สติมีหลายระดับ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สติสัมปชัญญะ-สติปัฏฐานสี่-สติสัมโพชฌงค์

สติสัมปชัญญะก่อให้เกิดสติปัฏฐานสี่
สติปัฏฐานสี่ ก่อให้เกิดสติสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์เป็นสติที่เป็นเอง
เป็นปรมัตถ์ล้วนๆ
แต่สติปัฏฐานสี่
เราต้องคอยฝึกซ้อม
คอยระมัดระวัง มันยังไม่เป็นเอง
ยังปนกันระหว่างสมมติกับปรมัตถ์อยู่
สติสัมโพชฌงค์ที่สมบูรณ์
ก่อให้เกิดวิริยะสัมโพชฌงค์
แม้ว่าเป็นสติที่เป็นเอง
แต่ก็ยังต้องมีวิริยะ
เพราะมันยังไม่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์
พระโสดาบันมีสติสัมโพชฌงค์
เพียง ๒๕ เปอร์เซ็นต์
พระสกิทาคามี ๕๐ เปอร์เซ็นต์
พระอนาคามี ๘๐ เปอร์เซ็นต์
พระอรหันต์มี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
จึงต้องเอาวิริยะมาเป็นตัวช่วยพัฒนา
วิริยะสัมโพชฌงค์กับสัมมาวายามะ
เป็นอันเดียวกัน
(วิริยะสัมโพชฌงค์ที่ไปถึงจุดหมาย
ก็จะกลายเป็นสัมมาวายามะ)
วิริยะสัมโพชฌงค์ยังไม่สมบูรณ์
แต่สัมมาวายามะสมบูรณ์แล้ว
แต่ทำหน้าที่ ๔ อย่างเหมือนกันคือ
๑. สังวรปธาน
คอยระมัดระวังสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาไม่ให้เกิด
แต่ถ้ามันยังเกิด…
๒. ปหารปธาน ปรับเปลี่ยนออกไป
ถ้ายังไม่ออก…
๓. ภาวนาปธาน เพิ่มกำลังสติ
๔. อนุรักขณาปธาน รักษากำลังสติ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ปีติแบบสมถะ ต่างกับ ปีติแบบวิปัสสนา

เมื่อวิริยะสัมโพชฌงค์
สมบูรณ์แล้ว
ตัวนิวรณ์ก็หมดไป
เพราะกำลังของสติมากขึ้น
ก็จะรู้สึกเบา
บางคนมีปีติมากน้ำหูน้ำตาไห
ร้องไห้หัวเราะ
แต่บางคนก็ปกติ
ปีติที่แรงผิดปกติ
เป็นปีติของสมถะ
ซึ่งเป็นปีติขององค์ฌาณ
เพราะอารมณ์สมถะมันค้างอยู่เยอะ
แต่ถ้าเป็นปีติของวิปัสสนา
มันจะเบา โปร่ง สบาย เฉยๆ
เหมือนนั่งลมพัดเย็นๆ
ไม่โครมครามเหมือนฝนตกฟ้าร้อง
เมื่อปีติสัมโพชฌงค์
หรือปีติของวิปัสสนา สงบลง
ก็เกิดปัสสัทธิ
ต่อมาจิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธ
อะไรมากระทบก็เฉย
แต่ถ้าเวลาผ่านไป
อารมณ์ปีติ ปัสสัทธิหมด
ก็เกิดความโกรธได้เหมือนเดิ
แต่ถ้าขยันปฏิบัติต่อเนื่อง
ก็จะยังรักษาไว้ได้
เมื่อสติหลุดก็รู้เท่าทันได้เร็ว
ตามตำราว่าสัมโพชฌงค์
ต้องเห็นสี่รอบถึงจะหมด
สัมโพชฌงค์ของพระโสดาบัน
สัมโพชฌงค์ของพระสกิทาคามี
สัมโพชฌงค์ของพระอนาคามี
สัมโพชฌงค์ของพระอรหันต์
แต่สำหรับอาตมา
ถ้าทำไปแล้วสนุก
เหมือนอาหารอร่อย
อยากจะกินอยู่เรื่อยๆ
ถือว่าสำเร็จแล้ว
เพราะมันเห็นทาง
แต่ถ้าทำแล้วขี้เกียจ
ไม่อยากทำ…อีกนาน

