พระธรรมเทศนา การค้นพบตัวเองคือการค้นพบโลกุตตรธรรม

พระธรรมเทศนา การค้นพบตัวเองคือการค้นพบโลกุตตรธรรม จากไฟล์เสียงชุด ครุสติรีทรีท ๑๑-๑๗ สิงหาคม ๕๙ แสดงธรรมโดย พระพุทธยานันทภิกขุ, หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท, Deva Nanda, Direk Saksith

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกือบสามพันปีมาแล้วไม่มีทีท่าว่า
คุณค่าของสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบจะหมดไป
ทุกคนสามารถค้นพบตัวเองได้

ส่วนใหญ่เรามีแต่พุ่งจิตออกไปข้างนอก
ถ้าลมพัดมาจากข้างนอก มาถูกตัวเรา
เรารู้สึกเย็นสบาย
ขึ้นชื่อว่าลม จะเย็นเหมือนกันหมดหรือไม่?
ลมที่เข้ามาสู่ตัวเรา-เย็น
แต่ลมที่ออกจากตัวเรา-ร้อน
เหมือนสิ่งที่มากระทบ
จิตที่ดึงกลับเข้ามา เป็นจิตที่เย็น
จิตที่ส่งออกไป เป็นจิตที่ร้อน
เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ จิตที่ไม่ได้ฝึกฝน
มันจะต้องพุ่งออกไปในอดีต อนาคต
เรื่องของสิ่งอื่น คนอื่น เรื่องอื่น
ไม่ใช่สิ่งที่กลับเข้ามาหาตัวเอง
สิ่งที่ดีที่สุด ถ้าจิตมันพุ่งออกไปขนาดไหน
ชื่อว่ายังไม่ดีที่สุด
จนกว่าจะดึงจิตกลับเข้ามา
ส่วนจะกลับเข้ามาอย่างไร ถึงจะได้ประโยชน์
เราจึงได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

การดึงจิตเข้ามาอีกแบบหนึ่ง
อย่างที่พระพุทธเจ้าเคยศึกษา
กับท่านอาฬารดาบส และอุทกดาบส

ดึงจิตเข้ามาเต็มที่ไม่ออกไปไหนเลย
จิตเกิดเป็นพลังอย่างใหญ่หลวง
สามารถแสดงฤทธิ์ ดำดิน บินวน ล่องหน หายตัวได้
แต่ถ้ารักษาจิตนั้นไม่ได้
พลังอำนาจก็หมดไปไม่คงที่
ยังเป็นชราธรรม ธรรมที่เสื่อมได้อยู่
ธรรมที่ไม่เสื่อมเลย ที่มันคงที่
อาจารย์ทั้งสองบอกว่าอาจจะมี
แต่ท่านศึกษาได้เพียงแค่นี้
พระพุทธเจ้าออกจากลัทธินั้นมา
ศึกษาต่อด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยา
ที่เข้มที่สุด จนกระทั่งเกือบไม่รอด
เมื่อท่านได้ยินเสียงพิณจากพระอินทร์
จึงได้สติว่าสายแรกมันหย่อนยาน
สายที่สองปรับตึงเต็มที่ ดีดทีเดียวขาด
พอมาปรับให้พอดีก็มีเสียงไพเราะ
ท่านก็ได้สติขึ้นมา ชีวิตเราก็เหมือนกัน
การใช้ชีวิตทางโลก เหมือนสายพิณที่หย่อน
ทำอย่างไรก็ไม่ดัง เพราะมันไม่เข้มแข็ง
พอมาบวชก็เต็มที่เลยจนตัวเองจะตาย
ก็ไม่สามารถรู้ความจริงนี้ได้
ในที่สุดท่านก็หันกลับมาศึกษาใหม่
ไม่เข้มเกินไปและไม่หย่อนยานเกินไป
ทำแต่เพียงพอดีเป็นทางอมตะ
เรียกว่าทางสายกลาง

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

 

ทุกวันนี้กลิ่นไอของลัทธิ
อาฬารดาบสและอุทกกดาบสก็ยังมีอยู่

ประเทศไทยเต็มไปด้วยลัทธิขลัง ศักดิ์สิทธิ์
คาถา มนต์ ยันต์ น้ำมนต์
แสดงว่าลัทธิของท่านทั้งสองยังไม่หมดไป
พอมาถึงยุคหลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อชา
หลวงพ่อเทียน ท่านเจ้าคุณประยุทธ์
เราถึงได้เรียนรู้ว่าพุทธศาสนาจริงๆ เป็นอย่างไร
แล้วเราก็มาถือเอาหลักของหลวงพ่อเทียน
เพราะเป็นหลักที่เข้ากับอินทรีย์ของเรา
ไม่หนักเกินไป ไม่เบาเกินไป ทำได้เรื่อยๆ
ถ้าไปทำวิธีอื่น เช่นอานาปานสติ พุทโธ หนอ
เราต้องนั่งต่อเนื่องกันถึงสามชั่วโมง เราก็สู้ไม่ไหว
แต่พอมาใช้วิธีการเคลื่อนไหวอย่างที่เราทำ
ทำไปเรื่อยๆ เหนื่อยนักก็พลิกเปลี่ยน
ถือเอาตัวสติจากการเคลื่อนไหวเป็นหลัก
ปรับอิริยาบถไปได้เรื่อยๆ
ปรากฏว่าเรานั่งได้ทั้งวัน ๑๒ ชั่วโมง
ไม่มีปัญหาเลย นี่คือทางสายกลาง
แต่ถ้าตึงเกินไป แค่สามชั่วโมงก็จบแล้ว
หรือเอาหย่อนเกินไป เท่าที่ได้
อย่างที่เขาทำกัน ก็ไปไหนไม่ได้เหมือนกัน
แต่พอเราทำแบบพอดี เรากลับทำได้ยาว
เจ็ดวันที่เราทำกันมา รู้สึกทำได้สบาย
ไม่ลำบากกาย ลำบากขันธ์ ลำบากธาตุ
วิธีที่เราทำจึงเป็นวิธีที่ง่ายและเบา
ที่เรียกว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ปฏิบัติง่าย ได้ผลเร็ว
บางคนมากันหลายๆ รอบ
ก็ศึกษาลึกลงไปตามลำดับ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

