโยนิโสมนสิการ เราไปห้ามอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ได้ แต่เราใช้มันเป็นพาหนะเท่านั้นเอง ให้รู้จักในจุดนี้ แล้วก็จะเข้าใจโดยไม่ยาก

Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)