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

จากสติสู่วิปัสสนาญาณ

เราจะตามรู้
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยสติ
สติมีหลายชั้น
ชั้นศีล ชั้นสมาธิ ชั้นปัญญา
พัฒนามาจากสติตัวเดียว
จนเป็นวิปัสสนาญาณ 16
ที่เราทำเยอะๆ
เพื่อที่จะพัฒนากำลังของสติ
ให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
จากสติ เป็นสัมปชัญญะ
เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
ขึ้นไปตามลำดับ
จนพัฒนาเป็นวิปัสสนาญาณ
ก็จะรู้เท่าทันไวขึ้น
ถ้าอยู่ในระดับสัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา
ก็ทันบ้างไม่ทันบ้าง
ถ้าอยู่ในระดับสติ
ใน 10 เรื่อง อาจจะทันแค่ 3 เรื่อง
พอมีสัมปชัญญะอาจจะทัน 4 เรื่อง
มีสมาธิอาจจะทัน 5 เรื่อง
มีปัญญาอาจจะรู้ได้ 6 เรื่อง
แต่ถ้าเป็นญาณ หรือวิปัสสนาญาณ
10 เรื่องก็ทันทั้ง 10 เรื่อง
แต่ตัดขาดหรือไม่ขาดก็อีกเรื่องหนึ่ง
ถ้าจะตัดขาดได้
ต้องอาศัยวิปัสสนาญาณ
ที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สติสัญชาตญาณ-สติปัญญาญาณ

สติสัมปชัญญะตามสัญชาตญาณ
จะใส่ใจในสิ่งรอบตัว
และสิ่งกำลังมากระทบตัว
แต่สติสัมปชัญญะที่เป็นวิปัสสนา
จะใส่ใจในสิ่งที่ปรากฎในตัว
ตรงนี้แยกให้ชัดนะ
เพราะสติสัมปชัญญะที่เป็นวิปัสสนานี้
จะทำให้เราเห็นรูปนาม
แต่สติสัญชาตญาณจะทำให้รู้ว่า
รอบๆ ตัว อะไรกำลังเกิดขึ้น
เราก็ใช้สติได้ 2 ระดับ
ระดับสมมุติ หรือระดับสัญชาตญาณ
ระดับปรมัตถ์ หรือระดับปัญญาญาณ
สติในระดับสัญชาตญาณ
หรือสติระดับสัญญานี้
จะใส่ใจสิ่งรอบๆ ตัวเอง
ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
มันก็จะมีระดับหนึ่ง
แต่มันก็ไม่ได้เกิดตลอดเวลา
มันเกิดขึ้นบางครั้ง
บางเหตุการณ์เท่านั้น
แต่สติที่เป็นปัญญาญาณ
คือ สติสัมปชัญญะ
ที่ใส่ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
ของอาการทางกาย
ตั้งแต่หัวจรดเท้า
จะรู้ว่าอาการใดเกิดขึ้นในร่างกาย
เราควรเข้าไปจัดการกับมันอย่างไร

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

สติมีหลายระดับ

สติเบื้องต้น เราเรียกว่า ศีล
สติเบื้องกลาง เราเรียกว่า สมาธิ
สติเบื้องสูง เราเรียกว่า ปัญญา
สติเบื้องบน เราเรียกว่า ญาณ
สติเบื้องลึกลงไป เรียกว่า ญาณทัสสนะ
สติเบื้องลึกสุด เรียกว่า ญาณทัสสนวิมุตติ
แต่ในนามของสติจะเปลี่ยนชื่อไปเรื่อยๆ
บางคนก็บอกว่าหลวงพ่อสอนแต่เรื่องสติ
คุณธรรมพุทธศาสนามีตั้งเยอะแยะ
ทำไมหลวงพ่อไม่นำมาสอนบ้าง
ผู้เขียนเคยถามหลวงพ่อเทียนเหมือนกันว่า
“ทำไมเราใช้คำว่า สติ
คำนี้คำเดียวละครับหลวงพ่อ
ธรรมคำสอนมีตั้งแปดหมื่นสี่พันเรื่อง”
หลวงพ่อบอกว่า
“พูดเฉพาะสติคำเดียวนี่
ก็ยังปฏิบัติไม่ถูกกันเลยท่านเอ้ย…
แล้วถ้าพูดไปเยอะแยะมากมาย
เหมือนใบไม้ในป่าทั้งนั้นแหละ
แต่ใบไม้ในกำมือนี้
เอาให้ได้เสียก่อนก็แล้วกัน”
ผู้เขียนก็เห็นด้วย เพราะเราใช้คำน้อยๆ
จะได้ไม่ลุ่มล่ามฟั่นเฝือ
ก็เหมือนเกลือ เกลือนิดเดียว
มันก็เค็มเป็นเกลือ
มากมันก็เค็มเป็นเกลือ
แต่ให้เรารู้จักใช้เท่านั้น
เราใส่แกงถ้วยเดียว
จะไปใช้เกลือกำมือหนึ่งก็ไม่ได้
เราต้องรู้ความพอเหมาะพอดีที่จะใช้
ใช้เท่าไรถึงจะพอดี
เราจะหมักปลาร้าสักไหหนึ่ง
จะใช้เกลือหนึ่งกำมือก็ไม่ได้
ก็ใส่ตามจำนวนของวัตถุดิบฉันใด
การรู้จักใช้สื่อภาษาก็ฉันนั้น
คนทุกวันนี้ตกเป็นทาสของสื่อ
ยึดติดที่คำพูด แต่ไม่เห็นความจริง