หลักที่ตั้งของการศึกษาคือสติปัฏฐานสี่
เราเอาการเคลื่อนไหวของกายเป็นหลัก

การเคลื่อนไหวของกายมีถึงหกระดับ
การเคลื่อนไหวของลมหายใจ
การเคลื่อนไหวของธาตุสี่
การเคลื่อนไหวของอิริยาบถสี่
การเคลื่อนไหวของอิริยาบถย่อย
การเคลื่อนไหวของอาการสามสิบสอง
การเคลื่อนไหวของของเสียในร่างกาย
มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
เราก็เอาการเคลื่อนไหวเหล่านี้มาประมวลกันเข้า
ให้เหลือเป็นอิริยาบถย่อย
เป็นตัวกลางระหว่างอิริยาบถหยาบ
และอิริยาบถย่อย
เอาตัวเคลื่อนไหวอิริยาบถย่อย
เรียกว่าสัมปชัญญะ มาเป็นตัวดำเนินในการปฏิบัติ
ถือเอาการเคลื่อนไหวเล็กๆ น้อยๆ
ตั้งแต่หัวจรดเท้ามาเป็นนิมิต
เป็นที่ตั้งของความรู้สึก
แต่ถ้าเราจะไปตามการเคลื่อนไหว
ที่มีอยู่มันยาก
เพราะกำลังสติเราไม่พอ
เราจะไปตามรู้การพับหู พับตา อ้าปาก หายใจ
การเหลียวซ้ายแลขวาตลอดเวลา มันไม่ทัน
เพราะเราอยู่กับความเคยชินมาตลอดชีวิต
ความเคยชินดึงไปกินหมด
หลวงพ่อเทียนจึงได้มีวิธีการ
โดยจำลองเอาการเคลื่อนไหวอิริยาบถย่อยทั้งหมด
มารวมไว้ที่มือ มาทำมือเป็นสิบสี่จังหวะ
แทนที่จะไปไล่ดูความเคลื่อนไหว
ตรงนั้นตรงนี้ทั่วร่างกาย มันไม่ทัน
ก็เลยตั้งการเคลื่อนไหวมาเป็นโมเดล
ที่เราทำกันอยู่สิบสี่จังหวะ ขวาเจ็ด ซ้ายเจ็ด

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เราก็เลยโยงเข้าเหตุการณ์สมัยพุทธกาล
พระพุทธเจ้าประสูติ ท่านเดินได้เจ็ดก้าว
ทำไมไม่เป็นแปดก้าว หรือสิบก้าว
มันลงล็อคกันพอดี

พระพุทธเจ้าประสูติ เดินได้เจ็ดก้าวฉันใด
ตัวรู้จะเกิดขึ้นด้วยอาศัยการสร้างจังหวะ
ข้างละเจ็ดของมือเรา อาการเดียวกัน
ทำให้คิดไปว่า พระพุทธรูปปางต่างๆ
อาจมีการสร้างจังหวะแล้วก็ได้
เพราะมีลายแทงให้เห็น
เช่น ปางสมาธิ ปางรำพึง ปางถวายเนตร
คล้ายกับการสร้างจังหวะ
พระประจำวันเกิดเจ็ดวัน
ตรงกับสร้างจังหวะเจ็ดจังหวะพอดี
เราก็ตีเข้าประตูตัวเองหมดเลย
มันมีอะไรบางอย่างที่ส่อให้เห็นเค้าลาง
ว่ามาจากที่นั่น
พระทั้งเจ็ดปางต้องมีที่ไปที่มา
สมัยต้นๆ อาจมีการยกมือสร้างจังหวะแล้วก็ได้
การเคลื่อนไหวแบบนี้มาจากพม่า
แต่เขาเคลื่อนไหวช้ามาก
เมื่อปี ๒๔๗๕ เขาสอนเรื่องนี้ที่พม่า
ท่านเจ้าคุณวัดมหาธาตุ
ได้ส่งท่านเจ้าคุณโชดกไปเรียนวิธีการนี้มา
สมัยนั้นวิธีการพุทโธของหลวงปู่มั่นเกิดแล้ว
คนกำลังติดเรื่องนี้อยู่
เมื่อท่านเจ้าคุณโชดก
ไปเรียนจากท่านมหาศรีสยาดอ
การเคลื่อนไหวแบบช้ามาก
ก็มาสอนคนกรุงเทพให้ทำ
สอนได้สามปีไม่ไปไหน
คนรับไม่ได้เพราะ ไม่ได้หลับตา
เป็นสมาธิแบบลืมตา
คนส่วนใหญ่พอพูดถึงการทำสมาธิต้องหลับตา
เป็นรูปแบบตายตัว ถ้าผิดไปจากนี้อาจจะไม่ใช่

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขาขวาทับขาซ้าย นั่งตัวตรงดำรงสติมั่น
หลับตากำหนดลมหายใจ
เป็นแบบมาตรฐานตายตัว
ถ้าใครไม่ทำแบบนี้อาจจะไม่ใช่กรรมฐาน

มานั่งลืมตายกมือ เป็นอะไรไปหรือเปล่า
กลับไปบ้านมานั่งยกไม้ยกมือ คนในบ้างสงสัย
หายไปอาทิตย์เดียวกลับมาทำไมเป็นแบบนี้
จะจับส่งโรงพยาบาลให้ได้
ถ้าอะไรมันแปลกใหม่ขึ้นมา
คนไทยเราก็จะรับยาก
อาตมาเคยทำแบบนั่งหลับตาหายใจ
ที่สวนโมกข์กับท่านพุทธทาสถึงสามปี
มันก็ไม่ไปหน้ามาหลัง
ก็มาเรียนกับท่านเจ้าคุณโชดก
ที่วัดมหาธาตุอีกหนึ่งปี
ก็ไม่ได้เรื่อง เพราะนั่งหลับ สัปหงก
บางวันดีหน่อยก็นั่งหลับนิ่งไปเลย
คนข้างนอกนึกว่าเข้าฌานเก่ง
แต่ที่จริงหลับไปแล้ว ตื่นมาก็อิ่ม
เป็นแบบนี้กลับไปกลับมาไม่ไปไหน
จนกระทั่งมาพบหลวงพ่อเทียน
ตอนแรกรับไม่ได้ เพราะเราติดสมาธิ
แบบนับลมหายใจ แบบหนอ หนักแน่นมาก
เพราะมันเป็นสมาธิที่มีลูกล่อลูกชน
มีนิมิต มีสีมีแสง มีปาฏิหาริย์ให้เราได้เล่นเรื่อยๆ
แต่มานั่งยกมือแบบนี้มันไม่มีอะไร
มีแต่ความรู้สึกตัว ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า
ก็เลยศึกษาอยู่หลายปีกว่าจะเข้าใจได้
หลังจากเข้าใจได้แล้ว
รู้ว่าพุทธศาสนาที่แท้จริงเป็นอย่างไร
ก่อนหน้านี้เราไปท่องจำแต่ตำรา
เอาพระไตรปิฎกเป็นหลัก

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เหมือนเราได้ทุเรียนมาลูกหนึ่ง
แต่เราไม่มีมีด เครื่องมือที่จะแกะได้
พอมาพบหลวงพ่อเทียน ท่านให้เครื่องมือ
ไปผ่าไปเฉาะเอาทุเรียนมากินได้

การเรียนพุทธศาสนา เรียนเพื่อเอาเครื่องมือ
ที่อาตมาเคยเล่าว่าไปเจอชาวไอริชที่ศรีลังกา
ถามว่าแก่นแท้ของพุทธศาสนาคืออะไร
อาตมาก็ตอบไปตามหลัก
อริยสัจสี่ มรรคมีองค์แปด ปฏิจจสมุปบาท
โอวาทปาฏโมกข์
เขาบอกไม่ใช่ เขาใช้คำว่า Skill in Means
Means แปลว่าอุบาย วิธีการ
Skill แปลว่าทักษะ หรือฉลาด
ฉลาดในการใช้วิธีการ
ตรงกับความหมายในพุทธศาสนาว่า
กุศโลบาย กุศลกรรม หรือกุศลธรรม
กุศล แปลว่าพูดเป็น ทำเป็น คิดเป็น
คนที่จะฉลาดได้ต้องมีกุศล

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

กุศลเป็นชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง ชื่อว่าหญ้ากุศา
ที่พระพุทธเจ้านำมารองนั่งวันตรัสรู้

บ้านเราเรียกว่าหญ้าคา เอามาพรมน้ำมนต์
มาถึงเมืองไทยกลายเป็นพราหมณ์
เราแปลงสัญญาณพุทธเป็นพราหมณ์เกือบทั้งหมด
หญ้าคามีคุณลักษณะ
๑. รากหญ้าคามีสีขาว
๒. ใบมีหนามแหลมคม
๓. รากหากินไกล
๔. ตายยาก
๕. ใช้เป็นหลังคา
คนที่จะมีกุศล ฉลาดในอุบาย
ต้องมีคุณสมบัติห้าอย่าง
๑. ใจต้องขาวสะอาด เป็นคนจริงใจ
ใจซื่อมือสะอาด
๒. เป็นคนมีปฏิภาณไหวพริบ
เหมือนหนามหญ้าคา
๓. รากหากินไกล ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
เสาะหาความรู้อยู่เสมอ
๔. มีความอดทน ใครจะด่าจะว่า ไม่มีปัญหา
๕. ชอบบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนตัวและส่วนรวม
ถ้าใครมีคุณสมบัติห้าประการนี้
เรียกว่ามีกุศลจิตเป็นพื้นฐาน
และเป็นคนฉลาดในการใช้อุบาย

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

โสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้าคาแปดกำมือ
เป็นปริศนาธรรมว่าคนที่จะมีกุศลได้สมบูรณ์
ต้องดำเนินตามทางมรรคมีองค์แปด

คนที่จะเป็นผู้รู้ที่แท้จริงนั้น
จะต้องมีกุศลธรรมเป็นพื้นฐานแปดอย่าง
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาทิฏฐิ เห็นวิธีการแก้ปัญหาสี่ประการ
๑. เห็นปัญหา
๒. เหตุของปัญหา
๓. แก้ปัญหา
๔. วิธีแก้ปัญหา
เห็นความง่วง
เหตุของความง่วง
ทำความง่วงให้เป็นความตื่น
วิธีที่จะทำความง่วงให้เป็นความตื่น
ในสี่ข้อ ถ้าใครเห็น
รู้จักวิธีแก้ปัญหาครอบจักรวาลเลย
เห็นความขี้เกียจ
เหตุของความขี้เกียจ
ทำขี้เกียจให้เป็นขยัน
วิธีทำความขี้เกียจให้เป็นความขยัน
อริยสัจสี่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
คือวิธีแก้ปัญหาครอบจักรวาล
โดยใช้คุณธรรมแค่สี่ประการนี้
ถ้าใครเห็นตามนี้ คนนั้นมีสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็นถูกแล้วก็ต้องคิดถูก
เมื่อคิดถูกแล้ว พูดก็ถูกด้วย
เว้นคำอยู่สี่คำ พูดอะไรถูกหมด
พูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
พวกเรามาปฏิบัติธรรมก็ไม่พูดคำหยาบ
พูดส่อเสียด พูดปดอยู่แล้ว
เหลืออย่างเดียวคือพูดเพ้อเจ้อ
สิ่งที่ตรงข้ามกับพูดเพ้อเจ้อ
คือพูดถูกกาลเทศะ ไม่พร่ำเพรื่อ
พูดเพ้อเจ้อ เหตุของการพูดเพ้อเจ้อ
พูดถูกกาลเทศะ วิธีพูดให้ถูกกาลเทศะ
เข้าหลักอริยสัจสี่
ทุกอย่างที่เป็นปัญหา ใช้อริยสัจสี่มาจับให้หมด
มันจะลงตัวพอดี