พระพุทธยานันทภิกขุหลวงพ่อมหาดิเรกพุทธยานันโทDirekSaksithDevaNandaดิเรกศักดิ์สิทธิ์การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแนวหลวงพ่อเทียนจิตตสุโภBuddhismVipassanaวิปัสสนาศาสนาพุทธพุทธศาสนา

ขบวนการก็คือว่า
เมื่อเราตั้งสติกำหนดรู้
อยู่กับการเคลื่อนไหว มิได้ขาดระยะ
จิตเราก็จดจ่ออยู่ในปัจจุบันเป็นเวลานาน
ก็เกิดองค์ฌานตามลำดับ
เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ฌานย่อมมี
เมื่อฌานเกิดบ่อยๆ
ปัญญาก็ค่อยเกิดตามมา
เกิดองค์ของสัมโพชฌงค์ขึ้นมา
เมื่อจิตของเราคลุกคลีแต่ปัจจุบันธรรม
ก็เกิดปัญญาเห็นรูปนาม
เฝ้าดูรูปนามบ่อยๆ เห็นทุกข์บ่อยเข้า
ก็เข้าใจไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง
เมื่อเห็นไตรลักษณ์บ่อยครั้ง
ก็เข้าใจสมมุติอ้างอิงอาศัยรูป-นามอยู่
เมื่อเห็นสมมุติบัญญัติ จิตก็เบื่อหน่าย
เมื่อเบื่อหน่ายบ่อยๆ ก็ปล่อยวาง
จิตปล่อยวางบ่อยๆ ก็เข้าใจปรมัตถ์
เมื่อเห็นปรมัตถ์ จิตก็เข้าสู่ภาวะปกติ
จิตปกติบ่อยๆ ศีลขันธ์ก็เกิด
ศีลขันธ์กำจัดกิเลสอย่างหยาบ
คือ ขจัดราคะ โทสะ โมหะเบื้องต้น
เมื่อศีลขันธ์เกิดบ่อยๆ สมาธิขันธ์ก็ปรากฏ
จิตตั้งมั่นในรูป-นามบ่อยๆ
สติปัฏฐานสี่ก็ค่อยสมบูรณ์ขึ้น
สติสมบูรณ์ ปัญญาขันธ์ก็ปรากฏ
ปัญญาขันธ์ก็กำจัดกิเลสอย่างละเอียด
วิปัสสนาญาณก็เกิดขึ้นตามลำดับ
เมื่อวิปัสสนาญาณตั้งมั่นแล้ว
ก็จะทำลายสังโยชน์และอาสวะไปเรื่อยๆ
จนหมดไปเรื่อยๆ จนหมดไปๆ
ใครสั่งสมปัญญาบารมีมามาก
ก็ทำลายอาสวะได้ไว
ใครสั่งสมมาไม่มากก็ทำลายไปเรื่อยๆ
เหมือนไฟสุมขอน
นี่คือขั้นตอนทำให้เกิดวิปัสสนาญาณโดยย่อๆ
รายละเอียดต้องไปปฏิบัติเอาเอง
เพราะถ้าขืนไปนึกคิดเอาตามที่บอก
อาจผิดพลาดได้
Direk Saksith
www.buddhayanando.com
f: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,
หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, เซนสยาม,
Dynamic Meditation (นวัตกรรมแห่งสติ)