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เหตุของการพูดเพ้อเจ้อ
คือคิดเพ้อเจ้อ
เพราะไม่มีสติสัมปชัญญะเข้าไปควบคุม
มีสติอยู่แต่สู้มันไม่ได้

สิ่งที่พูดมาถูกหมด แต่ไม่ถูกกาลเวลา
ไม่ถูกสถานที่ พูดเท่าที่จำเป็น เป็นต้น
สัมมาวาจา
๑. พูดความจริง
๒. คำพูดมีประโยชน์
๓. เป็นที่พึงพอใจของผู้ได้ยิน
๔. รู้กาลเทศะในการพูด
ทั้งสี่อย่างนี้ ถ้าจะเว้นสามอย่าง
เหลืออย่างเดียวจะเหลืออะไรไว้?
รู้กาละเทศะเป็นการใช้สติปัญญาโดยเฉพาะ
สัมมากัมมันตะ
ทำในสิ่งที่ชอบ ประกอบในสิ่งที่ดี
๑. ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
๒. ไม่หยิบฉวยของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
๓. ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

สัมมาอาชีวะ

ประกอบอาชีพที่ชอบ
เว้นอาชีพที่ไม่ชอบ
อาชีพที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรม กฎหมาย
อาชีพบางอย่างก้ำกึ่ง
เช่น เล่นหุ้น ซื้อขายหวย
เราซื้อของมาหนึ่งร้อยบาท
ขายหนึ่งพันบาท ถือว่าไม่เป็นธรรม
ข้าราชการที่ขโมยเวลา เป็นมิจฉาชีพ
มัวแต่ไปขายไดเร็กต์เซล
ใช้งบประมาณเกินจำเป็น
การผิดศีลทำให้ไม่เจริญก้าวหน้าในกุศล
เพราะใจไม่ซื่อ มือไม่สะอาด
กุศลไม่เกิด
กุศโลบาย ฉลาดแกมโกง ไม่ใช่กุศล
คำว่ากุศลคือฉลาดในห้าประการดังกล่าว
อันสุดท้ายคือบำเพ็ญตน
ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
คนที่มีกุศลจิต หมายความว่า
สามารถปกป้องคุ้มครองแดดฝน
คุ้มครองความเดือดร้อนแก่คนอื่นได้
อันนี้ฉลาดจริง
ฉลาดคล้ายๆ กับกุศล
แต่เป็นการเอาเปรียบคนอื่น
ฉลาดแบบเฉโก ไม่เป็นกุศล
กุศลจะต้องประกอบด้วยสติปัญญา
ที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่น
ปกครองดูแลผู้อื่นไม่ให้เดือดร้อนเป็นกุศล

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

สัมมาวายามะ

มีความเพียรพยายามชอบ
ประกอบด้วยสี่อย่าง
๑. ระมัดระวังไม่ให้เกิดความขี้เกียจ
ความขี้เกียจเป็นอกุศล ต้องระวัง
ความขี้เกียจเป็นรูปหรือนาม?
ความขี้เกียจในลักษณะที่เป็นรูป
คืออ่อนแอ ไม่มีกำลัง
ความขี้เกียจในลักษณะที่เป็นนาม
เกิดจากความคิด ติดสบาย
ถ้าเจองานที่หนัก ก็ไม่ทำ จะทำแต่งานที่สบาย
หนักไม่เอา เบาไม่สู้
๒. พยายามระมัดระวังแล้ว มันยังเผลอเกิดจนได้
รู้ว่ามีความขี้เกียจ ต้องจัดการออกทันที
๓. พยายามขยันเข้าไว้
๔. รักษาความขยันอย่างคงเส้นคงวา
นำไปบูรณาการใช้อย่างอริยสัจสี่
ความง่วงเป็นนิวรณ์
๑. ระมัดระวังไม่ให้ความง่วงเกิด
๒. เมื่อมันเผลอเกิด ต้องหาวิธีละอย่างรวดเร็ว
๓. ต้องทำตัวตื่นไว้เสมอ
๔. รักษาภาวะตื่นไว้ให้มั่นคง
มาจากอริยสัจสี่เหมือนกัน
ความอึดอัด น่าเบื่อหน่าย ก็เช่นเดียวกัน
การหาวิธีละด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น อาบน้ำ ล้างหน้า เดินหน้า ถอยหลัง
ทำ SKT บ้าง Five Tibetian lite บ้าง
หาวิธีการต่างๆ คือสัมมาวายามะที่เราทำกัน
แล้วทำตัวตื่นตัวให้เกิดอยู่เสมอ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

สัมมาสติ (๑)

ความรู้สึกตัวที่ถูกต้องประกอบด้วย
๑. ความรู้สึกตัวที่เป็นไปในกาย
๒. ความรู้สึกตัวที่เป็นไปในเวทนา
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง หนัก เบา
ที่เรารู้สึกได้
เป็นความรู้สึกล้วนๆ
หรือเป็นความรู้สึกของเรา?
ถ้าคิดว่าเป็นความรู้สึกของเรา
เราร้อน เราหนาว เราหนัก เราเหนื่อย
เราเบื่อ เราเซ็ง
มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่เป็นสัมมาสติ
ถ้าเป็นสัมมาสติ ความรู้สึกนี้เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา
มันคือความรู้สึก ไม่ใช่เรา
เจ็บไม่ใช่เรา ปวดไม่ใช่เรา หนักไม่ใช่เรา
ง่วงไม่ใช่เรา แต่มันเป็นความรู้สึก
ถ้าเป็นเรามันแก้ยาก
เพระเราเข้าไปในมัน
แต่ถ้ามันเป็นเพียงความรู้สึก
เราแก้ง่าย เพราะเปลี่ยนความรู้สึกได้
แต่เปลี่ยนตัวเราไม่ได้
ความรู้สึกเปลี่ยนได้
เช่น นั่งแบบนี้มันหนัก
ลุกขึ้นเปลี่ยนทันที มันเบา
แต่ถ้าเป็นเราหนัก เปลี่ยนตัวเราไม่ได้
เราต้องเปลี่ยนที่ความรู้สึก
เปลี่ยนกายกับเปลี่ยนใจ อันไหนง่ายกว่ากัน?
เปลี่ยนกายง่ายกว่าเปลี่ยนใจ
แค่ลุกมันก็หายแล้ว
เปลี่ยนใจ ถ้ามันขี้เกียจ
จะเปลี่ยนให้มันขยันทันทีไม่ได้
ให้เห็นว่ามันเป็นความรู้สึก
เพราะความรู้สึกทางกายเปลี่ยนได้ง่าย
แต่ถ้าเห็นว่าเป็นเรา เปลี่ยนยาก

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

สัมมาสติ (๒)

๓. ความคิด เห็นว่าเป็นเพียงความคิด
ไม่ใช่เรา เป็นเพียงความคิด
เราทิ้งความคิดได้
แต่ถ้าเห็นความคิดเป็นเรา
ความคิดเห็นเราถูก ของคนอื่นไม่ถูก มีปัญหา
แต่ถ้ามันเป็นเพียงความคิด สลัดทิ้งได้เลย
เป็นเพียงความคิด ไม่ใช่ความจริง ก็สลัดทิ้งได้
แต่ถ้าเห็นว่าความคิดเป็นเรา เป็นเรื่องเลย
เถียงกันไปมา ได้ตบตีกัน
เพราะเราเห็นความคิดเป็นเรา
ถ้าเห็นความคิดเป็นเพียงความคิด มันก็ง่าย
ถูกผิดไม่สำคัญ มันเป็นเพียงความคิด
เห็นแบบนี้เรียกว่าสัมมาสติ
อารมณ์ดี ไม่ดี เห็นว่าเป็นเพียงอารมณ์
ไม่ใช่เรา
ถ้าเห็นเราเป็นอารมณ์
วันนี้อารมณ์ไม่ดี อย่ามาพูด เดี๋ยวมีเรื่อง
ไปสำคัญมั่นหมายว่าอารมณ์เป็นเรา
แต่ถ้าเป็นสัมมาสติ
มันเป็นเพียงอารมณ์ ผ่านมาแล้วผ่านไป
เห็นแบบนี้เรียกว่าเห็นชอบ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

สัมมาสติ สติที่ถูกต้อง
เห็นกายว่าเป็นสักแต่ว่ากาย
เป็นความรู้สึกที่ประกอบด้วยธาตุสี่
ดิน น้ำ ลม ไฟ

ธาตุหนักคือธาตุดินและธาตุไฟ
ธาตุเบาคือธาตุน้ำและธาตุลม
ดูจากลักษณะอาการที่แข็งกร้าว
คือธาตุไฟและธาตุดิน
ธาตุน้ำนุ่มนวลและอ่อนโยน
ถือว่าเป็นธาตุเบา
ธาตุหนักทำให้รู้สึกหนัก
ที่เรานั่งหนักก้นเพราะธาตุดิน
อาการที่ไม่สบายเป็นธาตุไฟ
ร้อนก้น ความร้อนเป็นเรา
ความร้อนก้นก็ไปร้อนที่ใจด้วย
เห็นเราเป็นความร้อน
เห็นความร้อนเป็นเรา
มันก็จะไปร้อนถึงใจ
แต่ถ้าเห็นว่าเป็นเพียงความรู้สึกร้อน
ก็เปลี่ยนความรู้สึกมาเป็นเบาได้
เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นสักแต่ว่า
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
ตรงนี้จะเป็นสัมมาสติ
พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

กายแบ่งเป็นหกอย่าง
ในส่วนของเวทนา แบ่งไว้เป็นสาม
คือ สบาย ไม่สบาย เป็นกลาง

ถ้าเราไปรู้ความรู้สึกหยาบ
หมายถึงความรู้สึกหนัก หน่วง ร้อน ไม่สบาย
จะรู้ได้ง่าย
ความรู้สึกที่เป็นกลาง พอทนได้
ความรู้สึกหนัก ทนไม่ได้
ความรู้สึกละเอียด ทนไม่ได้เหมือนกัน
เช่น อาหารอร่อยมาก อดที่จะกินไม่ได้
หนังเรื่องที่น่าสนใจ ต้องดูให้ได้
สิ่งไหนที่ดีก็ทนไม่ได้เหมือนกัน
เห็นจนน้ำลายไหล ต้องกินให้ได้
หนังเรื่องนี้สนุก ต้องไปดู
คนนี้เป็นอย่างนี้ ต้องไปหา
ความรู้สึกที่ละเอียด เราทนไม่ได้เหมือนกัน
มันละเอียดเกินไปจนเราต้องเสพมัน
เพราะทนไม่ได้
อาหารอร่อย กินแค่สิบคำก็พอ
ทนไม่ได้ อย่างน้อยต้องสามสิบคำขึ้นไป
เวทนาสุขมาก ก็ทนไม่ได้
เวทนาทุกข์มาก ก็ทนไม่ได้
จะสุขหรือทุกข์ให้พอทนได้
เรียกว่าปานกลาง
เวทนาให้ทนพอประมาณ
เวทนาทั้งสามตัว เป็นตัวกลาง
เชื่อมระหว่างกายกับจิต
กายกับจิตเข้าถึงกัน
ต้องมีเวทนาเป็นตัวกลาง

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เวทนาปริคคหสูตร (๑)

เราศึกษาธรรมะ ศึกษากรรมฐาน
ถ้าเราไม่ชำนาญเรื่องเวทนา
เราจะรู้ธรรมะยาก
แต่ถ้าคนไหนชำนาญเรื่องเวทนา
คนนั้นจะรู้ธรรมะได้ไว
และเกิดปัญญามากมาย
อย่างพระสารีบุตร
ท่านฟังพระธรรม เวทนาปริคคหสูตร
เรื่องเวทนาทั้งสาม
พระสารีบุตรเป็นชาวบ้านชื่ออุปติสสะ
ได้สนทนาธรรมกับลุงของตนชื่อ ฑีฆนขะเป็นประจำ
แต่จู่ๆ หายไป พอรู้ว่าหลานไปบวช
กับสำนักพุทธโคดม ก็ตามไป
ลุงของอุปติสสะถามพระพุทธเจ้าว่า
สอนธรรมอะไรแก่เขา
ปกติเขาฉลาด มีปัญญา ไม่ฟังใครง่ายๆ
ท่านทำให้เขามาบวชได้อย่างไร
พระพุทธเจ้าจึงถามกลับว่าท่านสอนอะไร
เขาถึงไม่อยู่กับท่าน
ฑีฆนขะตอบว่าสอนเรื่องความรู้สึก
สิ่งใดถูกใจ สิ่งนั้นถูกต้องเสมอ
สิ่งใดถูกต้อง สิ่งนั้นต้องถูกใจเสมอ
พระพุทธเจ้าถามว่า
มีอะไรบ้างที่ถูกใจแต่ไม่ถูกต้อง?
สมมติว่าเจอศัตรูคู่อาฆาตมาทำร้ายท่าน
เขารู้สึกพอใจ ถูกต้องหรือไม่
คนที่ยืมเงินท่านแล้วไม่คืน
เขามีความสุขในการกระทำ
แล้วท่านมีความสุขหรือไม่
ซักไปซักมาจนในที่สุดก็ยอม
เราไม่ถือว่าความถูกใจคือความถูกต้อง
ความถูกใจเป็นเรื่องของกิเลส ตัณหา อุปาทาน
แต่ความถูกต้องจะต้องอยู่เหนืออารมณ์
เหนือกิลส ตัณหา อุปาทาน
สิ่งที่ท่านพูดนั้นเป็นเพียงเวทนา
ไม่ใช่สัจธรรม ท่านจึงยกเรื่องเวทนามาสอน

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เวทนาปริคคหสูตร (๒)

เวทนาเป็นอาการของกาย มี ๓ อาการ
อาการของความสบาย เรียกว่าสุขเวทนา
อาการของความไม่สบาย เรียกว่าทุกขเวทนา
อาการที่เป็นกลาง เรียกว่าอทุกขมสุขเวทนา
อาการของความสบายทางกาย
ถ้าเราพอใจ เรียกว่าโสมนัสสเวทนา
อาการของความไม่สบายทางกาย
ถ้าเราไม่พอใจ เรียกว่าโทมนัสสเวทนา
อาการที่เป็นกลางทางกาย
ถ้าไม่ตามรู้ เรียกว่าอุเบกขาเวทนา
เวทนาทางกาย สบาย ไม่สบาย กลางๆ
เวทนาทางจิต โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
คนที่ไม่ได้เจริญสติ เจริญปัญญา
เวทนาที่ออกจากกายมาเป็นจิต
จะลุกต่อไป
โสมนัสสเวทนา กลายเป็นอภิชฌา
โทมนัสสเวทนา กลายเป็นโทมนัส
อุเบกขาเวทนา กลายเป็นโมหะ
อภิชฌากลายเป็นนันทิ
นันทิกลายเป็นราคะ
มาจากความสบายกาย
แต่ขาดสติปัญญากำหนดรู้
มันถึงพัฒนาอาการมาตามลำดับ
อะไรทำให้เกิดความสบายกาย?
ความสบายกายเกิดจากอนิจจัง
ความไม่สบายกายเกิดจากทุกขัง
ความไม่แน่ใจเกิดจากอนัตตา
กฎไตรลักษณ์เป็นกฎที่ใหญ่
แต่รองลงมาจากกฎของการเกิดดับ
ที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เวทนาปริคคหสูตร (๓)

เวทนามีบทบาทอย่างไรต่อกรรมฐาน?
เวทนาเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างรูปกับนาม
กายกับจิต
ถ้าไม่มีเวทนา กายกับจิตเข้าถึงกันไม่ได้
เพราะมันเป็นสะพาน เหมือนคัทเอาท์
เอาลงไฟดับทันที เอาขึ้นไฟสว่างทันที
มีเวทนาจึงรู้ว่ามีชีวิตอยู่
หมดเวทนาจึงรู้ว่าคนนี้หมดชีวิต
เวทนาจึงสำคัญที่สุด
ถ้าเจริญสติตามรู้ทันเวทนาที่กาย
เวทนาทางกายจะไม่แปรเปลี่ยน
เป็นเวทนาทางจิต
ความสบายกาย เวทนาทางกาย
เปลี่ยนเป็นเวทนาทางจิต ความพอใจ
เรียกว่าโสมนัสสเวทนา
ไม่มีสติปัญญากำหนดรู้ความพอใจ
กลายเป็นความติดใจ เรียกว่าอภิชฌา
ความติดใจไม่ถูกกำหนดรู้ด้วยสติปัญญา
ก่อให้เกิดความเพลิน เรียกว่านันทิ
ความเพลินไม่มีสติปัญญาตามรู้
ก่อให้เกิดความอยากใคร่ เรียกว่าราคะ
ความอยากใคร่ราคะไม่มีสติปัญญาตามรู้
ก่อให้เกิดกามฉันทะ
ความพอใจให้ได้มากขึ้น
ต้องการแสวงหาให้มากขึ้นกว่านั้น
ก่อให้เป็นกามตัณหา
มาจากเวทนาทางกายเพียงตัวเดียว
ที่ไม่มีสติปัญญาตามรู้
มันขยายไปเรื่อยๆ เป็น กามตัณหา กามุปาทาน
โลภานุสัย กามาสวะ ในที่สุด
พอเป็นกามาสวะ กลายเป็นนิสัยเลย
เป็นอาสวะกิเลสอย่างละเอียดที่กำจัดยาก
จากการที่เราไม่มีสติปัญญา
ตามรู้กายเพียงเรื่องเดียว
มันกลายเป็นสายไปตั้งสิบกว่าอย่าง
เราจึงมาตัดไฟแต่ต้นลม
ด้วยการเจริญสติความรู้สึกตัวอย่างนี้มากเข้าๆ

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เวทนาปริคคหสูตร (๔)

มาดูสายความไม่สบายกายบ้าง
ความไม่สบายกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
เคร่ง ตึง ที่เรานั่งอยู่นี้ ไม่สบาย ไม่ขยับ
ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ ไม่สบายใจ
เรียกว่าโทมนัสสเวทนา
เกิดความอึดอัด ขัดเคือง ไม่พอใจ
ไม่มีสติปัญญาตามรู้
ก่อให้เกิดปฏิฆะ หงุดหงิด อึดอัด
ไม่มีสติปัญญาตามรู้อีก
ก่อให้เกิดโกธะ ขุ่นมัว
แสดงอาการทางสีหน้า คำพูด เป็นโทสะ
เรียกว่าใจเสีย
ไม่มีสติปัญญาตามรู้โทสะ
กลายเป็นมานะ รู้มั้ยว่าข้าคือใคร
มีตัวตนขึ้นมาแล้ว
ฉันเป็นพระนะ โยมอย่ามาเถียง
มานะเกิดแล้วไม่ตามรู้ เป็นมานานุสัย
เป็นอุปนาคะ ผูกโกรธ อาฆาต
แล้วมาเป็นภวาสวะ ภพ
สำคัญตัวเองผิด
จากความไม่สบายกายนิดเดียว
ที่เราตามมันไม่ทัน
มันไหลลื่นเป็นกิเลส หยาบ กลาง ละเอียด
พอสนทนาเรื่องนี้ ปรากฏว่าคนข้างหลัง
คือพระสารีบุตร แอบฟังอยู่
บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
คนข้างหน้าคือ ฑีฆานขะ เป็นพระโสดาบัน
ธรรมะกัณฑ์เดียวได้คนบรรลุธรรมสองคน
แทนที่จะเชื่อว่าความถูกใจคือความถูกต้อง
เปลี่ยนเป็นความถูกใจ ไม่เป็นความถูกต้องเสมอไป
และความถูกต้อง ก็ไม่ถูกใจเสมอไป
บางเรื่องถูกต้องแต่ขัดใจเรา
เพราะเราเสียผลประโยชน์

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เวทนาปริคคหสูตร (๕)

พระสารีบุตรนำเรื่องนี้ไปพิจารณาต่อ
จนปัญญาเกิดขึ้นเรื่อยๆ
มีปัญญารองจากพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าจึงตั้งให้เป็น ธรรมเสนาบดี
เมื่อท่านไม่อยู่ มีแขกมาท่านก็จะมอบหมายภาระ
อบรมภิกษุ ภิกษุณีให้กับพระสารีบุตร
เพราะการตามรู้เวทนาตลอดเวลา
ปัญญาเกิดตลอดเวลา
ปัญหาอะไรที่ทำให้เราลืมรู้เวทนา?
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง มีตลอดเวลา
แต่บางครั้งเราลืมที่จะดู
คุยกันเรื่องต่างๆ ไปกินข้าวเอร็ดอร่อย
ดูหนัง ฟังเพลง นั่งเล่นไพ่ทั้งวัน
โดยไม่รู้สึกปวดเมื่อยเลย
อะไรทำให้เราลืมเวทนา?
นันทิ ความเพลิน ทำให้เราหลงลืมตัว
ไม่ได้ตามรู้เวทนา
ถ้าเราอยากเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างรวดเร็ว
ให้ทำเวทนาให้เบาบาง
ในโพธิราชกุมารสูตร
ทำเวทนาให้เบาบาง อย่าไปบังคับเวทนา
เราส่วนใหญ่กลับตรงกันข้าม
ทรมานตัวเองเท่าไรยิ่งดี
ยืนตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงแข่งกัน
นั่งเนสัชชิกทั้งคืนก็ได้
เป็นการสร้างเวทนาเผาตัวเองโดยเฉพาะ
เป็นฤาษี เป็นพราหมณ์หมด
ไม่ได้เป็นสาวกพุทธะแล้ว
เป็นสาวกของฤาษี พราหมณ์
บำเพ็ญตบะข่มกิเลส
เมื่อเวทนาเบาบางแล้ว
เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา
จิตจะเบา โปร่ง
แต่ถ้าเวทนาอึดอัด จิตก็หนัก
จิตถูกบีบคั้นด้วยอารมณ์ต่างๆ
จิตหนัก ปัญญาจะเกิดได้อย่างไร
จิตโปร่ง จิตเบาสบาย เป็นเหตุให้เกิดปัญญา

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

เวลาเราติดไฟในที่เย็น ชุ่มชื้น
กับติดไฟในที่โล่งแจ้ง อากาศดี
อันไหนจะติดง่ายกว่า

ที่โล่ง แจ้ง อากาศดี ออกซิเจนสูง
ทำให้ติดไว
สติปัญญามันชอบที่โปร่ง
พระผู้บำเพ็ญจึงที่ถ้ำที่สงบ ภูเขา ป่า
หาที่สงบสวัด โล่งแจ้ง
เป็นเหตุให้เกิดปัญญา
แล้วจะไม่เผลอในการทรมานตัวเอง
จะด้วยวิธีการใดก็ตาม
ถ้าเวทนาเบาบางเสมอ
เวทนาจึงมีบทบาทมาก
ในการปฏิบัติกรรมฐาน
แต่ไม่ถึงกับไปติดสุขเวทนา
คำว่าเวทนาเบาบาง ไม่ใช่สุขเวทนา
เป็นเวทนาที่พอดี ไม่สุขและไม่ทุกข์
พออยู่ได้สบายๆ
เวทนาเป็นเรื่องสำคัญ
อาตมาพยายามนำประเด็นนี้
มาใช้กับตัวเองตลอด ติดตามมันตลอด
ขณะยืนเวทนาเป็นอย่างไร
ขณะนั่ง ขณะเดิน เป็นอย่างไร
ทานข้าว เข้าห้องน้ำ เป็นอย่างไร
เนื่องจากเราละเลยเรื่องนี้มามาก
อาตมาเป็นคนหยาบกร้าน
ไม่ง่ายที่จะฝึกฝนตัวเอง
แต่พอมาจับเวทนาแล้ว
มันง่ายในการฝึกตนเอง
เวทนาเป็นเรื่องสำคัญ
อยากให้ศึกษาให้มากขึ้น

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

สัมมาสมาธิ (Right Concentration)

ความตั้งใจมั่นมีสามประการ
๑. ปริสุทโธ
จิตที่มีสัมมาสมาธิ ต้องเป็นจิตที่ผ่องใส
ไม่ใช่จิตทื่อทึบ งุนงง ขุ่นมัว
๒. สมาหิโต
ต้องตั้งมั่น ณ ปัจจุบันอารมณ์
๓. กัมมนิโย
พร้อมที่จะทำอะไรได้ทันที
เรียกว่า Stand By
ไม่มีคำว่าสงบ สันติ สมถะ เลย
มีแต่แจ่มใส ตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ว่องไว
พร้อมตั้งรับได้ทันทีในสิ่งต่างๆ
การที่เราฝึกฝนตัวกุศลทั้งแปดประการนี้
เป็นสัมมาทิฏฐิ
เป็นเรื่องสนุกสนาน ไม่ใช่ทุกข์ทรมาน
แต่เนื่องจากเราทำอะไรซ้ำซากนานๆ ไม่ได้
เราเบื่อ เราเซ็ง เพราะเราอยู่ที่บ้าน
เปลี่ยนกิจกรรมตลอดเวลา
ต้องเช็คเฟซ เช็คไลน์ เช็คข่าวตลอดเวลา
เอาสิ่งภายนอกมาสร้างแรงจูงใจ
ให้ดึงจิตออกไปข้างนอก
กรรมฐานจึงสวนทางกับนิสัยคน
เป็นการดึงจิตกลับเข้ามาดูตัวเอง
โลกภายนอกกว้างไกลใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
อยากรู้โลกภายนอกมองออกไป
อยากรู้เรื่องภายในมองเข้ามา

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

วันนี้ขอย้ำเรื่องเวทนา
เพราะมันมีอยู่ตลอดเวลา

ในช่วงที่หลับ เรารู้สึกถึงเวทนาหรือไม่
วันนี้นอนหลับดี ตื่นขึ้นมาสดชื่นแจ่มใส
หลับไม่ดี ตื่นขึ้นมางัวเงีย
เวทนามีตลอดเวลา
ถ้าใครอยากก้าวหน้าในการปฏิบัติ
ให้ใส่ใจเรื่องเวทนา ยี่สิบสี่ชั่วโมงที่มันมี
เวทนาทางจิตมีเป็นบางครั้งบางคราว
เวทนาทางกายมีตลอดเวลา
ดูเวทนาเพื่อรักษาจิต
ไม่ให้เอาตัวสังขารมาคิด มาปรุงแต่ง
เพราะมันมีฐานที่อยู่คือฐานเวทนา
เอาจิตมาอยู่กับฐานเวทนา
มันก็ไม่ไปอยู่กับฐานคิด
ตัวรู้ในกายเป็นเหตุใกล้ให้เกิดตัวรู้ของสติ
รู้ทางกายเรียกว่าเวทนา
รู้ทางจิตเรียกว่าสติ
รู้ทางกาย ด้วยความรู้สึกตัวที่ถูกต้อง
กลายเป็นสติสัมปชัญญะโดยปริยาย

พระพุทธยานันทภิกขุ หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท Direk Saksith Deva Nanda การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว แนวหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ Buddhism Vipassana วิปัสสนา ศาสนาพุทธ พุทธศาสนา

อยากให้ผู้ใหม่ฝึกเก็บอารมณ
เก็บกายใจให้อยู่กับปัจจุบั
ว่ามันยากขนาดไหน

พอเราทำบ่อยเข้าๆ เกิดความคุ้นเคย
จิตก็จะออกห่างจากความคิด
การแอบอิงในสิ่งต่างๆ
อยู่บ้านเครื่องดื่มสารพัดยี่ห้อ
พอเบื่ออันนี้ก็ไปชิมอันนั้
มีเครื่องเล่นตลอด
พอมาเก็บอารมณ์ในห้องที่ไม่มีอะไรเลย
ต้องพึ่งตัวเองจริงๆ
ไม่ต้องพึ่งแม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ
แก้วน้ำ แก้วกาแฟ เครื่องดื่ม เก็บเข้าตู้ให้หมด
ให้อยู่ด้วยตัวเอง
วันหนึ่งเราจะต้องพึ่งตัวเอ
ในวันที่เราป่วยหนักนอนบนเตียง
ไม่มีใครเฝ้า ต้องพึ่งตัวเองแล้ว
เราต้องคำนึงถึงวันนั้น
เราจึงมีการเตรียมตัว ณ วันนี้ให้ดี
การฝึกฝนธรรมะคือการเตรียมตัวแก่
เตรียมตัวเจ็บ และเตรียมตัวตาย ตลอดเวลา
เพราะเราต้องแก่ เจ็บ ตาย เป็นของแน่นอน
ถ้าไม่เตรียมตัวเป็นความผิดมหันต์ของเรา
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นเทวทูต
ถ้าเราไม่ใส่ใจ ไม่เตรียมตัว
เทวทูตจะกลายเป็นยมทูตทันที
มาลากมาฉุดเราไปอบาย ไปนรกทันที
เราจะต้องเปลี่ยนยมทูตให้เป็นเทวทูต
เทวทูตหมายความว่า
ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
เกิดขึ้นแล้วเราไม่ประมาท

 

 

ไฟล์เสียงชุด ครุสติรีทรีท (๑๑-๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙)

One thought on “พระธรรมเทศนา การค้นพบตัวเองคือการค้นพบโลกุตตรธรรม

Comments are closed.